รีวิว : Sony Xperia XZ เมื่อเสน่ห์แห่ง “อารยธรรม” ขอหวนคืน !!

Sony Xperia อธิบายคำว่า “อารยธรรม” ก่อนซักนิด คำ ๆ นี้มันมาจากประโยคว่า “อารยธรรม โซนี่ วอล์ดแมน” จากโฆษณาเครื่องเล่นเพลงพกพาในซีรีย์ Walkman เมื่อนานมาแล้ว ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองสูง ดีไซน์แต่ล่ะทีก็ไม่เคยซ้ำกัน แล้วพอ Sony มาทำสมาร์ทโฟน (สมัย Ericsson) ก็กลายเป็นสมาร์ทโฟนที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครอีก จึงทำให้คำว่าอารยธรรม กลายเป็นชื่อแทนของสมาร์ทโฟน Sony ไปปริยาย แต่..หลัง ๆ สมาร์ทโฟน Sony กลับขาดเอกลักษณ์ของตัวเองไปซะอย่างนั้น ใน Z Series เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า Sony มักทำแต่ดีไซน์เดิม ๆ จนแยกรุ่นแทบไม่ออกว่า นี้รุ่นใหม่หรือเก่า สุดท้าย Sony จึงได้ติดสินใจทิ้งชื่อ Z Series ในที่สุด แล้วเปลี่ยนเป็นชื่อ X Series ในปัจจุบัน ซึ่งก็เริ่มเห็นความเป็นเอกลักษณ์ขึ้นบ้างแล้ว จนใน X Series รุ่นล่าสุด ก็เรียกได้เสียทีว่า “อารยธรรมกลับมาแล้ว” นั้นก็คือ X Compact รุ่นระดับกลาง (แต่สเปก Hi-End) และ XZ เรือธงตัวใหม่ ที่ผมจะมารีวิวในที่นี้กัน

Sony Xperia XZ เรียกว่าเป็นเรือธงตัวสมบูรณ์ของ Sony ก็ว่าได้ แม้จะมีสเปกแทบจะเนื้อเดียวกับกัน X Performance เรือธงตัวก่อนหน้า (ที่ตกรุ่นอย่างไว….) แต่ XZ มีส่วนที่ดีกว่า 3 อย่างคือ 1.กล้อง 2.USB Type-C และ 3.วัสดุกับดีไซน์ จาก 3 ข้อนี้เอง ก็ทำให้ XZ ได้เรียกคืนศรัทธาต่อสาวกและคนที่เพิ่งเคยสัมผัสสมาร์ทโฟน Sony ได้ดีไม่น้อย แต่สำหรับมาตรฐานกันน้ำกันฝุ่น IP65/IP68 ก็ยังคงกั๊กให้เฉพาะรุ่นเรือธงตัวนี้เช่นเคย (แล้วแอบไปเปิดตัว X compact รุ่นกันน้ำที่ญี่ปุ่น….) ส่วน XZ จะเป็นยังไงบ้างมาดูกันครับ

nexus2cee_xperia_xz-728x332

สเปก Sony Xperia XZ

Display : หน้าจอ IPS ขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด 1,920 × 1080 ให้ความคมชัดด้วย TRILUMINOS และ X-Reality Engine หน้าจอครอบด้วยกระจก Gorilla Glass
CPU : Qualcomm Snapdragon 820
GPU : Adreno 530
RAM : 3 GB
ROM : 64 GB รองรับ SD Card 256 GB
Main Camera : 23 ล้านพิกเซล ใช้เซ็นเซอร์ Exmor Rs ขนาด 1/3.06 นิ้ว เลนส์ G มุมกว้างขนาด 24 มม. หน่วยประมวลผล BIONZ และรูรับแสง F/2.0 ปรับ ISO ได้สูงสุด 12800 และมีระบบ PDAF, Laser AF, IR Color sensor, EIS กันสั่น 5 แกน, รองรับการถ่ายวิดีโอ 4K Ultra HD
Front Camera : 13 ล้านพิกเซล ใช้เซ็นเซอร์ Exmor Rs ขนาด 1/2.3 นิ้ว รูรับแสง F/2.2 ปรับ ISO สูงสุด 6400 ใช้เลนส์มุมกว้าง 24 มม.
Connect : Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ac, dual-band, Wi-Fi Direct, DLNA, hotspot Bluetooth 4.2 รองรับ 4G/LTE Cat9 (Dual SIM) และ USB Type-C
Battery : Li-Ion 2900 mAh
ขนาดตัวเครื่อง : 146 x 72 x 8.1 mm
น้ำหนัก : 161 g
ระบบปฏิบัติการ : Android 6.0.1 Marsmallow
มาตรฐานกันน้ำกันฝุ่น : IP65/IP68
สีให้เลือก : Mineral black (ดำ), Platinum (เงิน), Forest blue (ฟ้า), Deep pink (ชมพู)

