James Dyson Award ครั้งที่สองของประเทศไทยเปิดรับสมัครแล้ว วันนี้พร้อมพาไอเดียจากนักประดิษฐ์และวิศวกรรุ่นใหม่ สู่สปอตไลท์ระดับโลก

 

    • เซอร์ James Dyson พร้อมสนับสนุนคนรุ่นใหม่ที่อยากแก้ไขปัญหาระดับโลก ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การออกแบบ และวิศวกรรม
    • ผู้ชนะระดับประเทศจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 200,000 บาท
    • พร้อมโอกาสในการเข้ารอบการประกวดระดับนานาชาติ เงินรางวัลสูงถึง 1,200,000 บาท

กลับมาอีกครั้งกับการประกวดแข่งขันนวัตกรรม James Dyson Award ถือเป็นครั้งที่สองของประเทศไทย หลังจากเปิดตัวเป็นครั้งแรกไปเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา โดยในปีนี้ยังคงคอนเซปต์การออกแบบเชิงวิศวกรรมที่มุ่งเป้าไปสู่ความยั่งยืนเช่นเดิม พร้อมเปิดโอกาสให้นักประดิษฐไทยรุ่นใหม่ ได้โชว์ฝีมือผ่านนวัตกกรมที่แก้ไขปัญหารอบตัว เปิดรับสมัครผลงานแล้ววันที่ 1 มีนาคม 2566 นี้

รางวัล James Dyson Award เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2548 และได้เปิดโอกาสให้นักประดิษฐ์ทั้งที่กำลังศึกษาหรือบัณฑิตจบใหม่ ได้นำเสนอไอเดียที่สามารถแก้ไขปัญหาทุกรูปแบบ ตั้งแต่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจนไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์ โดยเหล่าผู้ชนะจากการประกวดในปีที่ผ่านๆ มาต่างสามารถต่อยอดตัวต้นแบบที่ชนะรางวัลไปสู่นวัตกรรมที่ใช้ได้จริง ตั้งแต่ Plastic Scanner ผู้ชนะเลิศรางวัลด้านความยั่งยืนปี 2021 ที่สามารถพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ไปสู่โซลูชันขั้นสูงสำหรับการรีไซเคิล MarinaTex ผู้ชนะรางวัลระดับประเทศจากสหราชอาณาจักร และ AuREUS ผู้ชนะเลิศรางวัลด้านความยั่งยืนปี 2020 ที่สามารถต่อยดไปสู่การเป็นวัสดุที่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ รวมไปถึง Blue Box ผู้ชนะเลิศรางวัลระดับนานาชาติปี 2020 ที่กลายเป็นอุปกรณ์ตรวจมะเร็งเต้านมอย่างง่าย และ HOPES ผู้ชนะเลิศระดับนานาชาติปี 2021 ที่นำเสนออุปกรณ์ตรวจต้อหินที่สามารถทำได้เองที่บ้าน

โครงการระยะยาวนี้ได้มอบเงินรางวัลให้กับสิ่งประดิษฐ์ 390 ชิ้นตลอดการจัดประกวดที่ผ่านมา โดยกว่า 70% ของผู้ชนะในระดับนานาชาติสามารถนำผลงานไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อย่างยอดเยี่ยม อย่างไรก็ตามโลกของเรายังต้องการไอเดียที่สามารถแก้ไขปัญหา มีพลังในการเปลี่ยนโลกทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและการแพทย์ ตามความเชื่อของผู้ก่อตั้งมูลนิธิ James Dyson Foundation, Sir James Dyson ที่เชื่อว่าคำตอบและแรงขลับเคลื่อนไปสู่โลกที่ดีกว่าอยู่ในตัวของคนรุ่นใหม่

เซอร์ James Dyson, ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ James Dyson กล่าวว่า “เรามองหาวิศวกรรุ่นใหม่ที่มีความุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน สามารถคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้พลังงานและวัสดุน้อยลง รวมถึงมุ่งมั่นในการเปลี่ยนโลกด้วยไอเดียของพวกเขา ผมเชื่อว่าคนรุ่นใหม่มีไอเดียที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกของเราไปในทางที่ดีขึ้นได้ และพวกเขาควรได้รับการสนับสนุน การประกวด James Dyson Award สามารถมอบพื้นที่ให้เค้าได้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์จากไอเดียของพวกเขา และผมจะตั้งตารอผู้เข้ารอบการประกวดในปีนี้ ขอให้ทุกคนโชคดี!”

