ในที่สุด Inter ก็ตัดสินใจปล่อยตัวซอฟต์แวร์ช่วยสื่อสารที่ใช้กับ Stephen Hawkings โดยเฉพาะ ให้กับเหล่านักพัฒนาไปพัฒนาต่อได้เลยฟรีๆ หวังให้เทคโนโลยีดังกล่าวมีความก้าวหน้ามากขึ้น
เทคโนโลยีทำให้คนมีความหวังได้ ผ่านมาก็หลายปีแล้ว ตอนที่ Intel เคยพัฒนาเครื่องมือช่วยสื่อสารตัวหนึ่ง ให้กับ Stephen Hawkings นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนอ่อนแรง (ALS) จนพูดไม่ได้คนนี้ โดยโปรแกรมที่ว่าก็ช่วยให้ ศจ.สามารถพูดคุยสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพจนปัจจุบัน บัดนี้ เทคโนโลยีดังกล่าว จะถูกส่งต่อให้ทุกคนสามารถเอาไปพัฒนาต่อได้เลยฟรีๆ !!Stephen Hawkings เป็น ศจ.ที่เชี่ญวชาญในด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ที่เคยสร้างผลงานให้กับวงการมานับต่อนักแล้ว โดยตลอดการสร้างนั้น ก็เป็นในช่วงที่ร่างกายไม่ปกตินี้ด้วย แน่นอนว่า สิ่งที่ช่วยทำให้เขาสามารถสร้างผลงานเหล่านี้ได้ ก็เป็นเพราะเทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Assistive Context-Aware Toolkit (ACAT) เป็นโปรแกรมที่ใช้ร่วมกับเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวบนใบหน้า แล้วแปลงเป็นตัวอักษรให้คอมฯอ่านออกเป็นเสียงคำพูด ทำให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้นั้นเอง ล่าสุดโปรแกรมดังกล่าว มีการปล่อยออกเป็น Open Source ให้นักพัฒนาคนอื่นๆ สามารถเอาไปพัฒนาต่อได้เลย โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ใดๆเลยด้วย
รายละเอียดของโปรแกรม แต่เดิมถูกพัฒนาต่อจากของเดิมที่ทำโดย Walt Waltosz ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์จากแคลิฟอร์เนีย ซึ่งได้ใช้วิธีตรวจจับการกระตุกของแก้มข้างขวา เพื่อเลือกคำที่แสดงอยู่บนจอคอมพิวเตอร์ เพียงแต่วิธีนี้ กว่าจะพูดได้แต่ละประโยค ต้องใช้เวลานานหลายนาทีเลยทีเดียว จนต่อมาทาง Intel ก็ได้นำมาพัฒนาต่อ โดยสร้าง
Software User Interface ขึ้นมาใหม่ จนทำให้ Hawkings สามารถสื่อสารได้รวดเร็วกว่าเดิมหลายเท่า สำหรับลักษณะการทำงาน ลองดูจากคลิปข้างล่างนี้เลยครับ
สุดท้ายนี้ ทาง Intel หวังว่า การปล่อยให้ทุกคนเอาไปพัฒนาต่อนี้ จะช่วยทำให้มันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และอาจช่วยให้คนที่ป่วยเป็นโรคเดียวกัน หรืออยู่ในสภาพที่ไม่ต่างกันนี้ สามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเอาไปสื่อสารกับผู้อื่นได้ เพื่อเป็นความหวังในการใช้ชีวิตต่อไปนั้นเอง ในอนาคต มันอาจจะมีความอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น เช่น สามารถเดาคำที่จะพูดได้ ตรวจจับการกระทำได้ หรืออย่างอื่นที่อำนวยความสะดวกได้เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น
สำหรับตัวโปรแกรม สามารถไปโหลดได้ที่เว็บไซต์ Github.com
ที่มา : Engadge