ปัจจุบัน มะเขือเทศถือเป็นพืชที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงมาก แต่เกษตรกร จำเป็นต้องปลูกในโรงเรือนกระจก เพื่อต่อสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โดยภายในโรงเรือนนั้น จะมีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและปริมาณรังสีอัลตร้าไวโอเลตอย่างเคร่งครัด แน่นอนว่าเมื่อปลูกในโรงเรือนผึ้งก็ไม่สามารถเข้าไปผสมเกสรได้อย่างเต็มที่ ฟาร์มจึงต้องใช้คนงานเข้าเขย่าต้นมะเขือเทศเพื่อให้เกสรผสมติด แต่นี่เป็นวิธีที่ใช้แรงงานมากและผลลัพธ์นั้นไม่แน่นอน
ด้วยเหตุนี้ ฟาร์มแห่งนี้จึงหันมาใช้โดรนเป็นตัวช่วย ใบพัดของโดรนจะสร้างแรงสั่นสะเทือนไปยังดอกไม้ ช่วยให้เกสรผสมติดได้ดีกว่า ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ โดรนยังช่วยประหยัดแรงงาน ตรวจสอบโรคพืช และคาดการณ์ผลผลิตได้อีกด้วย
โดรนจะทดแทนผึ้งโดยธรรมชาติได้จริงหรือ?
แม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้า แต่ก็ไม่สามารถทดแทนธรรมชาติได้ทั้งหมด การลดลงของประชากรผึ้งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ เกษตรกรบางพื้นที่หันมาเลี้ยงผึ้งเพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำผึ้ง และแม้โดรนจะเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ แต่การรักษาสมดุลของธรรมชาติก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เราต้องช่วยการอนุรักษ์ผึ้งให้มากขึ้นกว่านี้นะ
ที่มา
https://www.eco-business.com/news/in-an-australian-tomato-farm-drones-take-the-place-of-bees/