Home Blog

โหลดฟรี แอปเช็คพาร์กินสัน ใช้ AI แม่นยำถึง 90%

เปิดตัวแอปใหม่ สายสุขภาพ “Check PD” แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน ที่แม่นยำถึง 90%

แอป Check PD พัฒนาโดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมมือกับสภากาชาดไทยเพื่อใช้ตรวจหาความเสี่ยงการเป็นพาร์กินสัน หลังพบสถิติคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นและยังพบในคนอายุต่ำกว่า 60 ปี

รศ. นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า แอปพลิเคชัน Check PD เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยในการวินิจฉัยกลุ่มอาการโรคพาร์กินสัน

การตรวจพบโรคพาร์กินสันตั้งแต่ระยะแรกของการดำเนินโรค มีความสำคัญต่อการวางแผนการรักษา และการดูแลที่เหมาะสม

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่ไม่ได้แสดงอาการทันที แต่มีระยะเวลาของการเตือนและระยะเวลาของการดำเนินโรคที่ค่อนข้างนาน เฉลี่ยนานถึง 10-20 ปี โดยอาการที่ชัดเจนคืออาการสั่น ส่วนอาการเตือนอื่นๆ เช่น อาการท้องผูกเรื้อรัง อาการนอนละเมอ ออกท่าทางหรือออกเสียงที่สัมพันธ์กับเนื้อหาความฝัน ฯ มักถูกมองว่าไม่ใช่อาการผิดปกติ ทำให้ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวไม่คิดว่าตนเองเป็น จึงไม่ได้พบแพทย์และเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

นอกจากผู้สูงอายุที่ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงหลักแล้ว ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ก็ถือเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน จากสถิติที่พบว่าปัจจุบันแนวโน้มผู้ป่วยโรคพาร์กินสันพบในผู้ป่วยอายุน้อยลง และพาร์กินสันเป็นโรคที่มีระยะเวลาในการดำเนินโรคค่อนข้างนาน ดังนั้นการที่สามารถตรวจเช็กได้ล่วงหน้าถึงความเสี่ยงของการเป็นโรคพาร์กินสัน จึงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อที่จะหาทางป้องกัน หรือเข้าสู่กระบวนการรักษาเพื่อลดอาการรุนแรงของโรค

คนไทยที่อายุ 40 ปีขึ้นไปโหลดแอปประเมินความเสี่ยงเพื่อหาทางป้องกันหรือรักษาได้ทันท่วงที ส่วนการทดสอบผ่านแอปก็ทำได้ง่ายๆ เริ่มจากหาห้องที่มีพื้นที่สำหรับเคลื่อนไหว และไม่มีเสียงรบกวน

  1. ทำแบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น 20 ข้อ
  2. เช็คผ่านแอปด้วยการขยับนิ้ว เพื่อทดสอบนิ้วมือ
  3. นั่ง ยื่นแขน เพื่อทดสอบอาการสั่น
  4. เดิน เพื่อทดสอบการทรงตัว
  5. ทดสอบการออกเสียง

หลังจากทดสอบแล้ว รู้ผลประเมินความเสี่ยงได้ทันที

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Check PD ได้ที่ App Store และ Play Store

Check PD แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน แม่นยำถึง 90% เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมมือกับสภากาชาดไทย เปิดตัวแอป “Check PD” เพื่อใช้ตรวจหาความเสี่ยงการเป็นพาร์กินสัน เหตุพบสถิติคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นและยังพบในคนอายุต่ำกว่า 60 ปี ชี้ความแม่นยำของการตรวจประเมินมีสูงถึง 90% พร้อมเชิญชวนคนไทยโดยเฉพาะคนอายุ 40 ปีขึ้นไปโหลดแอปประเมินความเสี่ยงเพื่อหาทางป้องกันหรือรักษาได้ทันท่วงที