เซอร์ James Dyson เป็นผู้คัดเลือกผู้ชนะในระดับนานาชาติของทุกๆ ปีด้วยตัวเอง ผู้ที่จะได้รับเงินรางวัลและพื้นที่ประชาสัมพันธ์ผลงานระดับโลก ถือเป็นก้าวแรกที่มีบทบาทอย่างสูงในการนำสิ่งประดิษฐ์ไปต่อยอด 

ผู้ชนะจะได้อะไร ?

  • เงินรางวัล ผู้ชนะรางวัลในระดับนานาชาติจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 1,330,000 บาท และผู้ชนะรางวัลในระดับประเทศจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 222,000 บาทเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพิ่มเติม
  • พื้นที่ประชาสัมพันธ์ผลงาน ผู้ชนะรางวัลในปีที่ผ่านๆ มาต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าโอกาสและพื้นที่การประชาสัมพันธ์ที่ได้จากการชนะรางวัล James Dyson Award เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้สามารถต่อยอดและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ได้อย่างประสบความสำเร็จ

  • การสนับสนุนจากผู้ชนะในอดีต รางวัล James Dyson Award ได้เปิดตัวเครือข่ายผู้ชนะรางวัลในปีที่ผ่านๆ มาเพื่อช่วยสนับสนุนให้ผู้ชนะรุ่นใหม่ได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เชิงพาณิชย์ ผ่านกิจกรรมอย่างงานสัมมนา โอกาสในการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ชนะในปีที่ผ่านๆ มา รวมไปถึงโครงการให้คำปรึกษาโดยผู้ชนะในอดีต 

โดยในแต่ละประเทศที่จัดการประกวดจะมอบรางวัลชนะเลิศในระดับประเทศ 1 รางวัล (เงินรางวัล 222,000 บาท) และรางวัลรองชนะเลิศ 2 รางวัล จากการคัดเลือกโดยคณะกรรมการจาก Dyson โดยเมื่อปีที่ผ่านมา รางวัล James Dyson Award เปิดตัวเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และประเทศตุรกี และในปีนี้จะจัดการประกวดเป็นครั้งแรกในประเทศโปรตุเกส

ผู้ชนะรางวัลในระดับประเทศจะมีคุณสมบัติในการเข้าแข่งขันในระดับนานาชาติโดยอัตโนมัติ โดยเซอร์ James Dyson เป็นผู้คัดเลือกผู้ชนะรางวัลระดับนานาชาติด้วยตัวเอง

ผลงานส่งประกวดที่ดี ควรเป็นอย่างไร?

สิ่งประดิษฐ์ที่ดีที่สุดคือสิ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาที่กระทบกับโลกของเราได้จริง พร้อมนำเสนอโซลูชันที่ชัดเจนและชาญฉลาด โดยผู้ชนะรางวัลระดับประเทศจากประเทศไทยเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมาได้แก่ KomilO ผลงานแอปพลิเคชันจากทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

KomilO คือระบบอัตโนมัติที่ทำหน้าที่ตรวจจับการเป็นสัดของโคนม โดยผสานรวมความสามารถของเทคโนโลยี IoT และเซนเซอร์ กลายเป็นโซลูชันสำหรับเกษตรกรโคนมที่สามารถเพิ่มอัตราการผสมเทียมที่สำเร็จที่จะส่งผลให้สามารถผลิตน้ำนมโคได้มากขึ้น โดยโซลูชันนี้จะเข้ามาแก้ปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดของแรงงานที่ทำให้การผสมพันธุ์โคนมล่าช้า หรือไม่สำเร็จ ซึ่งจากสถิติเผยว่าเกษตรกรโคนมไม่สามารถคาดการช่วงติดสัดของโคนมถึง 126,815 ตัวต่อหนึ่งรอบการติดสัด ซึ่งทำให้สูญเสียโอกาสในการผลิตน้ำนมคาดเป็นมูลค่าประมาณ 266 ล้านบาท

