“ราส พอล” ตอบโจทย์สภาวะแรงงานขาดแคลน และสังคมผู้สูงอายุ เดินหน้ารุกตลาดหุ่นยนต์บริการ (Service Robots) พร้อมเสริมทัพ จับมือเพิ่มคู่ค้าระดับภูมิภาค เพื่อความครบวงจรในการให้บริการ Service Robot Solutions ให้ลูกค้าแต่ละกลุ่ม
นางสุกัญญา วนิชจักรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ราส พอล จำกัด หรือ RAAS PAL ผู้นำธุรกิจหุ่นยนต์บริการของประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา 3 ปี ตลาดหุ่นยนต์บริการมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานเฉพาะด้าน เป็นแรงงานที่อาจจะขาดการเติบโตในสายงาน นอกจาปัญหาการสรรหาบุคลากรที่ยากแล้ว ยังไม่ค่อยมีคนอยากทำงานในสายนั้นๆ ด้วย เช่น งานส่งของ งานทำความสะอาด จึงเป็นโอกาสที่ทำให้ตลาดหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับคนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ หลายๆ องค์กรจึงเริ่มขยับปรับแผนการทำงานให้หุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่า หุ่นยนต์มี Reliability ที่สูงกว่าและสามารถวัดผลการทำงานได้ชัดเจน ทำให้การวางแผนงานแต่ละวันมีโอกาสเบี่ยงเบนน้อยลง นอกจากหุ่นยนต์ทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวแล้ว ราส พอลยังเตรียมนำเข้าหุ่นยนต์ทำอาหารภายในปลายปีนี้ หลังนำเข้าหุ่นยนต์ตรวจการณ์เมื่อเดือนที่ผ่านมา
ปัจจุบันตลาดผู้ใช้บริการนอกจากจะมองหาหุ่นยนต์บริการรุ่นใหม่ๆ ที่ทำหน้าที่อื่นๆ ได้อีก ยังมีการถามถึงระบบ Facility Management Solutions Platform ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยทำให้การทำงานร่วมกันระหว่างคนกับหุ่นยนต์รวมไปถึงอุปกรณ์ IOT ทำให้สามารถติดตามประเมินงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย อีกปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ่นยนต์บริการเติบโตเพิ่มมากขึ้น คือ ราคาค่าบริการที่ลดลงและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น จากช่วงแรกที่นำมาทำตลาด ผู้ผลิตไม่ได้ให้ความสำคัญกับตลาดไทยนัก เพราะเห็นว่าค่าแรงถูก แต่เมื่อมีการเรียนรู้และวางแผนร่วมกัน ทำให้เกิดความเข้าใจในพฤติกรรมทางการตลาดของไทยมากขึ้น มีการปรับราคาให้เหมาะสมและได้รับการสนับสนุนที่มากขึ้น และเมื่อตลาดเปิดรับการใช้งานมากขึ้นกับราคาหุ่นยนต์ปัจจุบันในตลาดลดลงมาถึงเดือนละแค่ประมาณ 6,500 บาท ทำให้เข้าถึงและเป็นที่นิยมมากขึ้น และราส พอล ได้หันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบการทำงานที่เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรมมากขึ้น
“ปัจจุบันเราได้เสริมความแข็งแกร่งทางการตลาด ด้วยการเพิ่มคู่ค้าระดับภูมิภาค เพื่อให้บริการ Service Robot Solutions ของลูกค้าแต่ละกลุ่มเป็นไปอย่างครบวงจร ด้วยการเพิ่มเรื่อง Design Solutions จากเดิมที่เป็นคนขายหุ่นยนต์ มาเป็นการบริหารจัดการเรื่อง Solutions ให้ลูกค้าพร้อมพ่วงระบบ Facility Management Platform ด้วยการแนะนำ Automation Solution ที่เหมาะสมและสามารถตอบโจทย์ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงานร่วมกับระบบที่มีอยู่เดิมได้อย่างราบรื่น โดยบริการของบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของ Ecosystem ของ Facility Management สำหรับเป้าหมายในปีหน้า ต้องการคงความเป็นผู้นำในเรื่องของ Robotics Solutions & Facility Management โดยตั้งเป้าหมายยอดขายไว้ที่ 200-250 ล้านบาท” นางสุกัญญากล่าว
