วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) ได้เปิดตัว Copter ซึ่งเป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นผู้ช่วยส่วนตัวให้กับนักศึกษา MUIC ทุกคน ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ไปจนถึงชั้นปีสุดท้ายที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยและการวางแผนการเรียนเป็นไปอย่างง่ายขึ้นและฉลาดมากขึ้น
หนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้คือ ด้วยความที่เป็นวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น มีหลักสูตรจำนวนมาก นักศึกษาสามารถเลือกที่จะเรียนได้ตามสิ่งที่อยากเรียน ตามแผนอาชีพในอนาคตที่พวกเขาอยากเป็น แต่จำนวนบุคลาที่สามารถแนะนำหรือแนะแนวได้ตลอด 24 ชั่วโมงนั้น อาจจะไม่ดวกนักหรือทันใจนักศึกษานัก บริการด้าน AI จึงเข้ามาเสริมเรื่องนี้ โดยอาจเป็นพี่เลี้ยงส่วนตัวที่คอยแนะนำสิ่งต่าง ๆ ให้ตั้งแต่คอร์สการเรียน ไปจนถึงแนะนำร้านอาหารที่อยู่ในตึก
Copter ทำอะไรได้บ้าง
– แนะนำรายวิชา นักศึกษาสามารถสอบถาม Copter เกี่ยวกับรายวิชาที่น่าสนใจได้ เช่น หากสนใจด้านการถ่ายภาพ Copter สามารถแนะนำวิชาที่เกี่ยวข้องพร้อมคำอธิบายรายวิชาได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาในเว็บไซต์หรือเอกสารต่างๆ
– อธิบายข้อมูลหลักสูตร ช่วยให้ข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตร ประเภทของวิชาต่างๆ เช่น วิชาเลือกเสรี (I-Design & Free Electives)
-นำทางในมหาวิทยาลัย สามารถบอกเส้นทางไปยังห้องเรียนหรือสถานที่ต่างๆ ภายในอาคารเรียนของ MUIC ได้อย่างละเอียด
– แนะนำกิจกรรมและชมรม โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับชมรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับความสนใจของนักศึกษา เช่น หากต้องการประสบการณ์ด้านธุรกิจ Copter ก็สามารถแนะนำชมรมที่เกี่ยวข้องได้
– ข้อมูลโครงการแลกเปลี่ยน ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน เช่น เมืองหรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่เข้าร่วมโครงการ
– แนะแนวอาชีพเบื้องต้น สามารถแนะนำแนวทางอาชีพในอนาคตที่อาจเหมาะสม โดยพิจารณาจากวิชาเอกและวิชาเลือกที่นักศึกษาเคยเรียน
ตอบคำถามทั่วไป ช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย เช่น การแนะนำร้านอาหารภายในบริเวณ MUIC
Techhub ได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กับท่าน รองศาสตราจารย์ ดร.ยิ่งยศ เจียรวุฑฒิ รองคณบดี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) เกี่ยวกับที่มาของการพัฒนา โดยท่านบอกว่า นักศึกษาในปัจจุบัน คิดเร็ว ทำเร็ว และมีความอยากรู้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้บุคคลากร ไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างทันท่วงที จึงเกิดเป็น Copter AI ขึ้นมา โดย Copter ได้เรียนรู้ผ่าน 2 กระบวนการหลักคือ
1.การป้อนข้อมูลเริ่มต้น (Initial Feeding) ทีมงานได้ป้อนข้อมูลพื้นฐานจำนวนมากที่ MUIC มีอยู่แล้วเพื่อให้ AI เรียนรู้ในระยะแรก
2.การเรียนรู้ต่อเนื่องและปรับปรุง (Continuous Learning & Refinement) หลังจากนั้น AI จะเรียนรู้เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ ทีมงานทำการทดสอบโดยตั้งคำถามที่คาดว่านักศึกษาจะถาม หากคำตอบยังไม่ถูกต้องก็จะมีการแก้ไข ปรับปรุง และป้อนข้อมูลที่ถูกต้องกลับเข้าไปใหม่ กระบวนการนี้ใช้เวลาและทำซ้ำเพื่อให้ AI มีความฉลาดและแม่นยำมากขึ้น ซึ่งอาจารย์มั่นใจว่า AI สามารถตอบคำถามได้อย่างแม่นยำตามบริบทที่ AI ได้เรียนไปก่อนหน้านี้แล้ว
นักศึกษาสามารถใช้งาน Copter ได้แล้ววันนี้ ผ่านแอปพลิเคชัน MUIC ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งบน App Store และ Google Play โดยการเปิดให้ทยอยดำเนินการสำหรับนักศึกษาแต่ละชั้นปี โดยเริ่มจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ก่อน ถือเป็น AI แนะแนวตัวแรกในวงการศึกษาที่มีความฉลาดมาก ๆ
นอกเหนือจาก Copter สำหรับนักศึกษาแล้ว MUIC ยังได้ประกาศพัฒนา AI อีกตัวในชื่อ Helix ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรสายสนับสนุนของวิทยาลัยในอนาคตครับ ถือเป็น AI
การเปิดตัว Copter และ Helix ถือเป็นก้าวสำคัญของ MUIC ในการเป็นวิทยาลัยนานาชาติชั้นนำที่นำเทคโนโลยี AI มาปรับใช้ในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนทั้งนักศึกษาและบุคลากรอย่างเต็มรูปแบบ
ที่มา
งานแถลงข่าว Copter AI