แกะกล่อง

img_9404

ตั้งแต่มาเป็น X Series ทาง Sony ก็ได้กลับมาใช้กล่องแพ็กเก็จแบบสี่เหลี่ยมทรงสูงแล้ว ในกล่องก็มีอุปกรณ์พื้นฐานแถมให้เช่นเคย อาทิ ตัวเครื่อง XZ , สาย USB Type-C (รุ่น UCB20) , Adapter ชาร์จไฟ , หูฟัง และคู่มือ

วัสดุและดีไซน์

img_9422

img_9452

img_9411
Triple image sensing สามเซ็นเซอร์อัจฉริยะ อาทิ Predictive Hybrid Autofocus, RGBC-IR และ Laser Focus

มาดูที่วัสดุก่อนเลย สำหรับรุ่น XZ ทาง Sony ได้มีการใช่วัสดุโลหะชนิดใหม่ที่เรียกว่า “ALKALEIDO” เป็นโลหะที่มีความบริสุทธิ์สูง มีความเงางามในระดับหนึ่ง วินาทีแรกที่ได้จับเครื่อง บอกเลยว่า “ไม่อยากปล่อย” คือตัวเครื่องเป็นโลหะก็จริง แต่มันเหมือนสัมผัสกับผิวพลาสติกซะมากกว่า (แต่ก็เป็นโลหะอยู่นะ) และด้วยที่มันเหมือนผิวพลาสติก จึงทำให้ตัวเครื่องไม่ลื่นมือ จับได้กระชับ และให้สัมผัสการจับที่ดีมาก ๆ ทีเดียว

img_9578

img_9560

img_9586

ตัวเครื่องยังขึ้นรูปชิ้นเดียวแบบ Unibody แต่มีการเปลี่ยนดีไซน์ใหม่เป็น “Loop Surface” ด้วยการทำให้ขอบเครื่องมีความโค้งมน รับกับหน้าจอที่เป็นกระจกโค้งแบบ 2.5D พร้อมตัดขอบบนขอบล่างเป็นเหลี่ยมด้วย (จนเอาเครื่องตั้งกับพื้นได้) ทำให้ตัวเครื่องดูมีความสมมาตรยิ่งนัก และดูมีเอกลักษณ์ยิ่งกว่าเก่าด้วย แต่โดยรวมก็ยังคงรูปแบบ Omnibalance เช่นเคย ตามสไตล์ Sony

img_9408

สำหรับสีที่ได้มารีวิวครั้งนี้คือ Mineral Black หรือสีดำขรึม จากอีก 2 สีคือ Forest Blue และ Platinum

หน้าจอ

img_9448

img_9506

img_9568

หน้าจอของ XZ มีขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1,920 × 1,080) ให้ภาพที่ละเอียดคมชัดสุด ๆ และยังมีเทคโนโลยี TRILUMINOS ช่วยทำให้หน้าจอมีสีสันสดใสมากกว่าเดิม แต่ยังคงความสมจริงของสีเอาไว้

img_9572

หน้าจอสู้แสงได้ดีมาก ๆ แม้อยู่กลางแดดก็ยังเห็นหน้าจอชัดเจน

dsc_0277

ส่วนที่เป็นหน้าจอ ถูกปิดด้วยกระจก Corning Gorilla Glass ทับอีกที ทำให้หายห่วงเรื่องหน้าจอเป็นรอยง่ายหรือแตกง่ายไปได้เลย อาจถึงขึ้นไม่ต้องใช้ฟิล์มกันรอยหรือฟิล์มกันกระแทกเลยทีเดียว