บริษัท ราส พอล จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายหุ่นยนต์บริการมาตั้งแต่ปี 2563 โดยเน้นการวาง Automations Solutions ให้กับลูกค้า เพื่อตอบโจทย์การนำหุ่นยนต์ไปใช้งานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ปัจจุบัน มีหุ่นยนต์บริการจำหน่าย 4 ประเภท คือ หุ่นยนต์ทำความสะอาด (Cleaning Robots) หุ่นยนต์ส่งของ (Delivery Robots) หุ่นยนต์ตรวจการณ์ (Security Robots) ที่เพิ่งนำเข้ามา และยังมีแผนจะนำเข้าหุ่นยนต์ทำอาหาร (Cooking Robots) มาทำตลาดภายในปลายปีนี้ จนถึงปัจจุบัน ราส พอล ได้จำหน่ายหุ่นยนต์บริการในประเทศไทยไปแล้วประมาณ 1,500 ตัว โดยลูกค้าที่ทางบริษัทให้บริการ มีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น สนามบิน ร้านอาหารชื่อดัง อาคารสำนักงานต่างๆ หน่วยงานราชการ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ หุ่นยนต์ที่ทางบริษัทนำเข้ามานั้น มาจากผู้ผลิตที่เป็นผู้นำในการผลิตหุ่นยนต์ที่ได้มาตรฐาน ส่งออกไปทั่วโลก นอกจากนั้น ยังมีความโดดเด่นในเรื่องของการใช้งานที่ง่าย ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยหุ่นยนต์ที่คนทั่วไปมีความคุ้นเคย และพบเห็นบ่อยคือ หุ่นยนต์ทำความสะอาดที่สนามบิน ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ชนิดแรกที่ราส พอล นำเข้ามาทำตลาด โดยหุ่นยนต์ทำความสะอาดนั้นมีหลากหลายขนาดให้เลือกเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น หุ่นยนต์ขนาดใหญ่สามารถเดินทำความสะอาดได้ในพื้นที่มากถึง 30,000 ตรม.ต่อวัน ส่วนหุ่นยนต์ขนาดเล็กสามารถเดินทำงานในพื้นที่ได้มากถึง 3,500 ตรม.ต่อวัน
“ส่วนตัวเห็นว่า trend ของสังคมผู้สูงอายุมาระยะหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นประเทศญี่ปุ่นที่คุ้นเคย หรือประเทศแถบเอเชีย ได้เห็นว่าสังคมที่นั่นมีผู้สูงอายุจำนวนมาก และอยู่กันอย่างโดดเดี่ยว ต้องดูแลตัวเอง ส่วนตัวแล้วค่อนข้างเชื่อว่า ประเทศไทยก็น่าจะมีแนวโน้มที่ไม่ต่างจากประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศอื่นในแถบนี้ ดังนั้น ในอนาคต การมีหุ่นยนต์มาทำงานควบคู่กับคน โดยเฉพาะคนสูงวัยที่ยังต้องทำงานอยู่ แต่ปรับการทำงานด้านการใช้แรงงานมาเรียนรู้การใช้งานหุ่นยนต์ รวมไปถึงการดูแลการควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ ให้มาสนับสนุนการทำงานในฟังก์ชันที่เกินกำลังคน หรือกำลังที่ผู้สูงอายุจะทำได้ ทั้งนี้เราสามารถออกแบบวางแผนงานการจัดการการทำงานในสัดส่วนระหว่างคนกับหุ่นยนต์ได้ โดยนำส่วนงานที่คนทำไม่ได้ หรืองานที่มีความเสี่ยงสูงไปให้หุ่นยนต์ทำงานแทน ส่วนคนก็ไปทำงานในจุดที่หุ่นยนต์ปัจจุบันไม่สามารถทำได้ จะเป็นการใช้เทคโนโลยีทำงานร่วมกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังเกิดประสิทธิภาพได้มากขึ้น ที่สำคัญงานที่ใช้หุ่นยนต์หรือระบบ Automation นั้น สามารถวัดในเรื่องประสิทธิภาพ และคุณภาพในการทำงานได้ ทำให้เราสามารถติดตาม วางแผน และประเมิน ผ่านระบบ Cloud Platform ของหุ่นยนต์เอง หรือ ผ่านระบบ Facility Management Platform ที่เรามีใช้ร่วมกันได้ จะทำให้ภาพรวมของงานทั้งหมดเกิดประโยชน์สูงสุด“ นางสุกัญญาสรุป