AI คือหนทางเดียวที่จะช่วยให้องค์กรสามารถไขรหัสข้อมูลมหาศาล และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม
วันนี้องค์กรกำลังนั่งอยู่บนกองข้อมูลด้านความยั่งยืนปริมาณมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากระบบปฏิบัติการ ข้อมูลเซ็นเซอร์จากโรงงาน เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้มักถูกเก็บไว้บนดาต้าเบส ในไฟล์สเปรดชีท ในหน่วยงานต่างๆ โดยไม่ได้ถูกนำมาประมวลผลเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ใช้งานได้จริง
จากผลการศึกษาองค์กรทั่วโลก ซีอีโอมองว่าการขาดมุมมองเชิงลึกจากข้อมูลที่มีอยู่ คืออุปสรรคที่สำคัญที่สุดที่ทำให้องค์กรไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้
เป้าหมายด้าน ESG จะกลายเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย หากไม่ได้เชื่อมโยงกับข้อมูลการดำเนินงานขององค์กรอย่างแท้จริง
ข้อมูลคือหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาท้าทายด้านความยั่งยืน ไอบีเอ็มใช้ AI ในการช่วยองค์กรแปลงข้อมูลที่มีให้เป็นมุมมองเชิงลึก เพื่อช่วยในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ และในแนวทางที่ยั่งยืนขึ้น
วันนี้ไอบีเอ็มทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ เพื่อร่วมกันพิจารณาว่าในก้าวย่างแห่งเป้าหมายด้านความยั่งยืน แต่ละองค์กรควรเริ่มต้นที่ตรงไหน มุ่งหน้าไปในแนวทางไหน และด้วยวิธีการใด โดยใช้ AI กับระบบงานหลักของธุรกิจ เพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทั้งในแง่ธุรกิจและความยั่งยืน
ปัญหาความท้าทายด้านสภาพอากาศและความยั่งยืนที่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนกำลังประสบ
- อาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมากที่สุด โดยมี 6 ประเทศที่ได้รับความสูญเสียสูงจากภัยด้านสภาพอากาศ ทั้งในแง่เศรษฐกิจและชีวิตผู้คน ประกอบด้วยไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคได้รับผลกระทบมากมาย อาทิ
-
- ประเทศไทย กำลังเผชิญหน้ากับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเมืองหลวงกรุงเทพมหานครที่ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 5 เมตร ผลกระทบจากภัยพิบัติรุนแรงและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ไม่ว่าจะในรูปแบบของน้ำท่วมหรือภัยแล้ง ยังส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนถึง 6% ของ GDP และ 30% ของปริมาณการจ้างงานของประเทศ
- หมอกควันในอินโดนีเซียและมาเลเซีย ไม่ว่าจะเกิดโดยธรรมชาติหรือเกิดจากการเผาป่าที่มักเชื่อมโยงกับการเคลียร์พื้นที่สำหรับปลูกปาล์ม ส่งผลต่อการท่องเที่ยวและสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจให้กับประเทศหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ปัญหาภัยพิบัติที่ฟิลิปปินส์ ดังเช่นพายุฤดูร้อน Ondoy ก่อให้เกิดความเสียหายมูลค่ากว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สิงคโปร์ กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายในหลายรูปแบบ ทั้งข้อจำกัดด้านปริมาณน้ำใช้ การสร้างจิตสำนึกในด้านการปล่อยคาร์บอน การขาดแคลนที่ดิน และการกำจัดขยะ เป็นต้น
- เมื่อเดือนที่ผ่านมา เวียดนามรายงานระดับอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2 องศาเซลเซียส อันนำสู่การแจ้งเตือนการขาดแคลนไฟฟ้า
- แม้ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์และผลกระทบมากมาย แต่ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าความพยายามของกลุ่มประเทศอาเซียนในการบรรเทาปัญหาต่างๆ ยังไม่มากพอต่อการรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF คาดการณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะทำให้ GDP ของภูมิภาคอาเซียนลดลงมากกว่า 11%
- COP28 ถือเป็นไมล์สโตนสำคัญที่ทั้งอาเซียนและทั่วโลกจะต้องหันมาประเมินความก้าวหน้าของตนจากที่ได้ร่วมความตกลงปารีสหรือ Paris Agreement ไว้ตั้งแต่ปี 2563 โดยมีเวลาเหลืออีกเพียง 7 ปีก่อนที่จะถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2573 วันนี้ทุกฝ่ายต้องเร่งหาแนวทางที่จะบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น และต้องเดินหน้าโครงการด้านความยั่งยืนต่างๆ อย่างจริงจัง
