AI ดังกล่าวชื่อว่า RhizoNet ถูกพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์จาก Lawrence Berkeley National Laboratory โดยใช้เทคโนโลยี Deep-learning และ convolutional neural network ในการประมวลผลภาพถ่ายของรากพืช ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจพฤติกรรมของรากพืชภายใต้สภาพแวดล้อมต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ
(Convolutional Neural Network (CNN) หรือ โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน คือโครงสร้างของโครงข่ายประสาทเทียมชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลภาพ ซึ่งมีความแม่นยำในการประมวลผล ขอบ, เส้น, หรือรูปร่างต่างๆ)
การวิจัยนี้ มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังพยายามพัฒนาพืชที่สามารถอยู่รอดได้ในสภาวะอากาศรุนแรงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลกร้อน โดยพืชถือเป็นอาหารสำคัญทั้งกับคนและสัตว์กินพืช เนื่องจากพวกมันเป็นผู้บริโภคลำดับแรก (primary consumers) ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดพลังงานจากพืช (ผู้ผลิต) ไปยังสัตว์อื่นๆ ในระบบนิเวศ
นอกจากนี้ นักวิจัยหวังว่าการศึกษานี้จะนำไปสู่การพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้พืชและจุลินทรีย์ในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ที่มา
thecooldown