ผลการศึกษานักลงทุนทั่วโลกปี 2022 โดย Schroders พบว่า นักลงทุนในประเทศไทยยังคงคาดหวังผลตอบแทนการลงทุนที่สูงขึ้น แม้ว่า ภาวะเศรษฐกิจจะมีความท้าทายยิ่งขึ้นมาโดยตลอด
ผลการศึกษาที่สำคัญของ Schroders ที่สำรวจผู้คนที่ลงทุนเกือบ 24,000 คน ใน 33 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย พบว่านักลงทุนไทยคาดหวังผลตอบแทนการลงทุนที่ 12.66% (เทียบกับ 12.22% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 11.37% ทั่วโลก) ทั้งนี้ผลสำรวจจากนักลงทุนทั่วโลกยังแสดงให้เห็นว่าเมื่ออัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยเริ่มขยับสูงขึ้น ความคาดหวังของผู้คนในเรื่องผลตอบแทนการลงทุนจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลงกว่าเมื่อก่อน
การเปลี่ยนนโยบายเมื่อคำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อ
เป็นที่น่าสนใจว่า นักลงทุนไทยที่จัดให้ความรู้เรื่องการลงทุนของตนเองเป็นระดับ ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ จำนวน 81% (เทียบกับ 85% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 80% ทั่วโลก) ระบุว่า พวกเขาได้เปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนเพื่อให้สอดคล้องต่อสภาวะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับนักลงทุนไทยทั่วไปโดยเฉลี่ยจำนวน 64% (เทียบกับ 60% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 55% ทั่วโลก)
ในทางตรงกันข้าม นักลงทุนไทยที่นิยามตนเองว่าเป็นมือใหม่ประมาณ 47% (เทียบกับ 40% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 29% ทั่วโลก) และนักลงทุนไทยที่มีความรู้การลงทุนในระดับเบื้องต้นอีก 28% (เทียบกับ 36% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 27% ทั่วโลก) ที่เปลี่ยนกลยุทธ์ในการลงทุน เมื่อคำนึงถึงความท้าทายเรื่องเงินเฟ้อ
การใช้ความระมัดระวัง และการมุ่งกระจายความเสี่ยง
นักลงทุนจำนวนมากในประเทศไทยกำลังเลือกลงทุนอย่างระมัดระวังเพื่อลดความเสี่ยงในสภาพตลาดที่ยังมีความผันผวนและไม่แน่นอน โดยจำนวน 49% (เทียบกับ 46% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 42% ทั่วโลก) มีแนวโน้มที่จะกระจายความเสี่ยงภายในพอร์ตโพลิโอของตนเอง (portfolio) และอีก 49% เหมือนกัน (เทียบกับ 41% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทั่วโลก) ที่หันมาลงทุนในคริปโตเคอเรนซี่(cryptocurrencies) ในขณะเดียวกัน นักลงทุนไทยประมาณ 46% (เทียบกับ 50% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 43% ทั่วโลก) ต่างก็มุ่งเก็บออมมากขึ้น และลดการใช้จ่ายให้น้อยลง
ปฏิบัติการสามลำดับแรกที่นักลงทุนในเอเชียตะวันออกฉียงใต้มีแนวโน้มที่จะดำเนินการเมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในภาวะขาขึ้น
นอกเหนือจากนั้น นักลงทุนไทยจำนวน 68% (เทียบกับ 65% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 61% ทั่วโลก) ยังวิตกกังวลกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลต่อการลงทุนของเขา
65% ของนักลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กังวลกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการลงทุน
การมองหาธีมการลงทุนกำลังเติบโตขึ้นในหมู่นักลงทุนทั้งหลาย โดยนักลงทุนไทยจำนวน 60% (เทียบกับ 58% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 57% ทั่วโลก) กระตือรือร้นที่จะจัดสรรการลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยี ในทำนองเดียวกัน ความยั่งยืนก็ยังคงเป็นธีมการลงทุนที่สำคัญ โดยมีนักลงทุนในประเทศไทยจำนวน 55% (เทียบกับ 54% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 52% ทั่วโลก) ให้ความสนใจในธีมการลงทุนแบบยั่งยืน นอกจากนั้น จำนวน 55% (เทียบกับ 47% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทั่วโลก) เลือกการลงทุนในคริปโตเคอเรนซี่
ธีมการลงทุนสามลำดับแรกของ 4 ประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความต้องการคำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญ
จากผลการวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่า ผู้คนมีแนวโน้มจะหันไปพึ่งผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำและปรึกษาเรื่องการลงทุนในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนนี้ โดยนักลงทุนในประเทศไทยจำนวน 45% (เทียบกับ 43% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 39% ทั่วโลก) จะปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงิน หรือผู้เชี่ยวชาญในการลงทุนเมื่ออัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น
นอกจากนี้ นักลงทุนที่ระบุว่าตนเองมีความชำนาญในการลงทุน ก็ มีแนวโน้มที่จะหันไปหาผู้จัดการกองทุนที่เชี่ยวชาญเชิงรุกมากกว่าเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว เช่น นักลงทุนมืออาชีพ ในประเทศไทย จำนวน 61% % (เทียบกับ 60% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 63% ทั่วโลก) และนักลงทุนที่มองว่าตัวเองมีความชำนาญสูงจำนวน 55% % (เทียบกับ 53% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 51% ทั่วโลก) เห็นว่ากองทุนเชิงรุกดึงดูดความสนใจได้มากกว่า
ลิลี่ โช (Lily Choh) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Schroders สิงคโปร์ได้กล่าวไว้ว่า:
“อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นเรื่องที่อยู่ในใจอันดับแรกของนักลงทุนส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ หลังจากที่เผชิญกับอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์มานานกว่าทศวรรษ เมื่ออัตราดอกเบี้ยปัจจุบันไต่สูงขึ้นจึงเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลใจเป็นอย่างมาก ในฐานะผู้จัดการเงินลงทุนเชิงรุก บทบาทของเราจึงมีความสำคัญเพิ่มขึ้นในการนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ามาช่วยนักลงทุน ด้วยการให้คำแนะนำการลงทุนและการบริหารความเสี่ยงของการลงทุน ตลอดจนการกระจายความเสี่ยง และการใช้ประโยชน์จากทุกโอกาสที่มี”
“ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายนี้ ผลการศึกษายังพบอีกว่า นักลงทุนในประเทศไทยจำนวน 58% ยอมรับว่าผลตอบแทนการลงทุนส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพจิตใจของเขา ซึ่งยิ่งตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญที่ผู้จัดการเชิงรุกพึงมีในการช่วยเหลือลูกค้าของเราในช่วงเวลาที่ตลาดมีความผันผวน และความไม่แน่นอนสูง”
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษานักลงทุนทั่วโลก โปรดคลิกที่นี่ ซึ่งมีข้อมูลสำคัญของผลการสำรวจในประเทศไทยด้วย