KomilO คือระบบที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของเซนเซอร์ 2 ตัวที่ติดตั้งอยู๋ที่บริเวณโคนหางและใบหูของโคนม โดยข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์นี้จะสามารถคาดการณ์ช่วงเวลาติดสัดของโคนมและแจ้งเตือนเกษตรกรผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน

กฤษกร ลาศรี สมาชิกทีม KomilO กล่าวว่า “พวกเราตื่นเต้นมากเมื่อรู้ว่าการแข่งขัน James Dyson Award มาจัดที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่ผ่านมา และการชนะรางวัลนี้ทำให้พวกเราได้ทั้งความมั่นใจและทุนในการพัฒนาโซลูชันนี้ไปสู่การใช้เงินเชิงพาณิชย์ในอนาคต”   

ผลงานที่ประสบความสำเร็จ

การชนะรางวัล James Dyson Award นอกจากจะได้เงินรางวัลแล้วนั้น ยังได้พื้นที่ในการประชาสัมพันธ์ผลงานที่สามารถขับเคลื่อนไปสู่การต่อยอดเชิงธุรกิจได้ ตัวอย่างเช่น mOm Incubators ตู้อบทารกแรกเกิดแบบราคาประหยัด ผู้ชนะรางวัลในระดับนานาชาติปี 2014 ที่ได้ส่งออกผลิตภัณฑ์กว่า 60 ชิ้นไปยังประเทศยูเครน และในอีก 2 ประเทศ รวมถึงในสหราชอาณาจักรด้วย โดยประเมินว่าผลงานชิ้นนี้ได้ช่วยชิวิตทารกแรกเกิดกว่า 1,000 คน โดยเจ้าของผลงานได้กล่าวไว้ว่า “เราคงไม่สามารถมาถึงจุดนี้ได้หากไม่มี James Dyson Award” 

John Tay เจ้าของผลงาน Rehabit ผู้ชนะรางวัลระดับประเทศ จากสิงคโปร์ ได้แรงบันดาลใจมากจากคุณพ่อผู้ประสบปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการพักฟื้นจากโรคหลอดเลือด ผลงานของ John คือเซ็ตอุปกรณ์ 4 ชิ้นที่ช่วยในการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกายได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยในปัจจุบันเราจะสามารถพบ Rehabit ได้ที่ศูนย์บำบัดหลายแห่งในสิงคโปร์ และในขณะเดียวกันเขาก็กำลังพัฒนาอุปกรณ์ที่มีรูปแบบหลากหลายมากขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงอุปกรณ์นี้ โดย John กล่าวว่า “ตั้งแต่การแข่งขันได้มีนักบำบัดหลายท่านติดต่อมาเพื่อโอกาสในการร่วมงาน นับว่าเป็นพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้ Rehabit ที่ยอดเยี่ยมมาก” 

Dan Watson เจ้าของผลงาน SafetyNet Technologies ดวงไฟสำหรับอุปกรณ์จับปลาเพื่อป้องกันการจับปลาหรือสัตว์ทะเลอื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ ผู้ชนะรางวัลระดับนานาชาติปี 2012 ได้ก่อตั้งบริษัท SafetyNet Technologies หลังจากชนะรางวัลโดยมีจุดมุ่งหมายไปยังการพัฒนาอุตสาหกรรมการประมงให้มีความยั่งยืน นอกจากดวงไฟ LED แล้ว SafetyNet Technologies ยังนำเสนอกล้องวิดีโอใต้น้ำ และเซนเซอร์สำหรับการประมง “SafetyNet เป็นบริษัทระดับโลกแล้ว เราทำงานในทั่วทุกพื้นที่ และกำลังเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการประมง” Dan Watson กล่าว

