เปิดนิทรรศการ “ศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 12”

นิทรรศการ “ศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อรักโลก” ที่จัดโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเวทีที่ให้เหล่าศิลปิน และผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้แสดงออกถึงช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่อันรุ่งโรจน์ รื่นเริง สะท้อนถึงบรรยากาศของความสุข ความหวังความปรารถนาอันดีที่ผู้คนพึงมีต่อกัน สำหรับงานศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 12 ผลงานที่ได้รับรางวัลช้างเผือก ได้แก่ “หนึ่งเดียวกัน” โดย คุณจรัญ พานอ่อนตา รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ “ลูกรักโลก” โดย คุณบุญมี แสงขำ รับเงินรางวัล 500,000 บาท รางวัลคุณหญิงวรรณา ได้แก่ “โลกคือความหลากหลาย” โดย คุณสุรพันธ์ ขวัญแสนสุข รับเงินรางวัล 400,000 บาท รางวัล CEO AWARD ได้แก่ “ด้วยมือเรา” โดย นางสาวนารา วิบูลย์สันติพงศ์ รับเงินรางวัล 250,000 บาท นอกจากนี้ยังมีรางวัลรองชนะเลิศ 5 รางวัล รางวัลละ 200,000 บาท ประกอบด้วย คุณพิพัฒน์ จันทร์ทิพย์ คุณเพชราพร โสภาพ คุณลดากร พวงบุบผา คุณวีระพงศ์ แสนสมพร คุณอนันต์ยศ จันทร์นวล และรางวัลชมเชยอีก 12 รางวัล รางวัลละ 100,000 บาท

คุณนิติกร กรัยวิเชียร ผู้อำนวยการโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การประกวดศิลปกรรมช้างเผือก เกิดจากความตั้งใจอันดีของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฟ้นหาศิลปินไทยรุ่นใหม่ที่มีทักษะความสามารถทางศิลปะอันโดดเด่น ในการสร้างสรรค์ศิลปะแบบเหมือนจริง (Realistic) และศิลปะรูปลักษณ์ (Figurative Art) โดยยึดถือความเหมือนจริงเป็นแก่นสำคัญเพื่อให้ผลงานศิลปะเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สำคัญ ในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านศิลปะร่วมสมัยให้ขยายไปสู่การรับรู้ของสังคมในวงกว้าง การดำเนินการประกวดศิลปกรรมช้างเผือก เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 และดำเนินงานต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นประจำทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2566 นับเป็นการจัดการประกวดครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อ ‘รักโลก’ เพื่อให้ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้แสดงฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ โดยตีความจากโจทย์  ที่กำหนดให้ ซึ่งศิลปินที่เข้าร่วมประกวดแต่ละคน ก็ต่างสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจในรูปแบบและแนวทางที่แตกต่างได้อย่างน่าประทับใจ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

การประกวดครั้งนี้ มีผู้ร่วมส่งผลงานทั้งหมด 270 ท่าน จำนวนผลงานรวม 327 ชิ้น และผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 57 ชิ้นงาน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างหาที่สุดมิได้ ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในการพระราชทานรางวัลตั้งแต่การประกวดครั้งแรกตราบจนปัจจุบัน และขอขอบพระคุณคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ตลอดจนศิลปินผู้ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดทุกคน และจะมุ่งมั่นในการส่งเสริมและสนับสนุนให้วงการศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทยประสบความสำเร็จสืบเนื่องต่อไปในอนาคต”

นอกจากนี้ ไทยเบฟ ยังขยายผลโครงการให้ศิลปินได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานสู่สายตาของกลุ่มคนที่หลากหลาย และวงกว้างขึ้น ในงาน Sustainability EXPO 2023 ซึ่งเป็นมหกรรมด้านความยั่งยืนที่จัดอย่างต่อเนื่องสู่ปีที 4 โดยมีแนวคิดหลักคือ พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก จึงเชื่อว่าผลงานโครงการศิลปกรรมช้างเผือกที่สร้างสรรค์ภายใต้แนวคิด รักโลก ที่จะไปจัดแสดงในครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งเสริมการตระหนักรับรู้ถึงความสำคัญของการสร้างสมดุลโลก เพื่อโลกที่ดีขึ้น ผ่านมิติทุกด้าน รวมถึงด้านศิลปวัฒนธรรม ที่ในแนวทาง Arts for Sustainability ขอเชิญชวนทุกท่าน พบกับนิทรรศการนี้อีกครั้ง ในงาน SX2023 ในวันที่ 29 กันยายน – 8 ตุลาคม 2566