รศ. นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า แอปพลิเคชัน Check PD เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในการวินิจฉัยกลุ่มอาการโรคพาร์กินสัน โดยการตรวจพบโรคพาร์กินสันตั้งแต่ระยะแรกของการดำเนินโรค มีความสำคัญต่อการวางแผนการรักษา และการดูแลที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่มุ่งเน้นสร้างนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ การพัฒนาระบบบริการที่ทันสมัยและเข้าถึงได้ ตลอดจนการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งการพัฒนาแอปพลิเคชัน Check PD นี้ถือเป็นความสำเร็จในความร่วมมือที่สำคัญ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทุกภาคส่วนในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาระบบสุขภาพ ที่สามารถช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน สามารถวางแผนการดูแลสุขภาพ การป้องกัน และการรักษาได้อย่างเหมาะสม

. นพ. รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่ไม่ได้แสดงอาการทันที แต่มีระยะเวลาของการเตือนและระยะเวลาของการดำเนินโรคที่ค่อนข้างนาน เฉลี่ยนานถึง 10-20 ปี โดยอาการที่ชัดเจนคืออาการสั่น ส่วนอาการเตือนอื่นๆ เช่น อาการท้องผูกเรื้อรัง อาการนอนละเมอ ออกท่าทางหรือออกเสียงที่สัมพันธ์กับเนื้อหาความฝัน ฯลฯ มักถูกมองว่าไม่ใช่อาการผิดปกติ ทำให้ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวไม่คิดว่าตนเองเป็น จึงไม่ได้พบแพทย์และเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที นอกจากผู้สูงอายุที่ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงหลักแล้ว ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ก็ถือเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน จากสถิติที่พบว่าปัจจุบันแนวโน้มผู้ป่วยโรคพาร์กินสันพบในผู้ป่วยอายุน้อยลง และพาร์กินสันเป็นโรคที่มีระยะเวลาในการดำเนินโรคค่อนข้างนาน ดังนั้นการที่สามารถตรวจเช็กได้ล่วงหน้าถึงความเสี่ยงของการเป็นโรคพาร์กินสัน จึงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อที่จะหาทางป้องกัน หรือเข้าสู่กระบวนการรักษาเพื่อลดอาการรุนแรงของโรค

ทั้งนี้เพื่อให้แอปพลิเคชัน Check PD เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องในการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคพาร์กินสัน อีกทั้งยังเป็นการร่วมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมลงพื้นที่คัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงโรคพาร์กินสันทั่วประเทศ และส่งต่อระบบสาธารณสุขเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Check PD ได้ที่ App Store และ Play Store

  

ใช้ได้แต่มีกฏ สื่อดังเปิดไฟเขียว ใช้ AI ช่วยเขียนข่าว

[AI กับสื่อ] หลาย ๆ คน ทั้งวัยทำงานหรือนักเรียน เชื่อว่าคงมีเครื่องมือ AI ที่ใช้ประจำแล้ว หรืออาจเคยเอามาช่วยทำงานหรือการบ้านไม่มากก็น้อย ปัจจุบันมีบางบริษัทพัฒนาเครื่องมือ AI ใช้เฉพาะเลยก็มี เหมือนอย่าง The New York Times สำนักข่าวชื่อดังจากสหรัฐฯ ที่ล่าสุดได้อนุญาตให้พนักงาน สามารถใช้ AI ช่วยทำงานได้ ทว่าก็มาพร้อมแนวทางป้องกันมากมาย

รายงานจากสื่อ Semafor เผยได้รับข้อมูลจากอีเมลภายในของ The New York Times พบบริษัทได้ประกาศให้พนักงานสามารถนำ Generative AI มาช่วยงานได้เลย พร้อมแนะนำเครื่องมือ AI สำหรับใช้งานภายในอย่าง “Echo” ด้วย แต่การใช้งานก็มาพร้อมข้อห้ามและข้อกำหนดที่ชัดเจน

ดูเหมือนข้อห้ามก็เน้นไปที่พนักงานที่เป็นนักข่าว หรือฝ่ายบรรณาธิการเป็นพิเศษ โดยทางบริษัทก็อนุญาตให้ใช้ Echo มาช่วยปรับย่อหน้าให้กระชับ สรุปเนื้อหา ตรวจแก้คำ หรือคิดหัวข้อให้เหมาะกับการค้นหาออนไลน์ (หรือติด SEO) ได้เลย

