รางวัล James Dyson Award 2022 นวัตกรรมที่ออกแบบเพื่อเกษตรกร

ทีมนักออกแบบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี

KomilO ระบบตรวจจับอาการเป็นสัดในโคนมแบบอัตโนมัติ ช่วยลดอัตราการผสมเทียมผิดพลาด ผลงานจากนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  

  • อุตสาหกรรมผลผลิตจากโคนมในตลาดโลกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะมีมูลค่ามากถึงหนึ่งพันสองร้อยล้าน ดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2569
  • หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนมที่สามารถผลิตได้คืออัตราสำเร็จในการผสมเทียมโคนม
  • ในประเทศไทย หนึ่งในปัญหาของเกษตรกรโคนมคือการไม่สามารถตรวจจับอาการเป็นสัดในโคนมได้อย่างแม่นยำส่งผลให้เกิดการผสมเทียมผิดพลาด
  • ในประเทศไทย คาดการณ์ว่าการผสมเทียมโคนมผิดพลาดทำให้เกษตรกรเสียรายได้ประมาณ 266 ล้านบาทต่ออาการติดสัด 1 รอบในช่วงระยะเวลา 21 วัน

นวัตกรรมของผู้ชนะรางวัล James Dyson Award ทีมแรกในประเทศไทย มุ่งเป้าไปที่การลดข้อผลพลาดในการตรวจจับอาการติดสัดในโคนมโดยใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อเพิ่มอัตราการสำเร็จของการผสมเทียมในโคนมที่จะส่งผลให้การผลิตน้ำนมมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

KomilO (โคมิโล) คือชื่อของระบบปฏิบัติการที่มีส่วนประกอบเป็นเซนเซอร์ 2 จุด ที่ติดตั้งบนตัวโคนม จุดแรกที่บริเวณหู และจุดที่สองบริเวณโคนหางเพื่อตรวจจับพฤติกรรมของโคนม ทำให้สามารถคาดการณ์รอบของการเป็นสัดในโคนมได้อย่างแม่นยำโดยอาศัยเทคนิคแมชชีนเลิร์นนิง และเพื่อให้เกษตรกรสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างสะดวกสบายระบบนี้ยังเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันซึ่งจะช่วยเก็บข้อมูลเฉพาะของโคนมแต่ละตัว จัดการเซนเซอร์ รวมถึงแจ้งเตือนเกษตรกรเมื่อโคนมมีอาการติดสัดและพร้อมสำหรับการผสมเทียม

ทีมผู้ออกแบบ KomilO ประกอบด้วยสมาชิกนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล จำนวน 6 คน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี จุดมุ่งหมายของของนักออกแบบรุ่นใหม่เหล่านี้คือการสร้างโซลูชันที่ใช้ง่ายและสามารถเข้าถึงได้เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำนมของเกษตรกรไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและจำนวนมากขึ้น

โดยทีมผู้ออกแบบ KomilO กล่าวว่า “โปรเจกต์นี้เริ่มจากความสนใจของพวกเรา แต่กลายเป็นว่ากลายเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึงเลยว่าจะทำให้เราเป็นทีมผู้ชนะรางวัล James Dyson Award ครั้งแรกในประเทศไทย ทำให้เรามั่นใจและมีกำลังใจในการจะพัฒนา KomilO ให้กลายเป็นโซลูชันที่จะสามารถช่วยพัฒนาด้านการเกษตรโคนมของประเทศไทยได้”

โดยรางวัลชนะเลิศระดับชาติจะทำให้โปรเจกต์ KomilO ได้รับเงินรางวัลจำนวน 222,000 บาทเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาต่อไป “เราตื่นเต้นมากตอนที่รู้ว่า James Dyson Award จัดการแข่งขันในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และตื่นเต้นกว่าเดิมอีกตอนที่รู้ว่าพวกเราได้รับรางวัลชนะเลิศ เรารู้สึกว่ารางวัลนี้ให้กำลังใจกับพวกเรา รวมไปถึงเงินทุนในการพัฒนาโซลูชันนี้จนไปถึงขั้นใช้จริง นอกจากนั้นระหว่างทางที่พวกเราได้แก้ไขปัญหา ระดมความคิด และค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ทำให้เราได้พัฒนาศักยภาพในการเป็นนักออกแบบด้วยเช่นกัน”

