ทำสำเร็จ สิงคโปร์วิจัยหนอนยักษ์ ใช้ลำไส้เทียมย่อยพลาสติก

ไมโครไบโอมจากหนอนช่วยกำจัดพลาสติก

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ในสิงคโปร์ (NTU Singapore) ได้ศึกษาเรื่องไมโครไบโอม (microbiome) ของหนอน Zophobas atratus จนสำเร็จ

พบว่าลำไส้ของหนอนสามารถผลิตไมโครไบโอมเพื่อสร้างแบคทีเรียกำจัดพลาสติกเล็ก ๆ ได้

หนอนตัวหนึ่งสามารถกินพลาสติกได้ประมาณสองสามมิลลิกรัมในช่วงชีวิตของมัน นักวิจัยจึงเสริมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ของหนอน 

เพื่อสร้างลำไส้เทียมที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคค โดยเริ่มต้นด้วยการป้อนอาหารพลาสติกให้หนอน ได้แก่ โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) ซึ่งย่อยสลายได้ยากอย่างโพลีโพรพีลีน (PP) และโพลีสไตรีน (PS) เป็นเวลา 30 วัน

สกัดไมโครไบโอมจากลำไส้ของหนอนที่เคี้ยวพลาสติก แล้วบ่มไว้ในขวดที่เต็มไปด้วยสารอาหารสังเคราะห์

เพื่อในอนาคตจะสามารถปลูกลำไส้เล็กเทียมในขนาดที่ใหญ่ขึ้น ปรับแต่งให้เหมาะสมเพื่อนำไปกำจัดพลาสติกได้เหมือนการย่อยอาหารของหนอนเพื่อเอาไปใช้ในระดับอุตสาหกรรมต่อไป

 

ที่มา : newatlas

#microbiome #กำจัดพลาสติก  #TechhubUpdate