คอนกรีตแบบใหม่ กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ สร้างได้ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

สิงคโปร์เริ่มแล้วคิดค้นคอนกรีตรูปแบบใหม่ที่ทำด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติสามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ประเทศสิงคโปร์ คิดวิธีการพิมพ์คอนกรีตแบบ 3 มิติที่สามารถดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมก่อสร้าง

เทคนิคใหม่นี้เป็นวิธีแก้ปัญหามลพิษ ลดการปล่อยคาร์บอนจำนวนมากจากปูนซีเมนต์

โดยการผสมผสาน CO และไอน้ำ ลงในส่วนผสมคอนกรีตระหว่างการพิมพ์แบบ 3 มิติ ขณะที่พิมพ์วัสดุ CO จะทำปฏิกิริยากับส่วนประกอบในคอนกรีต ทำได้เกิดสารประกอบที่แข็งแรง

จึงได้เป็นคอนกรีตมีความแข็งแรงและพิมพ์ได้ดีขึ้น การทดสอบในห้องปฏิบัติการยืนยันว่าเทคนิคใหม่นี้ไม่เพียงแต่ดักจับคาร์บอนได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้คอนกรีตมีความแข็งแรงและทนทานกว่าคอนกรีตที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติทั่วไปอีกด้วย

คอนกรีตนี้จะเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นสำหรับการก่อสร้าง ทั้งเรื่องการใช้ส่วนผสมที่น้อยลง เวลาก่อสร้างที่สั้นกว่าเดิมและความแรงงานคน

นักวิจัยของ NTU พบว่าคอนกรีตที่พิมพ์ 3 มิติทำให้ก่อสร้างได้เร็วขึ้นและแม่นยำยิ่งขึ้น ในอนาคตนักวิจัยยังมีแผนจะนำคอนกรีตไปใช้ในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ที่ยั่งยืนภายในประเทศ

 

ที่มา : interestingengineering  

#คอนกรีต #เครื่องพิมพ์3มิติ #TechhubUpdate