ฮาร์ดแวร์

img_9435

ในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่น่าสนใจอื่น ๆ ก็มีทั้ง

img_9423

ปุ่มสแกนลายนิ้วมือ ที่ต้องยอมรับเลยว่า ทำงานไวมากกก แม้ตัวสแกนจะเป็นปุ่มแคบ ๆ แต่ก็ยังตรวจจับลายนิ้วมือของผู้ใช้ได้อย่างว่องไว ทั้งนี้ยังสามารถเก็บรูปแบบลายนิ้วมือได้ถึง 10 รูปแบบ และถ้าหากเรากลัวลายนิ้วมือมีปัญหา ก็สามารถปลดล็อคด้วยการ “วาดรูปแบบ” ก็ได้ครับ

ลองสแกนเฉพาะนิ้วชี้นิ้วเดียว หากเป็นนิ้วอื่น มันจะขึ้นคำว่า “ไม่รู้จัก” แต่ถ้าใช่ ก็ตามภาพครับ

img_9459

USB-C ที่ในที่สุด Sony ก็เอามาใส่เสียที….

img_9536

ช่องหูฟัง 3.5 mm ก็ยังคงมีอยู่ พร้อมไมค์ตัดเสียงรบกวนที่อยู่ห่างออกไปหน่อย

img_9580

ลำโพงคู่ จะอยู่ที่ด้านหน้าตรงหัวท้ายเครื่องทั้ง 2 ฝั่ง แต่ให้เสียงดังได้แค่พอประมาณ

img_9579

NFC หากใครสงสัยว่า ทำไม Sony ไม่เอา NFC ไปอยู่ด้านหลัง ที่น่าจะช่วยให้ส่งไฟล์ข้อมูล ด้วยการเอาสมาร์ทโฟนอีกเครื่องมาแตะที่ด้านหลังให้ดูเท่ ๆ ไม่ดีกว่าหรือ คำตอบคือ ที่ด้านหลังของตัว XZ มันเป็นโลหะ ทำให้สัญญาณถูกรบกวน จึงต้องเอามาไว้ด้านหน้านั้นเอง……

img_9631

Hybrid slot หรือถาดใส่ SIM/Micro SD ที่สามารถใช้เล็บจิกแล้วถอดออกได้เลย ไม่ต้องใช้เข็มทิ้มแต่อย่างใด และในรุ่นนี้ ยังรองรับการใช้งาน Dual Sim หรือ SIM คู่ด้วย แต่มันคือ Hybrid จึงมี 2 ตัวเลือกคือ 1.ใส่ SIM คู่ แต่อดใช้ Slot Micro SD กับ 2.ใช้ Slot Micro SD แต่ใช่ SIM ได้ตัวเดียว …..เอ้า “just pick one”

ซอฟต์แวร์

หน้า UI ของ Android 6.0.1 Marshmallow ที่ปรับแต่งโดย Sony ยังคงสวยงามและลื่นไหลตามสไตล์เดิมในรุ่นก่อน ๆ แต่หลัง X Series เป็นต้นมา ก็เริ่มมีความเป็น Pure Android มากขึ้น สังเกตได้จากหน้าตา UI ที่คงความเป็น Material Design อยู่ไม่น้อย พอมาในรุ่น XZ หรือ X Compart ก็ Theme แบบใหม่มาให้เลือกอีก 3 แบบ

การปรับแต่งหน้า Home Screen ใครที่ใช้เครื่อง Sony มาก่อน คงคุ้นมือแน่นอน เพราะยังเหมือนเดิม

แถบ Notification ยังคงรูปแบบคล้ายเดิม สามารถนำปรับเปลี่ยนปุ่มลัดได้ตามสะดวก

แอพฯ Album (ดูภาพ)

แอพฯ คีย์บอร์ด Swiftkey ที่มีลูกเล่นมากมาย หรือที่รู้จักกันดีคือ สามารถเปลี่ยนหน้าตาหรือ Theme ได้หลายแบบ และที่พิเศษเลยคือ ความสามารถในการเดาคำที่ต้องการพิมพ์ ลักษณะจะคล้าย ๆ กับการเสิร์ชคำใน Google เลยครับ อย่างในภาพ ผทพิมพ์คำว่า XZ มันก็จะมีคำว่า XPERIA XZ ให้เลือกทันที นับว่าสะดวกในบางสถานการณ์ ทั้งนี้มันจะเรียนรู้คำใหม่ ๆ ที่เราพิมพ์ทุกครั้งด้วย

นอกจากหน้าจอของ XZ จะมีเทคโนโลยี TRILUMINOS แล้ว ในหน้า “การแสดงผล” มันยังมี X-Reality กับ โหมดภาพสีสันจัดจ้าน ด้วย ซึ่งความแตกต่างของทั้ง 2 โหมด ก็มีภาพตัวอย่างแสดงให้เห็นชัดเจน ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับเราแล้วว่า ชอบให้การแสดงผลรูปภาพหรือวิดีโอ ออกมาแบบไหน