ส่วนแนวทางป้องนั้น ก็มีกฏห้ามใช้เครื่องมือ AI ช่วยเขียนหรือแก้ไขบทความหลักอย่างมีนัยสำคัญ ห้ามใช้ AI สร้างภาพหรือวิดีโอประกอบเนื้อหาข่าว และมีข้อควรระวัง AI เปิดเผยแหล่งที่มาข่าวที่ได้รับการคุ้มครองโดยไม่ได้ตั้งใจ

ตัวอย่างเครื่องมือ AI อื่น ๆ นอกจาก Echo ก็มีอนุญาตให้ใช้งานได้ทั้ง GitHub Copilot ช่วยเขียนโค้ด Google Vertex AI ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือ AI บางตัวจาก Amazon สามารถนำมาช่วยสร้างแบบทดสอบ ช่วยเขียนเนื้อหาบนโซเชียล กับช่วยเขียนคำถาม FAQ ก็ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม Semafor ได้ระบุเพิ่มเติมว่า มีพนักงานบางราย แสดงความกังวลต่อการใช้ AI เพราะอาจทำให้ “เกิดความขี้เกียจ” จนอาจพลาดไปสร้างข้อมูลเท็จขึ้นมาได้ จึงไม่ใช่ทุกคนใน The New York Times ที่เห็นด้วยกับการใช้ AI ทั้งหมด และอาจรวมไปถึงสำนักข่าวรายอื่นด้วย

ที่มา : Techspot

ไม่ง่าย OpenAI ปฏิเสธ Elon Musk หลังยื่นข้อเสนอ ซื้อกิจการ

[Not for sale] ไม่เหมือนตอนเข้าซื้อ Twitter (หรือ X ในปัจจุบัน) มีรายงานเผย บอร์ดบริหารของ OpenAI ปฏิเสธข้อเสนอ 97,400 ล้านดอลลาร์ฯ ของ Elon Musk แบบ ‘เป็นเอกฉันท์’ ด้านประธานบอร์ดลั่น OpenAI ไม่ได้มีไว้ขาย !!

ย้อนกลับไปอาทิตย์ก่อน Wall Street Journal เผย Elon Musk ได้ยื่นข้อเสนอซื้อกิจการ OpenAI มูลค่า 97,400 ล้านดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท หลังวิจารณ์ Sam Altman ซีอีโอของบริษัทดังกล่าวว่าเป็นเพียง “Swindler” หรือพวกต้มตุ๋น

กลับมาปัจจุบัน คณะกรรมการของบริษัท OpenAI ได้จัดประชุมถึงข้อเสนอซื้อกิจการดังกล่าวแล้ว ผลคือ ‘ปฏิเสธ’ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ ทางด้าน Bret Taylor ประธานบอร์ดบริหารกล่าวเลยว่า “OpenAI is not for sale” พร้อมมองว่า Elon Musk มีความพยายามที่จะขัดขวางการแข่งขันด้าน AI ซะมากกว่า

“ภารกิจของเรา คือการทำให้ AGI (Artificial General Intelligence) เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ” Bret Taylor กล่าวเพิ่มเติม

ด้าน Sam Altman ได้ทวีตปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวบน X ด้วย พร้อมกล่าวย้อน Elon Musk ด้วยว่า ถ้าต้องการ ทางบริษัทก็ยินดีที่จะซื้อ Twitter คืนในราคา 97,400 ล้านดอลลาร์ฯ ได้นะ

ที่ผ่านมา Elon Musk เหมือนมีความพยายามเข้าควบคุม OpenAI เสมอมา หลังเคยร่วมก่อตั้งบริษัทนี้กับ Sam Altman มาตั้งแต่ปี 2015 ทว่าในปี 2018 ได้เกิดความขัดแย้งกัน จน Elon Musk ลาออกจากบอร์ดบริหาร OpenAI มานับแต่นั้น

ท้ายนี้ตัวข้อเสนอเข้าซื้อบริษัท OpenAI ของ Elon Musk ยังยากที่จะบอกว่า ‘เอาจริง’ มากแค่ไหน ทั้งนี้ทาง Bret Taylor ก็เคยทำงานกับ Twitter มาก่อนด้วย จึงไม่แปลกที่จะปฏิเสธข้อเสนอนี้อย่างแข็งขัน