การสร้างระบบปฏิบัติการที่ยั่งยืนมากขึ้นไม่ใช่แค่เรื่องที่องค์กรต้องทำเพียงเพราะเป็นเรื่องที่ดีต่อสังคม แต่เป็นวาระสำคัญทางธุรกิจที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญ
- จากผลการศึกษา ซีอีโอที่สำรวจเกือบครึ่ง (48%)มองว่าประเด็นความยั่งยืนเป็นหนึ่งในความจำเป็นเร่งด่วนสูงสุดขององค์กร
- วันนี้ราวสามในสี่ (76%) ของผู้บริหารทั่วโลกที่สำรวจ มองว่า ESG เป็นเรื่องที่มีความสำคัญสูงสุดต่อกลยุทธ์ธุรกิจขององค์กร และผู้บริหาร 7 ใน 10 มองว่า ESG คือหนึ่งในปัจจัยที่ขับเคลื่อนรายได้ให้แก่องค์กร มากกว่าที่จะเป็นภาระทางการเงิน
- องค์กรต่างๆ กำลังมองถึงการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน พร้อมกับลดการเกิดขยะและการปล่อยมลพิษไปด้วยพร้อมกัน
- การจะบรรลุเป้าหมายด้าน ESG ได้นั้น องค์กรต้องไม่มองว่า ESG เป็นเพียงแนวทางในการจัดทำรายงาน แต่ถือเป็น ‘ปัจจัยในการเพิ่มความโปร่งใส’ ให้องค์กร มุมมองเชิงลึกที่เกี่ยวกับ ESG จะช่วยสร้างโอกาสและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร
- เป้าหมายด้าน ESG จะไร้ความหมาย หากไม่ได้เชื่อมโยงกับข้อมูลการดำเนินงานจริง
- ผลการสำรวจพบว่า องค์กร 95% ได้วางแนวทางด้าน ESG ไว้ แต่มีเพียง 10% ที่มีความก้าวหน้าในการดำเนินการอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
- ซีอีโอมองว่าการขาดมุมมองเชิงลึกจากข้อมูลที่มีอยู่ คืออุปสรรคที่สำคัญที่สุดที่ทำให้องค์กรไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้
AI คือหนทางเดียวที่จะช่วยให้องค์กรสามารถไขรหัสข้อมูลมหาศาล และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม
- สองในสามของผู้บริหารด้านไอทีทั่วโลกที่สำรวจ กำลังมองถึงการนำ AI มาใช้เพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนในอนาคตอันใกล้ โดยเฉพาะในแง่การจัดการกับข้อมูลและการรายงานที่ซับซ้อน
- AI ช่วยให้องค์กรสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านความยั่งยืนที่กระจายอยู่ทั่วทั้งองค์กรได้อย่างง่ายดาย และออโตเมทข้อมูลระหว่างระบบปฏิบัติการและโครงการด้านความยั่งยืนต่างๆ ได้ ช่วยให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในแนวทางที่ยั่งยืนขึ้น
AI มีบทบาทสำคัญต่อการลดช่องว่างด้านความยั่งยืนอย่างไรในวันนี้
ตัวอย่างของการนำ AI เข้ามาช่วยต่อกรกับปัญหาด้านความยั่งยืนในปัจจุบัน อาทิ
- ความร่วมมือกับองค์การนาซ่า (NASA)
- ไอบีเอ็มร่วมกับนาซ่าในการพัฒนา foundation model สำหรับภูมิสารสนเทศเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม AI ใหม่ที่ชื่อว่า ai ของไอบีเอ็ม โดยข้อมูลจากนาซ่าจะถูกนำมาใช้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสู่เป้าหมายการติดตามและปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศของโลกที่กำลังเปลี่ยนไป
- แนวทางการใช้งานโมเดลดังกล่าว อาทิ การนำมาช่วยให้ข้อมูลความเสี่ยงด้านสภาพอากาศที่จะมีต่อพืชผล อาคารบ้านเรือน หรือระบบโครงสร้างพื้นฐาน การมอนิเตอร์ป่าสำหรับโครงการการชดเชยคาร์บอน (carbon offset) รวมถึงการพัฒนาโมเดลการคาดการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้องค์ กรสามารถวางกลยุทธ์เพื่อบรรเทาความเสี่ยงและรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปได้
- เครื่องมือ IBM Cloud Carbon Calculator:
- IBM Cloud Carbon Calculator ช่วยให้องค์กรสามารถวัด ติดตาม บริหารจัดการ และรายงานการปล่อยคาร์บอนในด้านที่เกี่ยวกับการใช้ไฮบริดคลาวด์ได้
- เครื่องมือดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มการปล่อยมลพิษและสร้างมุมมองเชิงลึกเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการดำเนินการอย่างทันท่วงที เพื่อจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เชื่อมโยงกับเวิร์คโหลดบนคลาวด์ของตน
- แดชบอร์ด IBM Cloud Carbon Calculator ถือเป็นการต่อยอดเทคโนโลยีด้านความยั่งยืนของไอบีเอ็มที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น IBM Envizi ESG Suite, IBM Turbonomic, IBM Planning Analytics หรือ IBM LinuxONE.