ส่วนที่น่าสนใจที่เหลือ ก็มีแหล่งดาวน์โหลด Theme จาก Sony โดยตรง ซึ่งก็มี Theme สวย ๆ ให้เลือกมากมาย มีระบบควบคุมย้อนแสงอัจฉริยะ และโปรแกรมทำความสะอาดอัจฉริยะ (Smart cleaner) ที่จะคอยกำจัดแคชไฟล์ต่าง ๆ หรือปิดแอพฯ บางตัวที่ไม่ได้ใช้ให้อัตโนมัติ ทำให้เครื่องทำงานได้อย่างลื่นไหลไม่สะดุด

แบตเตอรี่

สำหรับแบตฯ ใน XZ รุ่นนี้ ก็ยาวนานสมกับที่คุยไว้จริง ๆ จากที่ลองทั้งเล่นเกมกับเล่นเน็ตแบบต่อเนื่อง เปิดใช้กล้องนาน ๆ และใช้งานทั่ว ๆ ไป ก็พบว่า ตัวเครื่องอยู่ได้นานยิ่งกว่ารุ่นก่อน ๆ ถึงเท่าตัว อึดจริงขอยอมรับ แบตฯ ก็ชสร์จไวขึ้นด้วย และแน่นอนถ้าอยากให้แบตฯ อยู่นานยิ่งขึ้นอีก ก็มีโหมดประหยัดพลังงานอย่าง

STAMINA โหมดช่วยประหยัดแบตฯ ด้วยการลดประสิทธิภาพของเครื่องลง โดยในรุ่นนี้ เราสามารถเลือกได้ว่า จะให้ลดประสิทธิภาพลงขนาดไหน ที่เห็นชัด ๆ เลยคือ เครื่องจะมีอาการหน่วง ๆ เล็กน้อย หรือตอนเล่มเกม จะมีอาการกระตุกอยู่บ้างนั้นเอง

Ultra STAMINA โหมดประหยัดแบตฯ แบบฉุกเฉิน ที่จะลดฟีเจอร์ตัวเครื่อง จนแทบจะทำได้แค่โทรเข้าโทรออกเท่านั้น แต่ก็ทำให้เครื่องอยู่ได้นานอีกเป็นชาติเป็นทีเดียว

และอีกสองฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือ Qnovo Adaptive Charging ที่จะคอยปรับกระแสไฟตอนชาร์จให้เหมาะสม ช่วยลดความเสียหายและยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้่น และ Battery Care ตัวช่วยคำนวนตอนเวลาเราชาร์จแบตฯ อยู่ประจำ โดยมันจะจำกัดการชาร์จแบตฯ ที่เกินจำเป็น จนอาจส่งผลไม่ดีในอนาคต วิธีคือ มันจะไม่ชาร์จแบตฯ จนเต็มถึง 100% แต่จะเอาถึงแค่ 90% เท่านั้น จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม (ตามที่มันศึกษาพฤติกรรมการเสียบชาร์จของเรา) ถึงจะชาร์จจนเต็ม แต่ถ้าใครไม่ชอบ ก็สามารถไปปิดได้ อาจฟังดูงง ๆ สรุปง่าย ๆ คือ ฟีเจอร์ช่วยถนอมแบตฯ นั้นแหล่ะครับ

ประสิทธิภาพ

ทะลุแสนสามไปเรียบร้อย สำหรับแอพฯ Antutu ที่ได้คะแนนสูงถึง 131,684 เรียกได้ว่า ชิป Snapdragon 820 ของเขาแรงจริง ๆ (แต่ยังตาม S7 Edge อยู่นิด ๆ)

screenshot_20161018-211637

ส่วนชิปกราฟิกคือ Adreno 530 ก็หายห่วงเรื่องเล่นเกมกราฟฟิคสูง ๆ ไปได้เลย ให้ภาพลื่นและสวยทุกเกม ซึ่ง XZ ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง

dsc_0256

ลองเทสความร้อนของเครื่อง ด้วยการเล่นเกมกินสเปคเป็นเวลานาน ๆ พบว่า ตัวเครื่องแค่อุ่น ๆ เท่านั้น ไม่ร้อนจนน่าเป็นห่วง (ชิป 820 เอาอยู่จริง ๆ) ส่วนแอพฯ ที่ใช้คือ PPSSPP และเกม God Eater 2 (ที่ผมหวดเวอร์ชั่น PC ในสตรีมตอนมันลดเหลือ 990 บาทไปแล้ว แต่ ณ ปัจจุบัน “ดองเค็ม”)

