มองเห็นด้วยตาเปล่า “ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด” ปักหมุดวันที่ 12 มกราคม 2568 ถ้าพลาดต้องรออีกหลายปี
NARIT ชวนส่องดาวอังคารใกล้โลกที่สุด ปรากฏสว่างสีส้มแดงบนท้องฟ้า ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า สังเกตได้ด้วยตาเปล่า
ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ระยะห่างประมาณ 96 ล้านกิโลเมตร และหลังจากนั้นจะโคจรไปอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์วันที่ 16 มกราคม 2568 ช่วงดังกล่าวสามารถสังเกตดาวอังคารได้ตลอดทั้งคืน
ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันถัดไป หากสังเกตด้วยตาเปล่าจะเห็นดาวอังคารส่องสว่างประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้า และเมื่อสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะเห็นพื้นน้ำแข็งสีขาวที่อยู่บริเวณขั้วของดาวอังคารได้
สำหรับผู้สนใจส่องดาวอังคารผ่านกล้องโทรทรรศน์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติจัดกิจกรรมทั้งหมด 5 จุด คืนวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 18:00 – 22:00 น. ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย หรือรับชม LIVE ถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านเพจ : NARIT
เชียงใหม่ : อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร
โคราช : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา
ขอนแก่น : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา
ฉะเชิงเทรา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา
สงขลา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา
หากพลาดรอบนี้ไปจะต้องรอดาวอังคารเคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งนี้อีกครั้ง และโคจรจะมาใกล้โลกในครั้งถัดไปวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2570 หรืออีก 26 เดือนนั่นเอง
ที่มา : NARIT
#ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด #TechhubUpdate