KomilO จะเป็นตัวแทนจากประเทศไทยในการประกวดรางวัล James Dyson Award ระดับนานาชาติ ซึ่งผู้เข้ารอบในการประกวดระดับนานาชาติจะประกาศในวันที่ 12 ตุลาคมนี้

ทีมผู้ออกแบบกำลังพัฒนาโปรเจกต์ KomilO เพื่อต่อยอดให้สามารถนำไปใช้จริงได้

ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศ The Amazing Hearing Devices or AHDs

ปัญหา: ในปี 2564 มีจำนวนผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินจำนวนประมาณหนึ่งพันห้าร้อยล้านคนทั่วโลก และคาดว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นสองพันห้าร้อยล้านคนภายในปี 2573 ตามรายงานของ WHO (2021) ซึ่งอัตราส่วนของคนที่สามารถเข้าถึงเครื่องช่วยฟังที่มีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยเกิดจากการออกแบบเครื่องช่วยฟังที่ไม่สามารถใช้ได้สำหรับทุกคน ตัวอย่างเช่น คนที่ใส่แว่นจะไม่สามารถใส่เครื่องช่วยฟังได้ รวมไปถึงการขาดแคลนเครื่องช่วยฟังที่มีน้ำหนักเบาหรือเครื่องช่วงฟังแบบไม่รุกล้ำ

โซลูชัน: AHDs คือเครื่องช่วยฟังที่มุ่งเป้าไปที่การออกแบบให้สามารถเข้าถึงง่าย นำเสนอเครื่องช่วยฟังที่ใส่สบายและนำเสนอประสบการณ์ที่เป็นมิตรกับผู้ใส่โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด นอกจากนั้นยังมาพร้อมกับที่คาดหัวเพื่อใช้สำหรับการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวเยอะ

Aeolus

ปัญหา: จากงานวิจัยระบุว่าประชากรโลกจำนวน 17% ประสบปัญหาเรื่องการนอนหลับโดยมีสาเหตุมาจากหมอนที่ไม่เหมาะสม ซึ่งนอกจากสิ่งนี้จะทำให้การนอนแบบมีคุณภาพน้อยลงแล้ว ยังสามารถนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพที่ร้ายแรงมากขึ้น เช่น โรคเกี่ยวกับหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต และภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ ในขณะที่ร่างกายของมนุษย์เราแตกต่างกันอย่าชัดเจน แต่หมอนในท้องตลาดที่สามารถปรับให้เข้ากับร่างกายได้ยังมีอยู่น้อยมาก 

โซลูชัน: Aeolus คือหมอนแบบปรับตามความต้องการโดยอาศัยแอปพลิเคชันในการปรับขนาดเพื่อทำให้การนอนแบบมีคุณภาพสามารถเข้าถึงได้ ออกแบบมาให้ใช้การตรวจจับจุดกดทับเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับท่าของการวางศีรษะและการวิเคราะห์คุณภาพการนอนหลับโดย แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาเสริม ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจะถูกวิเคราะห์และนำเสนอแก่ผู้ใช้ว่าการปรับหมอนแบบไหนจะส่งผลดีกับคุณภาพการนอนมากที่สุด หมอน Aeolus มีระบบควบคุมอากาศที่ประกอบด้วยปั๊มลมและหน่วยประมวลผลทำให้สามารถปรับความสูงของหมอนจนถึงระดับที่ทำให้หลับสบายที่สุดได้ ทำให้ส่งผลดีต่อร่างกายในระยะยาว 