- ความร่วมมือกับ The Reef Company (ประกาศเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา)
- มหาสมุทรครอบคลุมพื้นที่ 70% ของโลกและเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิต 80% บนโลกใบนี้ นอกจากนี้ มหาสมุทรยังผลิตอ๊อกซิเจนถึง 50% ของปริมาณที่เราต้องการ ดูดซึมก๊าซคาร์บอนที่ได้รับการปล่อยออกมาไว้ถึง 25% และกักเก็บความร้อนที่เกิดจากมลพิษเหล่านี้ไว้ถึง 90% มีการคาดการณ์ว่าหากไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง 90% ของปะการังที่มีอยู่จะหมดไปภายในปี 2593
- The Reef Company ได้ร่วมกับ IBM Consulting ในการฟื้นฟูและคืนชีวิตให้กับระบบนิเวศน์ทางทะเล เพื่อคงไว้ซึ่งระบบที่สร้างคุณประโยชน์มหาศาลต่อมนุษย์ ที่รวมถึงการดักจับคาร์บอน
- ความร่วมมือดังกล่าวจะนำสู่การที่สององค์กรร่วมกันมองถึงความเป็นไปได้ในการนำความสามารถของ generative AI อย่าง watsonx และ foundation models ที่ได้รับการฝึกไว้แล้ว เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลจากหลากหลายแหล่ง อาทิ ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลเซ็นเซอร์ใต้น้ำจาก BluBoxxTMรวมถึงข้อมูลย้อนหลังต่างๆ เพื่อระบุแพทเทิร์นและคาดการณ์ภัยคุกคามที่เกิดต่อปะการัง แนวทางแบบ proactive ดังกล่าว จะช่วยให้นักอนุรักษ์สามารถดำเนินการต่างๆ ได้ในเวลาที่เหมาะสม รวมถึงวางกลยุทธ์และการดำเนินการเพื่อบรรเทาสถานการณ์และจัดการทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจะเริ่มโฟกัสที่ประเทศโปรตุเกส แต่ก็ได้มีการมองถึงการขยายวงสู่อาเซียนด้วยเช่นกัน
มุมมองของไอบีเอ็ม: ความยั่งยืนไม่ใช่แค่เรื่องของการลดการปล่อยมลพิษ องค์กรจำเป็นต้องดำเนินการด้านความยั่งยืนแบบ 360 องศา
วันนี้ไอบีเอ็มทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ เพื่อร่วมกันพิจารณาว่าในก้าวย่างแห่งเป้าหมายด้านความยั่งยืน แต่ละองค์กรควรเริ่มต้นที่ตรงไหน มุ่งหน้าไปในแนวทางไหน และด้วยวิธีการใด โดยนำ AI เข้ามาใช้เพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทั้งในแง่ธุรกิจและความยั่งยืน ในมิติต่างๆ อาทิ
- การจัดการและรายงานข้อมูล ESG รวมถึงการบริหารความเสี่ยง
- วันนี้องค์กรจำเป็นต้องผนวกรวมข้อมูลมากกว่า 500 ชนิดเข้าด้วยกัน ในการที่จะจัดทำรายงาน ESG ที่สอดคล้องกับเฟรมเวิร์คที่นานาชาติยอมรับ ซึ่งเป็นรายงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีข้อมูลที่ได้มาตรฐาน และแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานด้าน ESG อย่างแท้จริง
- IBM Envizi เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรสามารถวิเคราะห์ข้อมูล ESG ได้ ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะจัดเก็บอยู่ที่ไหน และสามารถเปลี่ยนข้อมูลเหล่านั้นเป็นมุมมองเชิงคาดการณ์เพื่อใช้ในการวัดความก้าวหน้าของการดำเนินการ โดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานด้านความยั่งยืนต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรลดผลกระทบจากระบบปฏิบัติการของตนที่อาจเกิดแก่สิ่งแวดล้อมได้
- การบริหารจัดการอาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ ระบบ facilities รวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
- ตามข้อมูลจาก UN Environment program อาคารต่างๆ ใช้พลังงานนับเป็นสัดส่วน 40% ของพลังงานทั่วโลก และปล่อยก๊าซเรือนกระจกนับเป็นสัดส่วน 30% วันนี้ไอบีเอ็มได้นำเทคโนโลยี IBM Maximoเข้าช่วยองค์กรคาดการณ์ความเสียหายของอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนที่จะเกิดขึ้น รวมถึงช่วยยืดอายุการใช้งาน และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของสินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญสูง หรือแม้แต่อาคาร