คุณจรัญ พานอ่อนตา ผู้ชนะรางวัลช้างเผือก ครั้งที่ 12 ภายใต้ผลงานชื่อ หนึ่งเดียวกัน เผยว่า “รู้สึกดีใจและเป็นเกียรติมากๆครับ ที่ได้รับรางวัลนี้ถือว่าเป็นเวทีใหญ่ที่สุดในประเทศ ต้องขอขอบคุณบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่ให้โอกาสดีๆกับศิลปินได้สานฝันของตัวเองครับ สำหรับแนวความคิดของผลงานหนึ่งเดียวกัน ที่สื่อออกมาคือ โลกเกิดจากสิ่งว่างเปล่า เกิดจากสิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่าอนุภาคมารวมกัน และเป็นจักรวาล เมื่อถึงเวลาก็จะแตกสลายไป กลายเป็นที่ว่างอีกครั้งครับ ซึ่งผลงานนี้บอกเล่าเรื่องราว โดย ภาพตรงกลางจะมีลิงที่มีตัวเป็นคน บอกเล่าถึงจิตที่เป็นวานร ไม่อยู่นิ่ง ซัดส่ายไปมา ซึ่งก็หมายถึงคน ส่วนอื่นๆภายในภาพจะมีพวกภาพสัตว์ต่าง ๆ เช่น ปลาวาฬ ลิง ช้าง นก แมว  ซึ่งอยู่ร่วมกันและเป็นหนึ่งเดียว โดยจะเห็นว่ามันค่อย ๆ สลาย ปลิวออกไปตามแรงระเบิด หรือแรงความเสื่อมสลาย และจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ว่างเปล่าเหมือนเดิม โดยใช้เทคนิคแนวร่วมสมัย งานใช้สีอะครีลิคบนผ้าใบ โดยใช้ระยะเวลา 2 เดือนในการผลิตชิ้นงานนี้ครับ”

คุณบุญมี แสงขำ ผู้ชนะรางวัลชนะเลิศ ครั้งที่ 12 ภายใต้ผลงานชื่อ ลูกรักโลกเผยว่า “ ผลงานลูกรักโลก ในส่วนของการตีความ เราพยายามดูแลธรรมชาติให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ เราจึงเกิดไอเดียว่า เราควรจะสอนลูก ให้ลูกรู้จักคำว่ารักโลก ให้เขาได้เห็นคุณค่าของธรรมชาติและพยายามฟูมฟักให้รักธรรมชาติครับ รูปแบบชิ้นงานนี้เป็นเทคนิคภาพพิมพ์ เมซโซทินท์ ซึ่งงานมีความละเอียดค่อนข้างสูง แต่ผลงานที่ผมทำค่อนข้างใหญ่ เป็นผลงานชิ้นแรกในชีวิตที่ผลิตใหญ่ขนาดนี้ โดยผมใช้เวลาทำเป็นระยะเวลา 1 ปี ต้องขอขอบคุณเวทีการประกวดศิลปกรรมช้างเผือก ที่เปิดโอกาสให้ศิลปินไทยได้คิด ได้แสดงออก และได้สร้างสรรค์ผลงานที่ดีออกมาครับ