ที่มา : Engadget

โจ ไช่ ประธานของอาลีบาบา กับ มุมมองด้านการพัฒนา AI

นายโจ ไช่ ประธานของอาลีบาบา กรุ๊ป แลกเปลี่ยนมุมมองของอาลีบาบาเกี่ยวกับอนาคตของ AI ในระหว่างการประชุมสุดยอด World Government Summit เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยโจได้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทบรรณาธิการที่ตีพิมพ์ในโอกาสเดียวกัน เกี่ยวกับความสำคัญของโมเดลโอเพ่นซอร์สต่าง ๆ ที่สามารถมอบ AI ที่ทุกคนใช้ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทางหรือความรู้ทางเทคนิคใด ๆ และการคาดการณ์ทิศทางที่จะทำให้การพัฒนา AI ก้าวสู่การนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ โดยมีมุมมองสำคัญดังนี้

  • นักพัฒนาซอฟต์แวรจะคิดถึงแอปพลิเคชันที่นำไปใช้งานได้จริง และส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้โมเดลและเอเจนต์ AI เฉพาะทาง และ เจาะจงเฉพาะงาน ขยายตัวเร็วขึ้น
  • เงินทุนจะไปยังบริษัทต่าง ๆ ที่สร้างนวัตกรรมด้วยการเทรนและการนำ AI ไปใช้ได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า
  • โมเดลโอเพ่นซอร์สต่าง ๆ จะทำให้เกิด AI ที่ใครก็ใช้ได้ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทที่มีขนาดเล็กสามารถเข้าถึงโมเดลโอเพ่นซอร์ส และต่อยอดพัฒนาแอปพลิเคชันที่นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • แอปพลิเคชัน AI ที่ใช้โมเดลที่มีพารามิเตอร์เล็กกว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นสามารถเข้าถึง AI ได้
  • การทำให้ค่าใช้จ่ายด้าน AI ลดลง และการเข้าถึงได้มากขึ้นนั้น หมายถึง จะมีบริษัทและนักพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา AI เพิ่มมากขึ้น และจะมีผู้บริโภคที่ได้รับประโยชน์จากสุดยอดแอปพลิเคชันที่มีคุณประโยชน์เหล่านี้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเช่นกัน

การที่นายโจ ไช่ ให้การสนับสนุนนวัตกรรมแบบเปิด สะท้อนให้เห็นการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องของอาลีบาบา ซึ่งรวมถึง การเปิดตัว Qwen ซึ่งเป็นตระกูลโมเดลภาษาขนาดใหญ่แบบโอเพ่นซอร์สที่ล้ำสมัย  ของบริษัทฯ ที่นับเป็นหนึ่งในข้อพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นระยะยาวของบริษัทฯ ในการส่งเสริมความก้าวหน้าด้านAI ที่ครอบคลุม เข้าถึงได้ ในราคาที่เหมาะสม

  • อาลีบาบา เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลกรายแรก ๆ ที่สร้างโมเดล AI ขนาดใหญ่ที่เป็นโอเพ่นซอร์สด้วยตัวเองจากการเปิดตัว ModelScope ซึ่งเป็นคอมมิวนิตี้ด้านโอเพ่นซอร์สของ บริษัทฯ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2565 บริษัทฯ ได้เปิดตัวโมเดลโอเพ่นซอร์สรุ่นแรก (Qwen-7B) เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยมีการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งโมเดลภาษา, มัลติโมดัล, โมเดลด้านคณิตศาสตร์ และโค้ด
  • เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2568 อาลีบาบา ได้เปิดตัว 5-VL ซึ่งเป็นโมเดลมัลติโมดัลเจเนอเรชันถัดไป และ Qwen2.5-1M โมเดลด้านภาษาขนาดใหญ่ที่อยู่ในรูปแบบโอเพ่นซอร์ส โดยประสิทธิภาพของทั้งสองโมเดลนี้มีผลลัพธ์อยู่ในอันดับต้น ๆ จากเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก
  • ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 มีการพัฒนาโมเดลอนุพันธ์ที่ใช้ Qwen มากกว่า 90,000 โมเดล บน Hugging Face ซึ่งเป็นคอมมิวนิตี้โอเพ่นซอร์สระดับโลก สะท้อนให้เห็นว่า Qwen ได้รับความนิยมและเป็นหนึ่งในโมเดลโอเพ่นซอร์สที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวางมากที่สุดในโลก

