สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยวันที่ 22 ธันวาคม 2566 เป็น “วันเหมายัน” ช่วงเวลากลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี
วันเหมายันดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุดและตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว”
ในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา
ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนที่จากจุดตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกลงมาทางใต้สังเกตได้จากท้องฟ้าในช่วงนี้จะมืดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2566 ดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 06:36 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 17:55 น. (เวลา ณ กรุงเทพฯ)รวมระยะเวลากลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาทีเท่านั้น
นอกจากนี้วันเหมายันยังนับเป็นวันเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกใต้นั้นเอง
ในระยะเวลา 1 ปีที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น – ตกของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่
– วันครีษมายัน (Summer Solstice) วันที่กลางวันยาวนานที่สุด
– วันเหมายัน (Winter Solstice) วันที่กลางคืนยาวนานที่สุด
– วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) และ วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) วันที่มี- กลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน
#WinterSolstice2023 #HappyWinterSolstice #วันเหมายัน #TechhubUpdate