แพลตฟอร์มใหม่ คาดการณ์พื้นที่เสี่ยง บอกพิกัดเกิด ฝุ่น PM2.5

สำเร็จแล้ว ต้นแบบแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพยากรณ์สำหรับการบริหารจัดการปัญหา ฝุ่น PM2.5 จากความร่วมมือของศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดมลพิษอากาศ

ช่วยให้หน่วยงานรัฐสามารถออกประกาศให้โรงงานอุตสาหกรรมหรือเกษตรกร ซึ่งจำเป็นต้องเผาวัสดุการเกษตร เลือกวันชิงเผาในวันที่จะไม่ก่อให้เกิดฝุ่นพิษกระจุกตัวอยู่กับที่ในวันที่ไม่มีลม รวมทั้งแจ้งเตือนให้เฝ้าระวังอย่างทันท่วงที

แพลตฟอร์มนี้อาศัยการการเรียนรู้ด้วยเครื่อง (machine learning) หรือการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) และดำเนินการฝึกสอนข้อมูลและปรับ hyperparameter เพื่อให้ได้ค่าที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแบบจำลอง แล้วทดสอบผลการประมาณการณ์พื้นที่เสี่ยงการเกิดมลพิษอากาศในเขตภูมิศาสตร์อากาศ โดยจัดทำ dashboard สำหรับแสดงข้อมูลพื้นที่เสี่ยงการเกิดมลพิษอากาศในเขตภูมิศาสตร์อากาศ สำหรับการนำไปใช้งานจริง

สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดมลพิษทางอากาศในเขตภูมิศาสตร์อากาศ ผ่านการประยุกต์ใช้ข้อมูลลักษณะของภูมิประเทศ และอุตุนิยมวิทยาโดยเฉพาะเรื่องของอุณหภูมิผกผัน รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องนำมาคำนวณเพื่อให้ได้ผลลับที่แม่นยำมากที่สุด อย่าง ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล แรงดันอากาศพื้นผิวที่ต่ำที่สุด ความสูงของชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ช่วงเวลาที่เกิดอุณหภูมิผกผันบ่อย และช่วงเวลาที่ฝุ่น PM2.5 มีปริมาณมาก

ที่มา : https://www.tistr.or.th/PressCenter/highlight/15340/