โปรดดูบทบรรณาธิการที่เขียนโดยนายโจ ไช่ ที่แนบมาด้วยนี้ และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความของ Alizila

ความฝันพ่อบ้าน เปิดโปรเจคพัฒนาหุ่นยนต์ คล้ายคน ช่วยทำงานบ้าน

[จับตามอง] อาจเป็นหนึ่งในความฝันของมนุษย์ชาติ โดยเฉพาะเหล่าแม่บ้านหรือพ่อบ้าน (ใจกล้า) นั้นคือการมีหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ ที่ช่วยทำงานบ้านแทนมนุษย์ได้ทุกอย่าง ซึ่งความหวังนี้อาจได้ทาง Meta มาช่วยสานฝันอีกราย ถัดจากหุ่น Optimus ของ Tesla ที่เคยเปิดตัวไปก่อนหน้านี้

แหล่งข่าวจาก Mark Gurman แห่ง Bloomberg เผย Meta มีแผนพัฒนาหุ่นยนต์รูปทรงคล้ายมนุษย์หรือ Humanoid โดยอยู่ในช่วงรวบรวมทีมพัฒนา กับตามหาบริษัทด้านหุ่นยนต์มาร่วมลงทุน ซึ่งตอนนี้่มี Unitree Robotics กับ Figure AI Inc ที่อยู่ระหว่างเจรจา

ตามแผนแล้ว Meta จะยังไม่เปิดตัวหุ่นยนต์ Humanoid ของตัวเอง แต่จะเน้นพัฒนาชิ้นส่วนที่จำเป็นอย่าง เซ็นเซอร์ ชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ของระบบ AI จำหน่ายให้กับทาง OEM ก่อน โดยหากมีความเป็นไปได้ ก็จะผลิตหุ่นยนต์ Humanoid ของตัวเองในที่สุด

สำหรับทีมพัฒนานั้น ทางบริษัทได้เลือกคนมาเป็นหัวหน้าทีมแล้วอย่าง Marc Whitten อดีตซีอีโอของ Cruise หรือแผนกพัฒนารถยนต์ไร้คนขับของทาง GM (General Motors) และทีมนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของ Reality Labs แผนกพัฒนาอุปกรณ์ของทาง Meta ด้วย

มีรายงานเพิ่มเติมเผย Meta อาจใช้งานประมาณ 2 – 3 ปี ในการพัฒนาตัวหุ่นยนต์จนมีการเปิดตัวได้ และอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าจะมีตัวหุ่นยนต์ที่มาพร้อม “แพลตฟอร์มมาตรฐาน” ของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในอนาคต ที่เปิดให้บริษัทอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมได้

ทั้งนี้ตัวหุ่นยนต์ Humanoid ของ Meta อาจไม่ใช่คู่แข่งโดยตรงของ Optimus จาก Tesla เนื่องจากของ Meta จะเน้นใช้งานในบ้าน และคอยช่วยงานบ้านโดยเฉพาะ ส่วนตัว Optimus จะเน้นใช้งานในโรงงานผลิตมากกว่า เพื่อทดแทนแรงงานมนุษย์

ที่มา : Techspot

อย่าใช้บ่อย หูฟังตัดเสียงรบกวน อาจกระทบสมองเด็ก

หูฟังตัดเสียงรบกวน

หูฟังตัดเสียงรบกวน (Noise-canceling headphones) กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในยุคที่คนต้องการเสียงที่มีคุณภาพ แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า หากใช้บ่อยเกินไป อาจกระทบสมองที่ยังพัฒนาการด้านการได้ยินไม่เต็มที่ ทำให้ฟังเสียงรอบข้างได้แย่ลงหรือเกิดความผิดปกติในการประมวลผลเสียงได้