เสียง

img_9636

ขึ้นชื่อว่า Sony ก็ไม่ยอมเสียชื่อเรื่องเสียงง่าย ๆ (แต่ทำไมไม่ทำให้ลำโพงเครื่องดีหน่อยหว่า) ใน XZ ก็ได้มีการยัดเทคโนโลยีเรื่องเสียงมากมาย อาทิ DSEE HX, ClearAudio+, Dynamic normaliser, S-Force Front Surround, Equalizer, Noise cancelling (ใช้กับหูฟังที่ตัดเสียงได้), LDAC, Mic sensitivity และรองรับการเล่นไฟล์เพลงระดับ Hi-Res

ในเครื่องก็มีแอพฯ Music (ที่แปลงร่างจาก Walkman) ที่มีหน้าควบคุมการเล่นเพลงสวยงาม และใช้งานง่าย และสำหรับคุณภาพเสียง (หรือชิปเสียงตัวเครื่อง) โดยรวม ๆ คือ พอใช้ได้ ตัวเครื่องยังพอขังหูฟังที่ใช้โอมสูง ๆ ได้เกือบสุด และเมื่อรวมกับตัวแอพฯ Music ที่มีทั้งฟีเจอร์ DSEE HX และระบบเสียงรองทิศทาง S-Force Front Surround ช่วยดันให้เสียงออกมาดีได้อยู่บ้าง

LDAC

02eLDAC คือ เทคโนโลยีช่วยส่งสัญญาณเพลงผ่าน Bluetooth หรือไร้สาย ด้วยค่า Transfer Rate สูงถึง 990 kbps. เลยทีเดียว จากปกติได้ 320 kbps. ทำให้เราได้คุณเสียงเพลงแบบไร้สายที่ดีเยี่ยม ง่าย ๆ คือ มันเกิดมาเพื่อไฟล์ระดับ Hi-Res ที่มีความละเอียดของไฟล์สูง (24bit 96kHz) ไม่ให้ถูกลดคุณภาพเสียงตอนไร้สายนั้นเอง แต่อนิจจา ตัวหูฟังไร้สายที่ใช้ ต้องรองรับ LDAC ด้วย

DSEE HX & ClearAudio+

แต่ถ้าไม่มีหูฟังไร้สาย ก็ยังมี DSEE HX ตัวช่วยดันให้เสียงทั่วไป มีคุณภาพใกล้เคียงกับไฟล์ระดับ Hi-res มากขึ้น แต่ใช้ได้เฉพาะหูฟังแบบมีสายเท่านั้น อีกตัวก็ ClearAudio+ ตัวช่วยปรับคุณภาพเสียงด้วยตนเอง คือ เหมือนมันจะปรับ Equalizer เอง ตามเพลงที่เล่นโดยอัตโนมัติ ก็จะมีบ้างที่ปรับได้ถูกใจ แต่ก็มีปรับได้ไม่ถูกใจเหมือนกัน (สุดท้ายผมไม่ใช่….)

กล้อง

sonyxz-0

มาถึงส่วนสำคัญแล้ว ในส่วนของกล้อง รอบนี้ Sony ก็ได้ใส่เทคโนโลยีที่น่าสนใจไม่น้อยคือ Triple image sensing สามเซ็นเซอร์อัจฉริยะ ที่จะช่วยให้คุณกล้อง XZ โหดกว่าเดิม อาทิ

– Predictive Hybrid Autofocus เป็นเซ็นเซอร์ช่วยโฟกัสวัตถุหรือภาพเคลื่อนไหวที่แม่นยำและรวดเร็ว และสามารถเดาการเคลื่อนที่ล่วงหน้าของวัตถุที่เคลื่อนไหวได้
– RGBC-IR ช่วยตรวจจับวิเคราะห์สีเพื่อปรับสมดุลย์แสงขาว (White Balance) ตามสภาพแสงในขณะถ่ายภาพ เพื่อให้ได้สีสันที่สวยสมจริงที่สุด
– Laser Auto Focus ช่วยวิเคราะห์ระยะของวัตถุเพื่อการจับโฟกัสอย่างคมชัด และแม่นยำ และช่วยให้ถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ดีขึ้น

