สายหวานต้องชอบ เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันสุขภาพ Mount Sinai Health System ในนิวยอร์คซิตี้ ร่วมกับศูนย์วิจัยโรคเบาหวาน City of Hope ในลอสแอนเจลิส ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยและรักษาโรคมะเร็งที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาวิธีการรักษาแบบผสมที่สามารถเพิ่มจำนวนเซลล์เบต้าที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินของมนุษย์
Beta Cell เป็นเซลล์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในตับอ่อน ทำหน้าที่สำคัญในการผลิตและปล่อยฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) โดยหากพบว่ามีน้ำตาลในเลือดเกิน Beta Cell ก็จะผลิตอินซูลินออกมา ช่วยให้เซลล์ต่างๆ ดึงกลูโคสเข้าไปใช้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
แต่เมื่อเราอายุเยอะขึ้น c อาจผลิตอินซูลินได้น้อยลง โดยมาจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้ง น้ำหนักเกิน ไม่ค่อยออกกำลังกาย กินของหวาน ความเครียด รวมถึงพันธุกรรม ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน เพราะมีน้ำตาลในเลือดสูง ที่ผ่านมา เราสามารถใช้อินซูลินฉีดเข้าไปตรง ๆ แต่นั่นไม่ใช่วิธีการรักษาที่ยั่งยืน หากคนไข้ขาดวินัยในการกิน ก็จะกลับมาเป็นอีก
ทีมวิจัยจึงได้สร้างยาชนิดหนึ่งที่สามารถเพิ่มจำนวน Beta Cell ให้กลับมาผลิตอินซูลินได้เหมือนเดิม พวกเขาได้ทดลองในหนูที่เป็นเบาหวาน ผลลัพธ์คือ ยาสามารถเพิ่มจำนวน Beta Cell ในหนูทดลองได้ถึง 700% ภายในระยะเวลา 3 เดือน
ทำไมการค้นพบนี้ถึงสำคัญ?
+มันสามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แทนที่จะเพียงแค่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ยาตัวใหม่นี้มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุของโรคเบาหวาน นั่นคือ การเพิ่มจำนวนเซลล์ที่ผลิตอินซูลินให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ
+ เพิ่มโอกาสในการหายขาด หากการทดลองในมนุษย์ประสบความสำเร็จ ยาตัวนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการรักษาโรคเบาหวานให้หายขาดได้ในอนาคต และทำให้ผู้ป่วยกลับมามีชีวิตที่ดีขึ้นครับ
ที่มา
techspot