ภาวะที่เรียกว่า Auditory Processing Disorder (APD) เกิดเมื่อสมองแปลความหมายของเสียงได้ยาก แม้ว่าหูของเราจะทำงานปกติ คนที่มี APD มักฟังเสียงหลายอย่างพร้อมกันไม่ได้ หรือจับใจความบทสนทนาในที่มีเสียงดังไม่ได้ดี

มีตัวอย่างของผู้ป่วยชื่อโซฟี อายุ 25 ปี พบว่าเธอเริ่มฟังคำพูดยาว ๆ หรือบรรยายในที่สาธารณะไม่เข้าใจ จนวินิจฉัยว่าเป็น APD ซึ่งคาดว่าการใส่หูฟังตัดเสียงรบกวนหลายชั่วโมงต่อวันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สมองของเธอขาดการฝึกแยกเสียงต่าง ๆ

เมื่อเด็กหรือวัยรุ่นใส่หูฟังตัดเสียงรบกวนเป็นเวลานาน พวกเขาจะไม่ได้สัมผัสกับเสียงภายนอกมากเท่าที่ควร สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟังและแยกแยะเสียง จึงไม่ได้รับการฝึกให้โฟกัสเสียงสำคัญ หรือตัดเสียงรบกวนอื่น ๆ ออกไปตามธรรมชาติ

สิ่งนี้ลดโอกาสในการพัฒนาทักษะกรองเสียง เพราะตามปกติสมองมนุษย์จะค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะแยกเสียงไม่สำคัญออกจากเสียงหลัก (เช่น เสียงเพื่อนคุยกันในห้องเรียน ที่มีเสียงจอแจรอบข้าง) หากเด็ก ๆ ถูกตัดเสียงรบกวนส่วนใหญ่ทิ้งไปเป็นประจำ สมองอาจขาดทักษะที่จะกรองเสียงได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเสียงหลากหลาย

โดยทั่วไปแล้ว พัฒนาการด้านการฟังและการประมวลผลเสียง จะก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงช่วงวัยรุ่นตอนต้น (ประมาณ 2–15 ปี) ถือเป็นช่วงที่สมองกำลังเรียนรู้และจดจำวิธีแยกเสียงต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมรอบตัว หากช่วงเวลานี้ มีการใช้งานหูฟังตัดเสียงรบกวนอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน 4-5 ชั่วโมงต่อวัน หรือในสภาพแวดล้อมที่ควรจะได้ฝึกฟัง กลับไม่ได้ฟัง

techspot

ตรวจจับยาก แฮกเกอร์ใช้ Deepseek ปลอมตัวตนบนโลกออนไลน์

Deepseek

ต้องยอมรับว่าในยุคที่ AI เติบโต ไม่ใช่แค่ผู้ใช้งาน ที่มีการใช้งาน AI เพิ่มขึ้น แต่ฝั่งแฮกเกอร์ ก็มีการ AI นำมาใช้เพื่อเสริมการโจมตีมากขึ้นเช่นกัน

รายงานจาก Checkpoint เปิดเผยว่าแฮกเกอร์บางส่วน ได้มีการนำ Deepseek มาใช้โจมตี หลอกลวง และใช้เขียนสตอรี่ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

เมื่อเทียบกับการโจมตีแบบเดิม ๆ การใช้ AI อย่างเช่น DeepSeek ทำให้จะช่วยลดต้นทุนด้านเวลาและทรัพยากรของผู้ไม่หวังดี โดยเฉพาะการสร้างแคมเปญฟิชชิ่งจำนวนมากหรือการปรับเนื้อหาเพื่อเลี่ยงระบบตรวจจับได้แบบอัตโนมัติ

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมถึงไทย) เป็นพื้นที่ที่อาชญากรไซเบอร์มองว่าคุ้มค่าเสี่ยงเนื่องจากผู้ใช้จำนวนมากอาจขาดความตระหนักด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เทียบเท่าประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมออนไลน์สูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นช่องโหว่ให้เกิดการโจมตีด้วยโมเดล AI ได้มากยิ่งขึ้น