เมื่อปี 2016 สิ่งประดิษฐ์ SoaPen สบู่ในรูปแบบสีเทียนเพื่อสนับสนุนให้เด็กล้างมือได้รับรางวัลรองชนะเลิศในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาและสามารถเข้าร่วมรายการ Shark Tank และขายสินค้าไปแล้วกว่า 60,000 ยูนิต รวมถึงกำลังพัฒนาสินค้าใหม่ในรูปแบบสีเทียนเขียนตัวเพื่อสนับสนุนให้เด็กอาบน้ำ

James Dyson Foundation

รางวัล James Dyson Award เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นอันยิ่งใหญ่ของเซอร์ James Dyson ที่พิสูจน์ให้เห็นถึงพลังของเหล่านักวิศวกรที่จะเปลี่ยนโลก โดยการประกวดนี้ได้ให้การสนับสนุนสิ่งประดิษฐ์กว่า 390 ชิ้นด้วยการให้เงินรางวัล และดำเนินการโดยมูลนิธิ James Dyson ที่เป็นองค์กรการกุศลที่ได้รับการสนับสนุนจาก Dyson

โดยงานของมูลนิธิ James Dyson คือการส่งเสริมวิศวกรและนักแก้ปัญหารุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่นให้นำความรู้ความสามารถ รวมถึงคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น โดยในปัจจุบัน ทางมูลนิธิได้ให้เงินสนับสนุนมากถึง 140 ล้านปอนด์ เพื่อทะลายกำแพงและขอบเขตทางด้านการศึกษา และเพื่อการกุศลอื่น ๆ

มูลนิธิ James Dyson ก่อตั้งเมื่อปี 2002 เพื่อสนับสนุนงานออกแบบ เทคโนโลยี และผลงานวิชาการด้านวิศวกรรมในสหราชอาณาจักร และระดับนานาชาติใน สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ในปัจจุบันเซอร์ James Dyson และมูลนิธิ James Dyson ได้บริจาคเงินจำนวนกว่า 140 ล้านปอนด์เพื่อการกุศล รวมถึง 12 ล้านปอนด์ให้กับ Imperial College London เพื่อก่อตั้ง Dyson School of Design Engineering และเงินจำนวน 8 ล้านปอนด์ ให้แก่ Cambridge University เพื่อก่อตั้ง Dyson Centre for Engineering Design และตึก James Dyson และอีก 1 ล้านเหรียญสิงค์โปร ให้แก่ Singapore University of Technology and Design เพื่อสร้าง Dyson-SUTD studios ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนธันวาคม โดยเป็นพื้นที่ให้กับนักเรียนนักศึกษาในการทำงานในสภาพแวดล้อมสหสาขาวิชาชีพ ที่จะได้รับคำปรึกษาจากวิศวกรของ Dyson รวมไปถึงพื้นที่ในท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนเพื่อนการมีส่วนร่วมในการอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านวิศวกรรม

ในระดับโรงเรียน มูลนิธิ James Dyson ได้มีการเสนอให้ตัวต้นแบบในการอบรมเชิงปฏิบัติการ และจัดหาทรัพยากรทางการศึกษาให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งรวมถึงโซลูชันที่เพิ่งปล่อยล่าสุด คือ Engineering Solutions: Air Pollution เพื่อแนะนำให้คนรุ่นใหม่รู้จักกับมลพิษทางอากาศ และหน้าที่ของวิศวกรรมในการแก้ไขปัญหา

สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของมูลนิธิได้ที่ เว็บไซต์, Instagram, Twitter, และ YouTube

ผู้ชนะเลิศในปีที่ผ่านมา

คือเซนเซอร์สำหรับผ้าปิดแปลที่สามารถบอกสภาพของแผลด้วยการตรวจวัดค่า pH คิดค้นโดยนักศึกษาจาก Warsaw University of Technology.