James Dyson Award

รางวัล James Dyson Award เป็นหนึ่งในความุ่งมั่นของเซอร์เจมส์ ไดสัน ในการแสดงให้เห็นถึงพลังของวิศวกรรมที่สามารถเปลี่ยนโลกได้ โครงการต่าง ๆ ของเซอร์เจมส์ ไดสัน ได้แก่ สถาบันวิศวกรรมและเทคโนโลยีของ Dyson, มูลนิธิ James Dyson Foundation, และการประกวด James Dyson Award ที่สนับสนุนให้วิศวกรใช้ความรู้ในการค้นหาหนทางที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นผ่านเทคโนโลยี ปัจจุบันเจมส์ ไดสันได้มอบเงินทุนกว่า 140 ล้านปอนด์แก่การศึกษาในคอนเซปต์ที่แปลกใหม่รวมไปถึงโครงการด้านการกุศลอื่น ๆ 

James Dyson Award ที่ดำเนินงานโดยมูลนิธิ James Dyson Foundation ได้สนับสนุนเงินรางวัลแก่สิ่งประดิษฐ์กว่า 300 โครงการ โดยมูลนิธิมุ่งเน้นสนับสนุนการศึกษาด้านวิศวกรรมดำเนินงานด้วยเงินสนับสนุนจาก Dyson

มูลนิธิ James Dyson Foundation

รางวัล James Dyson Award คือการแข่งขันด้านการออกแบบระดับนานาชาติประจำปีที่เปิดรับนักศึกษาหรือศิษย์เก่าด้านการออกแบบและวิศวกรรมมาร่วมแข่งขัน นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการในปีพ.ศ. 2548 รางวัลดังกล่าวได้ให้ทุนสนับสนุนการประดิษฐ์เชิงพาณิชย์แก่สิ่งประดิษฐ์กว่า 300 รายการ โดยรางวัล James Dyson Award อยู่ภายใต้มูลนิธิ James Dyson ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลในระดับนานาชาติจากผลกำไรของ Dyson ที่มุ่งมั่นสนับสนุนวิศวกรรมศาสตร์และการศึกษา

โดยพันธกิจหลักของมูลนิธิคือการส่งเสริมวิศวกรและนักแก้ปัญหารุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่นให้นำความรู้ความสามารถ รวมถึงคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น ปัจจุบัน James และมูลนิธิ James Dyson ได้บริจาคเงินกว่า 140 ล้านปอนด์ให้แก่แนวคิดใหม่ๆ ในด้านการศึกษาและการกุศลอื่นๆ รวมไปถึงการสนับสนุนเงินถึง 12 ล้านปอนด์ให้แก่ Imperial College London เพื่อก่อตั้ง Dyson School of Design Engineering และเงินจำนวน 8 ล้านปอนด์ ให้แก่ Cambridge University เพื่อก่อตั้ง Dyson Centre for Engineering Design และตึก James Dyson

นอกจากที่มูลนิธิ James Dyson จะมีการสอนด้านสะเต็มศึกษา (STEM Education) โดยวิศวกรของ Dyson แล้วยังเป็นแหล่งข้อมูลด้านการศึกษาฟรีอีกด้วย ซึ่งรวมถึงการเปิดตัว Engineering Solutions: Air Pollution ล่าสุดที่แนะนำให้คนหนุ่มสาวเรียนรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศและบทบาทของวิศวกรรมในการหาแนวทางแก้ไข

นอกจากนี้ มูลนิธิยังสนับสนุนงานวิจัยทางการแพทย์และชุมชนท้องถิ่นในเมือง Malmesbury ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงาน Dyson ในสหราชอาณาจักรอีกด้วย มูลนิธิเริ่มก่อตั้งศูนย์มะเร็ง Dyson Cancer Centre ณ โรงพยาบาล Royal United ในเมือง Bath พร้อมให้การสนับสนุนด็อกเตอร์ Claire Durrant ในฐานะ Race Against Dementia Dyson Fellow ในการเร่งหาวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่ดีกว่าอย่างต่อเนื่อง

