แบตแบบใหม่ นักวิจัยพัฒนาให้กินได้ เน้นใช้กับของเล่นเด็ก

[เพื่อสุขภาพ ?] แบตฯ ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ช่วยจ่ายพลังงานแห่งอนาคต ที่ทำให้เกิดอุปกรณ์พกพามากมาย และเปลี่ยนชีวิตของทุกคนมานักต่อนักแล้ว แต่จะเป็นอย่างไร หากวันหนึ่งมีแบตฯ ที่จ่ายไฟได้ และกินได้ด้วย

นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งอิตาลี (IIT) ได้พัฒนาแบตฯ แบบใหม่ ซึ่งสามารถกินได้ทั้งหมด หวังใช้งานกับของเล่นสำหรับเด็ก สัตว์เลี้ยง หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิด

ตัวแบตฯ จะประกอบด้วยไรโบฟลาวิน (วิตามินบี 2) เป็นส่วน ขั้วบวก กับเควอซิทินหรือสารต้านอนุมูลอิสระเป็น แอโนด และใช้สาหร่ายทำหน้าที่เป็นตัวแยกไฟฟ้าเพื่อหลีกการลัดวงจร และหน้าสัมผัสทองแดง ก็ใช้เป็นทองคำที่ใช้ปรุงแต่งอาหารแทน เชื่อมต่อกับ อิเล็กโทรด ที่ห่อหุ้มด้วยขี้ผึ้ง

ซึ่งทั้งหมดก็ได้แบตฯ ที่มีแรงดันไฟ 0.65 โวลต์ กับจ่ายไฟได้สูงสุด 48 ไมโครแอมแปร์ (μA) นาน 12 นาที

ตัวแบตฯ ถูกพัฒนาให้สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะถูกใช้สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก สำหรับใช้กับกระบวนการทางการแพทย์ในระยะสั้นได้ หรือแม้กระทั่งของเล่นสำหรับเด็ก

Christopher Grindle ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูกของเด็ก เผยในแต่ละปีที่สหรัฐฯ พบเด็กกว่า 2,500 คน กลืนถ่านกระดุมลงคอ หรือมีถ่านกระดุมติดในหูหรือจมูก

ท้ายนี้มีข้อมูลว่า แบตฯ ที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้นั้น มีอยู่สองวิธีคือ หนึ่งเกิดกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสในร่างกายมนุษย์ และความเป็นพิษของวัสดุที่ใช้ประกอบในแบตฯ ซึ่งกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสนี้ จะเกิดขึ้นหากมีแรงดันไฟมากกว่า 1.2 โวลต์ แต่แบตฯ ในที่นี้มีเพียง 0.65 โวลต์เท่านั้น รวมกับส่วนประกอบที่รับประทานได้ทั้งหมดของตัวแบตฯ

รอดูต่อไปว่า หากพัฒนาจนสำเร็จแล้ว จะนำมาใช้งานได้ขนาดไหน และไม่เป็นอันตรายจริง ๆ ไหมกันครับ

ที่มา : Techspot