- ผลการศึกษาพบว่า IBM Maximo สามารถลดดาวน์ไทม์ให้องค์กรขนาดใหญ่ในหลายอุตสาหกรรมลงได้ 43% ต่อปี ซึ่งเป็นการช่วยลดการใช้ทรัพยากรและการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็น
- กรีนไอที
- รายงานจาก EY ชี้ให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์ ดาต้าเซ็นเตอร์ และระบบเน็ตเวิร์คต่างๆ ใช้พลังงานถึง 10% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วโลก ซึ่งหมายถึงปริมาณพลังงาน 190 terawatt-hours (190 ล้านล้านวัตต์) ต่อปี ซึ่งมากกว่าปริมาณไฟฟ้าที่รัฐนิวยอร์คทั้งรัฐใช้เสียอีก
- นอกจากการให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบกรีนไอทีอย่าง IBM z16 และ LinuxONE แล้ว ไอบีเอ็มยังได้มองถึงแหล่งพลังงานทางเลือกและการเพิ่มประสิทธิภาพของดาต้าเซ็นเตอร์ รวมถึงการช่วยองค์กรลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยเทคโนโลยี IT operations observability อย่าง IBM InstanaApplication Performance Management (APM) และเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับแอพพลิเคชันต่างๆ อย่าง IBM Turbonomic
- รายงานจาก Forrester report ระบุว่าองค์กรที่ใช้ IBM Turbonomic สามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้คลาวด์ได้ถึง 33% ลดค่าใช้จ่ายในการ refresh ระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีประจำปีได้ถึง 75% และหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่จะเพิ่มขึ้นได้ถึง 70% โดยที่ไม่ได้ทำให้การดำเนินงานของธุรกิจต้องหยุดชะงัก
- เทคโนโลยีการบริหารจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน และการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรธรรมชาติในห่วงโซ่คุณค่า (circularity)
- วันนี้ผู้บริโภคต่างเรียกร้องให้ระบบซัพพลายเชนของผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีความโปร่งใสและบริหารจัดการในแนวทางที่ยั่งยืนขึ้น และกดดันให้องค์กรต้องหันกลับมาพิจารณาระบบซัพพลายเชนของตนว่าตอบโจทย์เหล่านี้หรือไม่
- ไอบีเอ็มได้นำเทคโนโลยี AI เข้าช่วยองค์กรพัฒนาระบบซัพพลายเชนให้มีความยืดหยุ่น โปร่งใส ตรวจสอบย้อนกลับได้ และลดการปล่อยคาร์บอน ผ่านการใช้ intelligent workflows และออโตเมชัน ซึ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถลดปริมาณสินค้าคงคลังลงได้ 18 และลดเวลาที่ต้องใช้ในการตรวจสอบแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์เหลือเพียงหลักวินาทีจากเดิมที่ต้องใช้เวลาหลายวัน
ไอบีเอ็มได้ร่วมกับองค์กรในอาเซียนในการขับเคลื่อนวาระด้านความยั่งยืน อาทิ
- ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย Modern and Universal System International (MUSI) และ Talian Infodinamika ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของไอบีเอ็ม ได้นำ AI เข้าช่วยองค์กรด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียสามแห่ง ที่ตั้งอยู่ที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ให้บริการครอบคลุมประชาชนกว่า 100 ล้านคน ในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบผลิตและจ่ายไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ทั้งสามองค์กรสามารถเดินหน้าสู่การบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน
