“เวลาฝนตกฟ้าร้อง อย่าเปิดทีวีหรือเล่นคอมฯ” ประโยคสุดคลาสสิกที่ยังคงได้ยินทุกวันนี้ เนื่องจากไฟกระโชกเพราะไม่อยากเสี่ยงกับปรากฏการณ์ “ฟ้าผ่า” ที่นำมาซึ่งความเสียหายอย่างแสนสาหัส
จากปรากฏการณ์ฟ้าผ่า ทันทีที่ผ่าเปรี้ยงลงมา สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนั้นก็คือ ไฟกระชาก หรือภาษาทางการเรียกว่า “ไฟกระโชก” และเมื่อเกิดไฟกระโชก/กระชาก/เสิร์จ/SURGE หากบ้านไหนไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน ก็เตรียมบอกลาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในบ้านได้เลย และถัดจากประโยคข้างต้น ประโยคถัดมาก็คือ
“อย่าถามว่ามีอะไรเสียหายไหม แต่ต้องถามว่ามีอะไรที่ยังไม่เสียหายต่างหาก !!”
สำหรับไฟกระโชก/กระชาก/เสิร์จ/Surge ก็คือสภาวะไฟฟ้าเกินชั่วขณะที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า โดยมักมาจากเหตุการณ์ฟ้าผ่า หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด ไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟฟ้าติด-ดับ ซึ่งส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เปราะบางหลายชนิดพังเสียหายทันที
สองสิ่งแรกที่มักจะไปก่อนหลังเกิดไฟกระโชกคือ “โมเด็มเราเตอร์” กับ “ทีวี” เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีช่องให้ไฟเข้าสองทางอย่าง ปลั๊กไฟเลี้ยง กับ สายสัญญาณ ทั้งคู่ต่างมีทองแดงเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นสื่อนำไฟฟ้าอย่างดี จึงเคยมีกรณีที่เราเตอร์พัง เนื่องจากเพราะไม่ได้ถอดสายสัญญาน แม้ถอดปลั๊กหรือปิดตัวเครื่องแล้วก็ตาม ส่วนใครที่ใช้เราเตอร์แบบไฟเบอร์ออฟติก ถ้าลืมถอดปลั๊กไฟออกก็ไม่รอดเหมือนกัน
ทั้งนี้นอกจากจะเสียเราเตอร์แล้ว ก็ต้องเสียอารมณ์ด้วยเพราะ “ประกันไม่รับเคลม” ส่วนมากจะไม่รับผิดชอบในส่วนนี้ ดังนั้นหากไม่อยากเสียทั้งเงินและอารมณ์จนถึงความเสียหายทางธุรกิจ ให้รีบหาวิธีป้องกันตั้งแต่ตอนนี้เลย
ถัดจากโมเด็มเราเตอร์กับทีวี อุปกรณ์ที่จะพังถัดมาก็คือ “คอมฯ” สำหรับอุปกรณ์ตัวนี้ ถือเป็นอะไรที่หลาย ๆ คนไม่อยากให้พังมากที่สุดแล้ว เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีมูลค่าสูง และยังเป็นที่เก็บข้อมูลสำคัญ ๆ มากมายด้วย ดังนั้นหากอุปกรณ์นี้เกิดความเสียหายขึ้น ย่อมเป็นความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้แน่นอน
อย่าลืมว่า หากอุปกรณ์พัง เรายังพอหาซื้อใหม่ได้ แต่ถ้าข้อมูลพัง ต่อให้มีเงินมากแค่ไหน ก็ไม่สามารถซื้อคืนได้ ข้อมูลสำคัญ ๆ ของเราก็จะหายไปตลอดกาล…
ถ้าไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ ก็ควรรีบป้องกันแต่เนิ่น ๆ สำหรับวิธีป้องกันแบบดั้งเดิมก็คือ “เวลาฝนตกฟ้าร้อง อย่าเปิดทีวีหรือเล่นคอมฯ” อย่างที่เกริ่นไป แต่ทว่าไฟกระโชก ไม่ได้เกิดจากฟ้าผ่าเพียงอย่างเดียว ยังมีกรณีอื่น ๆ อีกด้วย
ดังนั้นเราควรมีอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกโดยเฉพาะเช่น “รางปลั๊กไฟคุณภาพสูง” ที่พอช่วยป้องกันไฟกระโชกได้ระดับหนึ่ง และถ้าอยากได้อุปกรณ์ป้องกันแบบมีประสิทธิภาพก็ต้องมี “ตู้ป้องกันไฟกระโชก” ไปเลย หากแต่มันมีขนาดใหญ่ ติดตั้งยุ่งยาก และแพงมาก จึงขอแนะนำทางเลือกสุดท้ายคือ SiPAD อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกช่วงสั้น และช่วงยาว แบบพกพา ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.techhub.in.th/review-sipad-by-stabil/
ข้อมูลเพิ่มเติม
บริษัท สตาบิล จำกัด
โทร 02-681-5533 ต่อ 212
Website : www.stabil.co.th
FB : https://www.facebook.com/SiPAD.STABIL/
Line : @STABIL
Email : Info@stabil.co.th