ส่วนฟีเจอร์ที่น่าสนใจที่เหลือ ก็มี

Full Manual มาแล้ว !!

img_9615

ของเด็ดในรุ่น XZ (หรือใน X Compart ด้วย) นั้นก็คือ Full Manual ใน Manual mode ที่ปกติ จะเป็น Manual ครึ่งใบมาตลอด แต่ในรุ่นนี้เป็น Full แล้วครับ โดยมีให้ปรับทั้ง White balance, ชดเชยแสง EV ได้ตั้งแต่ -2 ถึง +2, Shutter Speed และ ปรับโฟกัสแบบไกลหรือใกล้ได้เป็นต้น ทว่ายังมีข้อสังเกตอยู่คือ

  • Shutter Speed (SS) ปรับได้ตั้งแต่ 1/4000 ถึง 1 วินาทีเท่านั้น
  • ปรับ ISO เอง พร้อมกันกับ SS ไม่ได้ ทันทีที่ปรับ SS ตัว ISO จะกลายเป็น Auto ทันที

หวังรอให้ Sony อัพเกรดซอฟต์แวร์กล้องใหม่ต่อไปนะครับ

Superior Auto ฉลาดขึ้น

img_9614

ต้องยอมรับว่า จากที่เคยขยาดกับ Superior Auto หรือโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติของ Sony มานาน พอมาอยู่ใน XZ ผมเริ่มกล้าที่จะใช้มันล่ะ หลังจากนี้ ผมจะเน้นทดสอบโหมดนี้เป็นหลัก 

screenshot_20161019-085401

dsc_0027

ทดสอบโฟกัส (ดูไฟล์เต็ม)

screenshot_20161020-181249

dsc_0097

ทดสอบการปรับสีและความสว่างใน Superior Auto  (ดูไฟล์เต็ม) 

fastcamera

dsc_0089

ลองเทส “ถ่ายด่วน” โดยไม่เข้าแอพฯ กล้องก่อน ผลที่ได้จัดว่าไวทีเดียว (ดูไฟล์เต็ม)

dsc_0007

ถ่ายย้อนแสง (ดูไฟล์เต็ม)

dsc_0008

ถ่ายกลางวัน (ดูไฟล์เต็ม)

dsc_0014

ถ่ายกลางคืน (ดูไฟล์เต็ม)

dsc_0067

ลองซูม ถ้าไม่ซูมจนสุด รายละเอียดที่ได้ถือว่าไม่เลว (ซูมสุดได้ที่ x 8)

dsc_0071

จัดวิวซักภาพ (ดูไฟล์เต็ม)

dsc_0004

หน้าชัดหลังเบลอ (ดูไฟล์เต็ม)

หลังถ่ายด้วย Superior Auto ไปเรื่อย ๆ ก็ต้องยอมรับว่ากล้อง Sony รอบนี้ดีขึ้นจริง ๆ Triple image sensing ก็ช่วยได้เยอะทีเดียว ทำให้โฟกัสภาพได้ไว สีสัดสมจริงขึ้นมาก และพอถ่ายในที่มืดได้แล้ว ถ้าถามว่า ถ่ายรูปไปนาน ๆ เครื่องจะร้อนไหม หลังลองถ่ายต่อเนื่อง 20 นาที พบว่า มีร้อนนิด ๆ เหมือนกัน

ข้อเสียของกล้อง

อย่างไรก็ตาม แม้กล้องของ XZ จะมีการพัฒนาขึ้นแล้ว แต่ก็ยังมีข้อด้อยอยู่ด้วย อาทิ

  • หากปรับ Shutter Speed ตั้งแต่ 1/1000 ขึ้นไป ภาพจะมีคลื่นดำ ๆ เหมือนอาการ Rolling Shutter
  • ในบางครั้งโหมดอัตโนมัตินี้ ก็มีสับสันอยู่เหมือนกัน อย่างบางภาพที่ควรปรับให้สว่าง กลับมึดซะงั้น บางภาพควรไม่สว่างมาก แต่แสงมาเต็ม
  • ถ่ายภาพกลางคืน ก็ยังมีสอบตกเหมือนเช่นเคย ดังภาพนี้

dsc_0110

ขอบม่วงชัดเจน

กล้องหน้า

dsc_0093

สำหรับภาพจากกล้องหน้า ที่มีความละเอียดถึง 13 ล้านพิกเซล ก็ตามภาพเลยครับ ถ่ายโดยไม่รอไฟกัส ควักถ่ายเดียวนั้นเลย