ระบบที่มีโซลูชัน IBM Maximo Application Suite อยู่เบื้องหลังนี้ ผนวกรวมเทคโนโลยี enterprise asset management (EAM) บนพื้นฐานของ AI ที่ใช้เครื่องมืออนาไลติกส์ก้าวล้ำ ร่วมด้วยข้อมูล IoT ในการช่วยเพิ่มความเสถียรและความสามารถในการทำงานได้ตลอดเวลาของระบบ โดยที่ไม่เกิดการล่ม รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ในองค์กรด้านสาธารณูปโภคชั้นนำ อันเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กรทั้งสามแห่ง
- Growthpoint Properties Australia ที่เป็น investment trust ด้านอสังหาริมทรัพย์บน ASX และ S&P/ASX 200 ตระหนักถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืนผ่านความโปร่งใสด้าน ESG โดย Growthpoint ต้องการแสดงข้อมูลความก้าวหน้าด้านความยั่งยืนให้กับผู้ถือหุ้นและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยข้อมูลที่เชื่อถือได้และมีความเกี่ยวข้องมากที่สุด
Growthpoint ได้เลือกใช้ IBM Envizi เป็นแพลตฟอร์มหนึ่งเดียวสำหรับการผนวกรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมด โดยมีเฟรมเวิร์คครอบคลุม 4 มิติ ประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ คน และธรรมาภิบาล พร้อมกรอบโฟกัส 11 จุด โดยมีเป้าหมายที่วัดได้ทั้งสิ้น 20 รายการ ดังตัวอย่างเฟรมเวิร์คด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในเดือนกรกฎาคม 2568, การรักษาระดับ NABERS Energy ของอาคารออฟฟิศไว้ที่ 5 ดาว, การเปิดเผยข้อมูลก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับ Scope 3 ทั้งหมด, การลดปริมาณขยะลงเฉลี่ย 35% ในอาคารออฟฟิศทุกแห่งที่ Growthpoint เป็นเจ้าของภายในปี 2568
Envizi ช่วยให้ Growthpoint สามารถระบุได้เมื่อมีข้อมูลที่ผิดปกติหรือมีช่องว่างต่างๆ ช่วยลดเวลาและภาระงานในการจัดทำรายงานลงได้อย่างมาก จากการที่ทีมงานไม่ต้องคอยตรวจสอบความผิดพลาดและปัญหาที่พบบนใบแจ้งนี้หลายร้อยรายการในแต่ละเดือนด้วยวิธีแบบแมนวลอีกต่อไป
Envizi ยังช่วยเติมข้อมูลที่ขาดด้วยระบบ smart algorithm ช่วยให้ Growthpoint มั่นใจว่าจะสามารถจัดทำชุดข้อมูลได้สำเร็จแม้ว่าใบแจ้งหนี้บางส่วนจะสูญหาย อีกทั้งยังช่วยให้สามารถอัพโหลดข้อมูลได้โดยตรงและโดยอัตโนมัติ สู่ฐานข้อมูล GRESB ลดเวลาในการอัพโหลดข้อมูลการดำเนินงานเข้าสู่ระบบ survey ของ GRESB ลงได้ครึ่งหนึ่ง
ดู case study ของ Growthpoint เพิ่มเติมได้ที่ https://www.ibm.com/case-studies/growthpoint
- เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 หน่วยงาน Infocomm Media Development Authority หรือ IMDA ของสิงคโปร์ ได้ประกาศหนึ่งในมาตรฐานแรกๆ ของโลกเพื่อช่วยให้ดาต้าเซ็นเตอร์ต่างๆ พัฒนาโร้ดแม็ปในการเพิ่มอุณหภูมิในศูนย์ต่างๆ ให้สูงถึงระดับ 26 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่านั้น
IMDA ระบุว่าระบบเพิ่มความเย็นจะใช้พลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 40% ของของดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วไป โดยหลายดาต้าเซ็นเตอร์เลือกที่จะกำหนดอุณหภูมิไว้ที่ 22 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นความท้าทายด้านพลังงานและการสร้างคาร์บอนฟุตปรินท์สำหรับประเทศในภูมิภาคเขตร้อนที่อากาศอบอุ่น โดยปัจจุบันยังไม่มีแนวปฏิบัติเชิงอุตสาหกรรมที่ให้คำแนะนำว่าการจะเพิ่มระดับอุณหภูมิของดาต้าเซ็นเตอร์ให้สูงขึ้นโดยที่ไม่กระทบระบบปฏิบัติการ สามารถทำได้อย่างไร มาตรฐานใหม่นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโร้ดแม็ปเพื่อสนับสนุนการเพิ่มอุณหภูมิในดาต้าเซ็นเตอร์ต่างๆ ให้สูงถึงระดับ 26 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่านั้น
