หัวเว่ย จับมือ จุฬาฯ พัฒนาบุคลากร ICT

หัวเว่ย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จับมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ) และมหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง (BUPT) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT โดยเน้นเฉพาะนักพัฒนาระบบคลาวด์ ความร่วมมือครั้งนี้สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ร่วมกันในการยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งอาเซียน

ความร่วมมือดังกล่าวถูกนำเสนอในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2568 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยงานนี้ได้รวบรวมผู้นำในอุตสาหกรรม นักพัฒนา และนักวิชาการกว่า 300 คนจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจด้านนวัตกรรมและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม

ภายใต้ธีม “Spark Infinity: Innovate Today, Transform Tomorrow” งานดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงความก้าวหน้าล่าสุดในเทคโนโลยีคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) พร้อมทั้งมีการนำเสนอแนวคิดจากวิทยากร การแสดงโซลูชัน และการเสวนาเชิงลึก ไฮไลท์สำคัญของงานคือ การแข่งขัน Huawei Developer Competition โดยมีทีมเข้าแข่งขันทั้งหมดเกือบ 200 ทีม รวมผู้เข้าร่วมกว่า 600 คน ที่ร่วมกันแก้ปัญหาในโลกจริงด้วยระบบนิเวศที่ครอบคลุมของหัวเว่ย อาทิเช่น API Explorer, CodeArts, ModelArts และ DataArts Studio การแข่งขันนี้เน้นความคิดสร้างสรรค์ ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค และนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ เช่น โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI และเทคโนโลยีที่ยั่งยืน รวมถึงการเร่งการนำ AI มาใช้บนระบบคลาวด์และการพัฒนาเครือข่ายนักพัฒนาระบบที่แข็งแกร่ง

ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในงานว่า “Asia Pacific Cloud AI Forum เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้าน AI และนวัตกรรมดิจิทัล โดยเราสนับสนุนนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก” (Cloud-First Policy) และปัญญาประดิษฐ์” (AI) ซึ่งเป็นเสาหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

หัวเว่ยมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนนโยบาย Cloud-First และ AI โดยการนำเสนอเทคโนโลยีคลาวด์ที่ล้ำสมัย แพลตฟอร์ม AI และโครงการฝึกอบรมต่าง ๆ นโยบาย Cloud-First ของประเทศไทยถือเป็นรากฐานสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยกำหนดให้หน่วยงานรัฐบาลให้ความสำคัญกับการใช้บริการคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ขณะที่แผนยุทธศาสตร์ AI Thailand (2565-2570) มุ่งสร้างระบบนิเวศที่บูรณาการ AI ในทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

ดร. ชวพล กล่าวเพิ่มเติมว่าที่หัวเว่ย เราเชื่อว่านักพัฒนา คือ สถาปนิกของยุคอัจฉริยะ ความคิด โค้ด และแรงผลักดันของพวกเขา คือจุดเริ่มต้นของนวัตกรรม ในฐานะองค์กรที่มุ่งมั่นสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เราได้พัฒนาบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทยเกือบ 100,000 คน รวมถึงนักพัฒนา AI บนระบบคลาวด์ขั้นสูงเกือบ 12,000 คน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกว่า 50 แห่งผ่านโครงการ ICT Academy เช่น การแข่งขัน โครงการฝึกอบรม การฝึกงาน และการให้คำปรึกษาทางเทคนิค ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรและสร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับการเติบโตและนวัตกรรมในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการเหล่านี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนในการสำรวจศักยภาพของ Cloud AI และช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต

ในขณะเดียวกัน หัวเว่ยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล โดยศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวเว่ยในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลที่ประเทศไทยต้องการเพื่อก้าวไปข้างหน้าในยุคอัจฉริยะ การทำงานร่วมกับผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกอย่างหัวเว่ย ช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและมีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศได้ดียิ่งขึ้น

ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสถาบันร่วมก่อตั้ง “Huawei Academy” มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง (BUPT) ได้แบ่งปันประสบการณ์ปฏิบัติงานจริงจาก 3 มิติสำคัญ ได้แก่ การบูรณาการอุตสาหกรรมและการศึกษา การศึกษาอัจฉริยะ และการพัฒนาบุคลากรดิจิทัลในฐานะศูนย์ฝึกอบรมสำคัญสำหรับบุคลากรด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและแหล่งนวัตกรรมเทคโนโลยีไอซีที BUPT มุ่งมั่นในการสำรวจโมเดลความร่วมมือใหม่ๆ กับภาคเอกชน และได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ในการสร้างแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น UNTES Future Learning Center ซึ่งมุ่งเน้นการเตรียมพร้อมบุคลากรสำหรับยุคอัจฉริยะหวัง เหยา ผู้อำนวยการสำนักงานระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง กล่าว

ในงานดังกล่าว ทีมผู้ชนะหลายทีมได้แบ่งปันกรณีศึกษาที่นำการนวัตกรรมบนแพลตฟอร์ม HUAWEI CLOUD ไปประยุกต์ใช้ เช่น ทีมหนึ่งได้พัฒนาระบบเสริมการบำบัดการพูดทางไกลโดยใช้เทคโนโลยี AI เพื่อให้การสนับสนุนการรักษาที่มีประสิทธิภาพและสะดวกยิ่งขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางภาษา อีกทีมได้ออกแบบระบบการจัดการอาคารอัจฉริยะแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการบริหารจัดการอาคารผ่านการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ โครงการเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของนักพัฒนาในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ หัวเว่ยและพันธมิตรทางธุรกิจจากประเทศไทยกว่า 10 ราย ได้จัดงาน Job Fair ภายใต้กิจกรรมเสริมในครั้งนี้ เพื่อสร้างแพลตฟอร์มให้กับองค์กรชั้นนำได้เชื่อมโยงกับนักพัฒนาและนักศึกษาที่มีความสามารถ โอกาสนี้ช่วยในการคัดเลือกและดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพ พร้อมทั้งเปิดโอกาสในการสำรวจความร่วมมือในอนาคต เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่มีความคล่องตัวและยั่งยืน

สำหรับทีมที่ชนะการแข่งขัน Huawei Developer Competition จะได้รับรางวัลรวมมูลค่า 34,000 ดอลลาร์สหรัฐ การฝึกอบรมทางเทคนิคที่มุ่งเน้นด้าน HUAWEI CLOUD พร้อมโอกาสในการร่วมมือกับหัวเว่ยในโครงการต่างๆ ในอนาคต ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้