วิธีการที่อาชญากรไซเบอร์ใช้ DeepSeek

1.ใช้ DeepSeek ในการสร้างหรือดัดแปลงรูปภาพ วิดีโอ หรือเสียงของบุคคลจริงให้ดูสมจริง เพื่อนำไปใช้หลอกเหยื่อ เช่น แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร ผู้จัดการ หรือบุคคลที่เหยื่อไว้วางใจ ซึ่งได้เพิ่มโอกาสให้เหยื่อหลงเชื่อและเปิดเผยข้อมูลสำคัญ หรือโอนเงินให้โดยไม่ได้ตรวจสอบ

2.สร้างฟิชชิ่ง (Phishing) และสแปมอีเมล (Spam Campaign)
โมเดล AI สามารถสร้างข้อความฟิชชิ่งจำนวนมากได้อัตโนมัติ โดยสามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหา การใช้ถ้อยคำ หรือสไตล์การเขียนให้แตกต่างได้หลากหลาย สามารถหลบเลี่ยงตัวกรองสแปมในระดับพื้นฐานได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ยังใช้การวิเคราะห์ข้อมูลของเหยื่อ เช่น พฤติกรรมการใช้อีเมล โซเชียลมีเดีย เพื่อเจาะจงข้อความให้ตรงความสนใจหรือสถานการณ์ของเหยื่อได้แม่นยำ ซึ่งแน่นอนว่า การแปลภาษา ก็ทำได้แนบเนียน ทำการวิธีป้องกัน Phishing เดิม ๆ อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป

ต้องยอมรับว่า DeepSeek เป็นตัวอย่างหนึ่งของโมเดล AI ที่อาชญากรไซเบอร์นำมาใช้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะไม่มีตัวเลขชี้ชัดด้านอัตราการใช้งาน แต่ก็ถือว่ามีการเติบโตแบบก้าวกระโดดตามแนวโน้มการใช้ AI เพื่อการโจมตีไซเบอร์ทั่วโลก

จุดเด่นที่สำคัญ คือความสามารถในการปลอมแปลง (ภาพ เสียง วิดีโอ) การวิเคราะห์เป้าหมาย และสร้างเนื้อหาฟิชชิ่งแบบเฉพาะเจาะจงในปริมาณมากได้อย่างแม่นยำ

วิธีที่ช่วยได้คือ พยามสร้างการตระหนักรู้และ รวมทั้งองค์กนต่าง ๆ ควรนำมาตรการป้องกันที่ทันสมัยมาใช้ โดยเฉพาะการใช้ AI เพื่อตรวจสอบ AI ด้วยกันเอง รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและตัวตนของคู่สนทนา ถือเป็นหัวใจสำคัญในการลดความเสี่ยงจาก DeepSeek และเครื่องมือ AI อื่น ๆ ที่อาจตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดีครับ

ที่มา
งานแถลงข่าว Checkpoint CPX 2025

แก้เองได้ ปรับหน้า Start Menu ใหม่ ใช้งานง่ายบน Windows 11

Start Menu

หลายคนยังคงไม่พอใจกับ Start Menu บน Windows 11 ถึงแม้ว่า Microsoft จะอัปเดตปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ แต่หน้า Start Menu ก็ยังเปลี่ยนอะไรไม่ได้มาก

ข่าวดีคือ ตอนนี้มีทางออกสำหรับคนที่อยากได้ Start Menu ที่ใช้งานสะดวกขึ้น โดยไม่ต้องรอให้ Microsoft แก้ไขเอง โดย Windhawk แพลตฟอร์มที่รวบรวม Mods สำหรับ Windows 11 สร้างขึ้นโดยชุมชนที่ชื่นชอบการปรับแต่งระบบ หนึ่งใน Mods ที่โดดเด่นก็คือ Windows 11 Start Menu Styler ที่ช่วยให้เราสามารถปรับแต่ง Start Menu ให้ใช้งานสะดวกขึ้น