ผู้ชนะในปีที่ผ่านมา

เครื่องมือตรวจแรงดันในลูกตาที่สามารถช่วยตรวจโรคต้อหินที่สามารถทำได้ที่บ้านและไม่เจ็บปวด, ผลงานโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS)

เครื่องมือราคาย่อมเยา ที่สามารถตรวจสอบชนิดของพลาสติกเพื่อการรีไซเคิล, ผลงานโดย Jerry de Vos จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Delft (TU Delft)

เครื่องมือที่ช่วยหยุดการไหลของเลือดเพื่อช่วยเหยื่อจากการถูกแทง, ผลงานโดย Joseph Bentley จากมหาวิทยาลัยลัฟบะระ (Loughborough university)

ผลงานโดย Judit Giró Benet อายุ 23 ปี, Blue Box คือวิธีตรวจสอบมะเร็งเต้านมแบบใหม่ที่ทำได้ที่บ้าน โดยใช้ตัวอย่างปัสสาวะและ AI algorithm

ผลงานโดย Carvey Ehren Maigue อายุ 27 ปี, AuREUS คือวัสดุชนิดใหม่ที่ทำจากขยะทางเกษตรกรรมที่สามารถเปลี่ยนแสง UV ให้กลายเป็นพลังงานได้

เกี่ยวกับการประกวด

โจทย์

ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยปัญหานี้อาจเป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันหรือเป็นปัญหาระดับโลกก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือวิธีการแก้ปัญหาต้องมีประสิทธิภาพและแสดงให้เห็นถึงการคิดเชิงออกแบบ

ขั้นตอนการตัดสิน

ผู้เข้าประกวดจะถูกคัดเลือกในระดับประเทศโดยคณะกรรมการอิสระและวิศวกรจาก Dyson โดยในแต่ละประเทศจะเฟ้นหาตัวแทนเพื่อหาผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งและรองชนะเลิศสองอันดับ จากนั้นวิศวกรจาก Dyson จะทำการคัดเลือก 20 ผู้เข้ารอบในระดับประเทศเพื่อทำการคัดเลือกต่อไปในระดับนานาชาติ ซึ่งผลงานจากผู้เข้ารอบทั้ง 20 โครงการจะได้รับการพิจารณาโดย James Dyson เพื่อคัดเลือกหาผู้ชนะในระดับนานาชาติต่อไป

รางวัล

  • รางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติ คัดเลือกโดย James Dyson รับเงินรางวัลสูงสุดมูลค่า 1,330,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศระดับนานาชาติ รับเงินรางวัลมูลค่า 222,000 บาท
  • รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ รับเงินรางวัลมูลค่า 222,000 บาท

การเข้าร่วม

ผู้สนใจสามารถยื่นใบสมัครเข้าร่วมการแข่งขันผ่านทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของรางวัล James Dyson

โดยผู้สมัครจะต้องอธิบายเกี่ยวกับนวัตกรรม รวมถึงกลไลการทำงาน และขั้นตอนในการพัฒนาโครงการ ซึ่งผู้สมัครที่สามารถแสดงให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน รวมถึงมีหลักฐานการทดลองผลิตสินค้าต้นแบบผ่านรูปภาพหรือวิดีโอ นอกจากนี้คณะกรรมการจะพิจารณาเป็นกรณีไปหากมีข้อจำกัดในการทดลองสินค้าต้นแบบระหว่างขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื่องจากวิกฤตการณ์โควิด-19

เกณฑ์การรับสมัคร

ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติเป็นนักศึกษาหรือบัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 4 ปีที่กำลังศึกษาอยู่หรือเคยศึกษาอย่างน้อยหนึ่งภาคเรียนในคณะวิศวกรรมและคณะด้านการออกแบบจากมหาวิทยาลัยในประเทศหรือในภูมิภาคที่ผู้สมัครเลือกเข้าร่วมประกวด