สหรัฐแก้ไขปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย ด้วยการสร้างบ้าน “BioHome3D” ที่ทำจากเส้นใยไม้และไบโอเรซินทั้งหมด
ศูนย์โครงสร้างและคอมโพสิตขั้นสูงของมหาวิทยาลัย (ASCC) ได้สร้างบ้านด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติหลังแรกที่ทำจากเส้นใยไม้และเรซินชีวภาพ สามารถรีไซเคิลได้ 100% แทนการใช้วิธีการก่อสร้างแบบเดิมที่ต้องใช้คอนกรีตหรือดินเหนียวเป็นจำนวนมาก
ตัวบ้านไม่ว่าจะเป็นพื้น ผนัง และหลังคาผลิตจากเครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติทั้งหมด มีพื้นที่ 600 ตารางฟุต สร้างเสร็จภายในภายในวันเดียว ลดปัญหาการใช้เวลาก่อสร้างไปได้เยอะ ที่ปกติแล้วการสร้างบ้านแบบปกติต้องใช้เวลานานถึงสัปดาห์หรือเป็นเดือน แถมโครงสร้างติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ที่ติดตามข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม อุณหภมิ และสภาพอากาศได้แบบแม่นยำ
ASCC เผยว่าบ้าน BioHome3D จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันมีความต้องการสูงขึ้นหลายเท่าตัว ด้วยลดการใช้วัสดุและแรงงานคนที่จำเป็นออก แถมคนในประเทศยังสามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ในราคาที่ย่อมเยามากขึ้น
ที่สำคัญการผลิตบ้านด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดมลพิษทางอุตสาหกรรมได้ในระดับหนึ่ง ที่หลาย ๆ บริษัทก็เริ่มหันมาใส่ใจปัญหาโลกร้อนกันมากขึ้นนั้นเอง บ้านหลังนี้ก็ถือว่าตัวเลือกใหม่ในปัจจุบันที่ตอบโจทย์คนในยุคปัจจุบัน
คลิปเปิดตัว >> BioHome3D
ที่มา : 3dprint
#เครื่องพิมพ์3มิติ #BioHome3D #TechhubUpdate