ภายใต้โครงการดังกล่าว IMDA จะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสร้างความร่วมมือกับองค์กร private-public นานาชาติ รวมถึงไอบีเอ็ม เพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ (best practice) และสนับสนุนการใช้กรีนซอฟต์แวร์
คุณแอ็กเนส เฮฟท์เบอร์เกอร์ General Manager และ Technology Leader ของ IBM AEANZK
“อาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคของโลกที่ต้องรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและความท้าทายด้านความยั่งยืนที่หนักหน่วงที่สุด”
“ไอบีเอ็มได้ทำการสำรวจซีอีโอทั่วโลก รวมถึงในอาเซียน ว่าประเด็นเรื่องความยั่งยืนมีความสำคัญเพียงใด โดยซีอีโอเกือบครึ่งระบุว่าเรื่องความยั่งยืนเป็นหนึ่งในสิ่งที่องค์กรกำลังให้ความสำคัญสูงสุด”
“AI เป็นเครื่องมือเดียวที่จะช่วยจัดการกับข้อมูลมหาศาลที่องค์กรต้องวิเคราะห์เพื่อจัดทำรายงานด้านความยั่งยืน นั่นหมายความว่า AI จะมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กร”
“ไอบีเอ็มเชื่อมั่นอย่างมากว่าองค์กรต้องใช้ AI หากต้องการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน แต่สิ่งที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ได้ตั้งไว้ คือการมองเรื่องนี้แบบครอบคลุม 360 องศา ไม่ใช่การมองแค่เพียงมิติใดมิติหนึ่ง”
คุณอรุณ บิสวัส พาร์ทเนอร์อาวุโสและผู้นำด้านความยั่งยืน ของ IBM Asia Pacific
“ผลการศึกษาล่าสุดของเราชี้ให้เห็นว่า ESG ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของการรายงานหรือปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่างๆ แต่เป็นกลไกที่ช่วยสร้างคุณค่าให้กับองค์กร ความสามารถในการบริหารจัดการ ESG อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลต่อผลประกอบการทางธุรกิจที่ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนการทรานส์ฟอร์มของธุรกิจ”
“อย่างไรก็ดี ความเชื่อถือของผู้บริโภคที่มีต่อข้อมูลด้าน ESG ที่องค์กรต่างๆ ได้เปิดเผยออกมานั้น ได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด”
“ผลวิจัยล่าสุดของเราสะท้อนให้เห็นช่องว่างที่ใหญ่มากระหว่างเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่องค์กรปรารถนาที่จะใปให้ถึง กับความก้าวหน้าของผลการดำเนินการในโลกแห่งความเป็นจริง โดยหนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือการขาดข้อมูลและมุมมองเชิงลึกแบบเรียลไทม์ในการช่วยขับเคลื่อน KPI ด้านความยั่งยืนต่างๆ”
คุณแคทรินา ไอทิน ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน Growthpoint Properties Australia
“ในฐานะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เราต้องการแสดงข้อมูลที่โปร่งใสและเชื่อถือได้เกี่ยวกับการดำเนินการด้านความยั่งยืนของเราแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ถือหุ้น เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถตัดสินใจได้บนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง”
“ข้อมูลเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการดำเนินการด้านความยั่งยืน ช่วยให้เราสามารถตั้งเป้าหมายที่ต้องการไปถึงได้ อีกทั้งยังช่วยให้เราตัดสินใจลงทุนหรือประเมินได้ว่าเราได้บรรลุเป้าหมายแล้วมากน้อยเพียงใด”
“Envizi ผนวกรวมข้อมูลที่ได้รวบรวมจากหลายแหล่ง เข้าสู่แพลตฟอร์มหนึ่งเดียวที่ช่วยให้เราสามารถจัดทำรายงานต่างๆ ได้โดยง่าย Growthpoint ต้องแทร็คข้อมูลของอสังหาริมทรัพย์ราว 60 แห่ง และการทำสิ่งเหล่านี้ด้วยวิธีแมนวลถือเป็นเรื่องท้าทายและเสี่ยงต่อความผิดพลาดมาก”
“Envizi ช่วยให้เราสามารถดึงหรือปรับใช้ข้อมูลได้ไม่ว่าในฟอร์แมตไหน ช่วงเวลาไหน หรือข้อมูลชนิดใด ซึ่งทำให้เราสามารถบริหารจัดการการรายงานข้อมูลตามเกณฑ์ข้อกำหนดต่างๆ ได้”