เครื่องจักรที่สามารถรีไซเคิลขวดพลาสติกให้เป็นเส้นใยพลาสติกสำหรับ 3D printer ในราคาที่จับต้องได้สำหรับประเทศกำลังพัฒนา คิดค้นโดยนักศึกษาจาก McMaster University

เครื่องมือที่สามารถตรวจความดันของตาได้ที่บ้านโดยไม่สร้างความเจ็บปวด และเป็นการเปิดการเข้าถึงการตรวจโรคต้อหินในตาได้ โดยนักศึกษาจาก National University of Singapore

อุปกรณ์ในการระบุพลาสติกสำหรับรีไซเคิลที่ราคาถูกและมีขนาดพกพาได้ง่าย โดย Jerry de Vos จาก TU Delft

เครื่องมือเพื่ออุดแผลที่เลือดไหลเพื่อช่วยชีวิตสำหรับเหยื่อที่โดนแทง โดย Joseph Bentley จาก Loughborough University

เกี่ยวกับการประกวด

โจทย์

ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยปัญหานี้อาจเป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันหรือเป็นปัญหาระดับโลกก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือวิธีการแก้ปัญหาต้องมีประสิทธิภาพและแสดงให้เห็นถึงการคิดเชิงออกแบบ

ขั้นตอนการตัดสิน

ผู้เข้าประกวดจะถูกคัดเลือกในระดับประเทศโดยคณะกรรมการอิสระและวิศวกรจาก Dyson โดยในแต่ละประเทศจะเฟ้นหาตัวแทนเพื่อหาผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งและรองชนะเลิศสองอันดับ จากนั้นวิศวกรจาก Dyson จะทำการคัดเลือก 20 ผู้เข้ารอบในระดับประเทศเพื่อทำการคัดเลือกต่อไปในระดับนานาชาติ ซึ่งผลงานจากผู้เข้ารอบทั้ง 20 โครงการจะได้รับการพิจารณาโดย James Dyson เพื่อคัดเลือกหาผู้ชนะในระดับนานาชาติต่อไป

รางวัล

  • รางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติ คัดเลือกโดย James Dyson รับเงินรางวัลสูงสุดมูลค่า 1,330,000 บาท*
  • รางวัลรองชนะเลิศระดับนานาชาติ รับเงินรางวัลมูลค่า 222,000 บาท*
  • รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ รับเงินรางวัลมูลค่า 222,000 บาท*

หมดเขตรับสมัคร: วันที่ 19 กรกฎาคม 2566

ขั้นตอนการสมัคร

ผู้เข้าแข่งขันสมัครประกวดแข่งขันผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ภายในเว็บไซต์ James Dyson Award

โดยผู้เข้าแข่งขันต้องอธิบายว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นคืออะไร วิธีการทำงานเป็นอย่างไร และกระบวนการพัฒนาสิงประดิษฐ์นั้นๆ โดยสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการตอบรับดีจะต้องแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ได้จริง และต้องสามารถอธิบายถึงที่มาที่ไปได้อย่างชัดเจน พร้อมแสดงกระบวนการทดลองและพัฒนา และแสดงหลักฐานในการพัฒนาต้นแบบในรูปแบบภาพและวิดีโอ

*กรรมการจะพิจารณาข้อจำกัดในการสร้างต้นแบบสิ่งประดิษฐ์อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19*

เกณฑ์ผู้เข้าแข่งขัน

ผู้เข้าแข่งขันต้องกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการแข่งขัน James Dyson Award หรือจบการศึกษาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 4 ปีในคณะวิศวกรรม หรือคณะด้านการออกแบบ  

ในกรณีที่เข้าแข่งเป็นทีม สมาชิกในทีมทุกคนจะต้องศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมแข่งขัน James Dyson Award หรือจบการศึกษาไม่เกิน 4 ปี โดยต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 1 คนที่ศึกษาหรือจบการศึกษาไม่เกิน 4 ปีจากคณะวิศวกรรมหรือคณะด้านการออกแบบ 

สามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม และคำถามที่พบบ่อยได้ที่เว็บไซต์ James Dyson Award