ดีหรือไม่ รัฐบาลอังกฤษ กำลังพัฒนาเทคโนโลยีอัลกอริทึมที่เรียกว่า โครงการทำนายเหตุฆาตกรรม หรือ Homicide prediction project โดยมีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของประชาชนจำนวนมาก เพื่อระบุตัวบุคคลที่มีแนวโน้มจะก่ออาชญากรรมรุนแรงในอนาคต
ประเด็นสำคัญคือเรื่องข้อมูลที่ใช้ กลุ่มสิทธิพลเมืองชื่อ Statewatch เปิดเผยว่า โครงการนี้อาจใช้ข้อมูลจากคนราว 100,000 ถึง 500,000 คน ซึ่งไม่เพียงแต่รวมถึงผู้ที่เคยมีประวัติอาชญากรรม แต่ยังอาจรวมถึงเหยื่อของอาชญากรรมด้วย
แน่นอนว่า ทางการออกมาปฏิเสธเรื่องนี้และยืนยันว่าใช้เฉพาะข้อมูลที่มีอยู่ของผู้กระทำความผิดที่ถูกตัดสินแล้วเท่านั้น
ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์นั้นมีทั้งข้อมูลส่วนบุคคลพื้นฐาน เช่น ชื่อ วันเกิด เพศ เชื้อชาติ และหมายเลขประจำตัวในระบบคอมพิวเตอร์ของตำรวจ นอกจากนี้ยังรวมถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น ประวัติสุขภาพจิต ปัญหาการติดยาเสพติด ความเปราะบางทางสังคม ประวัติการทำร้ายตนเอง หรือความพิการต่างๆ
กลุ่ม Statewatch ได้วิพากษ์วิจารณ์โครงการนี้อย่างหนัก โดยมองว่าเป็นเรื่องน่ากังวลและเหมือนกับโลกดิสโทเปีย พวกเขาเชื่อว่าระบบทำนายอาชญากรรมด้วยอัลกอริทึมนั้นมีข้อบกพร่องโดยธรรมชาติ และการใช้ข้อมูลจากตำรวจซึ่งอาจมีอคติ เช่น อคติทางเชื้อชาติ อยู่แล้ว (อันนี้ผมเชื่อเลย) และมันจะยิ่งเป็นการตอกย้ำและขยายปัญหาการเลือกปฏิบัติที่มีอยู่ในระบบยุติธรรม
อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่รัฐบาลชี้แจงว่า โครงการนี้เป็นเพียงส่วนต่อขยายจากเครื่องมือประเมินความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมเช่น การประเมินความเสี่ยงที่นักโทษจะกลับไปทำผิดซ้ำเมื่อใกล้พ้นโทษ และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการวิจัยเท่านั้น โดยต้องการทดลองดูว่าการเพิ่มข้อมูลใหม่ๆ จากตำรวจและจากระบบการคุมขัง จะช่วยให้การประเมินความเสี่ยงมีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่ โดยปัจจุบันร โครงการยังอยู่ในขั้นวิจัยเท่านั้น
ที่มา