ถ่ายวิดีโอ

ลองถ่ายด้วยความละเอียด 1080p 30FPS ก็พบว่า กันสั่น 5 แกนแบบ EIS ของ XZ ทำหน้าที่ได้ดีทีเดียว ภาพแทบไม่มีสั่นเลย โดยการทดสอบ ผมลองเดินไว แล้วถือตัวเครื่องด้วยมือเดียว พร้อมหันเครื่องไปมาเร็ว ๆ ด้วย

ถ่าย 4K

screenshot_20161020-182420

ตัวเครื่องสามารถถ่ายวิดีโอความละเอียดระกับ 4K ได้ แต่ปรับอะไรได้ไม่เยอะ

สรุป

dsc_0259

หลังเทส Sony Xperia XZ จนหนำใจ ก็ขอสรุปว่า 8/10 รวม ๆ ตัวเครื่องน่าใช้จริง ๆ เรียกว่าเป็นรุ่นสมบูรณ์ของ Xperia ในปีนี้ก็ว่าได้ ตัวเครื่องจับแล้วรู้สึกไม่อยากปล่อย อาจเป็นเพราะวัสดุที่ใช้โลหะแบบ ALKALEIDO ทำให้มันดูเหมือนผิวพลาสติก สัมผัสการจับจึง Fin แปลก ๆ บอกไม่ถูก ส่วนดีไซน์ รอบนี้ดูมีความพรีเมี่ยมขึ้นเยอะ และมีเอกลัษณ์ประจำรุ่นเสียที อย่างน้อยก็แยกออกแล้วว่า นี้คือรุ่น XZ สเปกภายใน หลายคนอาจไม่พอใจเรื่องแรม 3GB ที่ชาวบ้านไป 4 – 6 GB กันหมดแล้ว แต่ด้วย UI ที่ออกแบบมาดี เครื่องจึงยังทำงานได้ลื่นไหลไม่สะดุดเลย แรท 3GB จึงไม่ใช่ปัญหา ชิป 820 ก็แรงได้ใจ และจัดการเรื่องความร้อนได้ดีเยี่ยม ส่วนแบตฯ ก็อึดทนเกินคาด สแกนลายนิ้วมือ ก็ทำงานรวดเร็วและแม่นยำมาก สุดท้ายกล้อง แม้จะมีจุดด้อยอยู้บ้าง แต่ก็ถือว่าพัฒนาขึ้นอยุ่พอควร

สำหรับราคาของ Sony Xperia XZ ณ ตอนนี้อยู่ที่ 23,990 บาท นับว่าสมราคาแล้ว หากเทียบกับรุ่นก่อน ๆ ที่เปิดตัวสูงจนหลายคนลังเล

ข้อดี

  • ตัวเครื่องสวยงามน่าใช้ วัสดุก็ดูหรูหราและแข็งแรงไม่น้อยเลย
  • หน้าจอมีความคมชัดอย่างมาก
  • ประสิทธิภาพสูง ใช้งานไม่มีกระตุก
  • UI ยังลื่นไหลและเสถียรเหมือนเคย
  • มีเทคโนโลยีถนอมแบตฯ
  • กล้องพัฒนาขึ้นกว่าเดิมพอควร
  • สเปกสมราคาขึ้น

ข้อสังเกต

  • โหมด Manual ยังไม่ Full Manual ซะทีเดียว
  • โหมด Superior auto แม้ฉลาดขึ้น แต่ก็มีเอ๋ออยู่หน่อย ๆ
  • ลำโพงคู่ให้เสียงไม่ดังมากนัก
แถมท้าย : เทียบกับรุ่นน้อง X Compact

img_9597

1 COMMENT

  1. ยังคงไม่พัฒนาเหมือนเดิม เรื่องกล้องที่ยังคงเหมือนจะดี
    แล้วการที่ปรับโหมด S ได้แค่1วิทำไปเพื่ออะไร? -_____-
    แล้วยังไม่เทสเรื่องถ่าย 4K ได้นานเท่าไหร่ถึงจะไม่ overheat ซึ่งเป็นปัญหาที่มีในรุ่นก่อนๆ

Comments are closed.