คุณสุรพันธ์ วัญแสนสุ ผู้ชนะรางวัลคุณหญิงวรรณา ครั้งที่ 12 ภายใต้ผลงานชื่อ โลกคือความหลากหลาย เผยความรู้สึกว่า “รู้สึกดีใจมากๆครับ และจะนำเงินรางวัลนี้ไปต่อยอดในการทำงานศิลปะของเราต่อไปสำหรับหัวข้อรักโลกในปีนี้ ผมตีความว่าโลกคือความหลากหลาย มีสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก และทุกสิ่งทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันและได้รับผลกระทบซึ่งกันและกัน ไม่ว่าเราจะทำอะไรต่าง ๆ ย่อมเกิดผลกระทบต่อสิ่งอื่นเสมอ รูปทรงฟิกเกอร์ มันจะไม่ได้เขียนแบบ realistic เพียงแต่อาศัยโครงสร้างความเป็นจริงเข้ามทำงาน สังเกตว่าในรายละเอียดงานของผมในฟิกเกอร์ต่าง ๆ รูปทรงต่าง ๆ ในงาน จะเป็นรูปทรงของพืช ดอกไม้ ใบไม้กระจายอยู่ทั่ว ทุกรูปทรงมีที่มาความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันโดยธรรมชาติเป็นหลักครับ และรูปทรงต่าง ๆ นี้ผมจะใช้เทคนิคการระบายสีอรีลิคลงบนกระดานพลาสวูด ที่มันไหลซึมเข้าหากัน หน่วยเล็ก ๆ อย่างเม็ดสี มันจะเชื่อมโยงกระจายไปทั่วทั้งภาพ ทำให้เกิดเอกภาพภายในงาน ก็เลยเป็นผลงานครั้งนี้ครับ

คุณนารา วิบูย์สันติพงศ์ ผู้ชนะรางวัล CEO AWARD ครั้งที่ 12 ภายใต้ผลงานชื่อ “ด้วยมือเรา” เผยความรู้สึกว่า รู้สึกดีใจมาก ๆ ที่ได้รับรางวัลนี้ค่ะ เพราะคือการเปิดโอกาสให้ชิ้นงานนี้ได้แสดงใน หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ทำให้คนได้เห็นผลงานมากขึ้น และได้รู้จักศิลปินหลายๆท่านที่มาเข้าร่วมประกวด สำหรับชิ้นงาน ด้วยมือเรา ความหมายคือพวกเราทุกคนมีความสำคัญ เพราะมือของเราสามารถทั้งสร้างและทำลายโลกของเราได้ค่ะ เป็นชิ้นงานศิลปะสื่อผสม โดยใช้วัสดุหลากหลายชนิดผสมใน 1 ชิ้นงาน ทั้งพวกดินชนิดต่าง ๆ เรซิ่น เหล็ก และสีหลายอย่าง เลยเรียกว่าสื่อผสม เป็นรูปแบบชิ้นงานประติมากรรม ที่สื่อให้เห็นถึงโลกของเราที่มีความสวยงาม อยากให้คนตระหนักว่าโลกของเราสำคัญต่อมนุษย์มาก และช่วยกันรักษาโลกใบนี้ไว้ค่ะ

 

ทั้งนี้ นิทรรศการ “ศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 12ภายใต้หัวข้อรักโลก ข้าพเจ้านำเรื่องราวความประทับใจในกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวของสังคมชนบทอีสานของตนเอง มาเป็นแรงบันดาลใจ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์วิถี สร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยผ่านเทคนิคกระบวนการเย็บปักเส้นด้าย ร้องเรียงเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ผสานพลังความสามัคคี ก่อเกิดความสุขของการร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ภายใต้การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย สามารถปรับประยุกต์วิถีชีวิตให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างกลมกลืน โดยยึดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ตรัสถึง “ความพอเพียงสร้างได้ก็ต่อเมื่อคนในชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน” เป็นประโยคที่จุดประกายความคิดให้ข้าพเจ้าเล็งเห็นถึงการมีส่วนร่วมจากส่วนรวม เพื่อสร้างสรรค์และสานสัมพันธ์ชุมชนไทยให้ยั่งยืนสืบไปจะเปิดให้ประชาชนเข้าชม ตั้งแต่วันนี้ – 20 กรกฎาคม 2566 (หยุดทุกวันจันทร์) เวลา 10.00-19.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร