ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – วันที่ 7 สิงหาคม 2566 พบว่า คนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพมากถึง 87,794 ราย โดยพบว่าเป็นบุคคลที่เป็นแม่ในกลุ่มผู้หญิงวัยทำงานตอนปลาย จนถึงวัยสูงอายุ ซึ่งโดนมิจฉาชีพหลอกลวงมากถึง 9,497 คน ภายในเวลาเพียง 160 วัน หรือคิดเป็นประมาณ 60 คนต่อวัน
ที่น่ากลัวที่สุดคือ บางรายถูกหลอกจนสูญเงินกว่า 100 ล้านบาท โดย 5 กลการหลอกหลวงที่ได้รับการแจ้งความมากที่สุด ได้แก่
1. หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ไม่มีลักษณะเป็นขบวนการ
2. หลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์
3. หลอกลวง เป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน
4. กระทำต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยผิดกฎหมาย หรือ แฮก
5. หลอกลวงให้โอนเงิน เพื่อทำงานหารายได้ (ที่เรามักจะเห็นการรับสมัครงานบน Facebook บ่อย ๆ )
แม้จะมีระบบป้องกันที่ดี แต่มิจฉาชีพก็ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นและนำข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อมาใช้หลอกได้อย่างแนบเนียนมากขึ้น และยังมีอีกหลายคนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรับเบอร์แปลกได้
เบื้องต้น หากแม่เราอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ และคาดว่าจะรู้ไม่ทันพี่มิจ เราสามารถคัดกรองเบอร์โทรศัพท์ที่โทรเข้ามาโดยการโหลดแอป Whocall มาติดตั้งในเครื่องไว้ได้ เพื่อป้องกันและทำให้คัดกรองสายที่โทรเข้ามาจากมิจฉาชีพ วิธีต่อมาคือไม่เปิดข้อความและลิงก์ปลอมที่ส่งมาจากเบอร์แปลก ๆ สุดท้าย พยายามพูดคุยกับท่านบ่อย ๆ เกี่ยวกับกับวิธีการหลอกลวงของมิจฉาชีพสมัยให่ ในลักษณะเป็นการเล่าให้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุป้องกันตัวได้ดีขึ้นครับ
จำไว้อย่างหนึ่งว่า หากมีเบอร์แปลกโทรมา แล้วบอกว่าเป็นตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ทางราชการอื่น ๆ อย่าง ศุลลากร ให้หมายหัวไว้ก่อนเลยว่าเป็นพวกมิจฉาชีพ ซึ่งพวกนี้จะใช้วิธีขู่ให้เราทำอะไรแบบรีบ ๆ เช่น ถ้าไม่โอนตอนนี้ ไม่จ่ายตอนนี้ ไม่รีบคุยตอนนี้ ปัญหาจะบานปลายนะ ซึ่งเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ทำให้เหยื่อไม่มีเวลาคิดทบทวนให้ดีครับ
ที่มาข้อมูล
จดหมายข่าว Whocall