ฟีเจอร์เด่นของ Mod นี้คือ รวมเมนูรายการแอปทั้งหมดกับแอปที่ปักหมุดให้อยู่ในหน้าเดียวกัน ไม่ต้องคลิกหลายครั้งเพื่อเข้าไปหาแอปที่ซ่อนอยู่ในรายการ ทำให้การเปิดโปรแกรมที่ต้องการรวดเร็วขึ้น

วิธีติดตั้งคือ

1.ดาวน์โหลดและติดตั้ง Windhawk
2.ไปที่เมนูค้นหา Windows 11 Start Menu Styler แล้วติดตั้ง
3.เลือกการตั้งค่า Layout ที่ต้องการ หรือใช้โค้ดที่มีให้ใน Preset
4.เริ่มใช้งาน Start Menu โฉมใหม่ได้ทันที

นอกจากการเปลี่ยน Layout แล้ว Mod นี้ยังให้เราควบคุม Start Menu ได้แทบทุกจุด เช่น
ปรับระดับความโปร่งใสของเมนู
ลบส่วน Recommended ออกไปเลย เหลือแค่แอปที่ปักหมุด
ปรับแต่งขนาดและตำแหน่งของเมนูให้เหมาะกับสไตล์การใช้งาน

ในเรื่องความปลอดภัย เนื่องจาก Windhawk เป็นซอฟต์แวร์ของ Third-Party เนอะ จึงต้องใช้ความระมัดระวังในการติดตั้ง อย่างไรก็ตาม ตัวโปรแกรมมี โอเพ่นซอร์ส และมีชุมชนที่คอยตรวจสอบความปลอดภัยของ Mods ต่างๆ ก็ทำให้ค่อนข้างมั่นใจได้ระดับหนึ่ง ไปลองกันนะ

ที่มา
techspot

ตั้งฐานบนอวกาศ สหรัฐฯ ลุยโปรเจค NOM4D พัฒนาวัสดุก่อสร้างนอกโลก

[ก้าวสำคัญ] จากห้องปฏิบัติการ สู่สถานที่จริง DARPA ประกาศยกระดับ NOM4D โครงการพัฒนาวัสดุ การออกแบบ การก่อสร้าง และการขนส่งส่วนประกอบต่าง ๆ บนวงโคจรนอกโลก ด้วยการเริ่มทดสอบที่อวกาศของจริง

DARPA หน่วยงานวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศเดินหน้าโครงการ NOM4D โดยเปลี่ยนจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ไปเป็นการสาธิตในวงโคจรขนาดเล็ก เพื่อประเมินการออกแบบวัสดุใหม่ และหาเทคนิคการประกอบหรือก่อสร้างบนอวกาศโดยตรง ก่อนนำไปสู่การก่อสร้างครั้งใหญ่ ตั้งแต่การสร้างสถานีเติมเชื้อเพลิงของยานสำรวจอวกาศในอนาคต หรือการตั้งสถานีประจำการ สำหรับภารกิจสำรวจดวงจันทร์โดยเฉพาะ

สำหรับโครงการ NOM4D หรือ Novel Orbital and Moon Manufacturing, Materials, and Mass-efficient Design ก่อตั้งขึ้นในปี 2022 โดยหวังพัฒนาการก่อสร้างฐานบนอวกาศ ตั้งแต่การหาวัสดุที่ใช่ ที่ผ่านข้อจำกัดทั้งน้ำหนักและขนาด สำหรับการขนส่งผ่านจรวด แทนที่การพึ่งพาโครงสร้างแบบพับได้ในปัจจุบัน จะได้สร้าง “ฐาน” บนอวกาศที่มีขนาดใหญ่และมีมวลหรือทนทานมากกว่าเดิม

ปัจจุบันตัวโครงการ NOM4D ได้รับอนุมัติการทดสอบในอวกาศแล้ว โดยจะเริ่มดำเนินการในปี 2026 ผ่านการนำหุ่นยนต์อัตโนมัติของทาง Caltech สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ติดตั้งบนยาน Vigoride ของทาง Momentus Space และใช้จรวด Falcon 9 ของ SpaceX ช่วยพาขึ้นอวกาศนั้นเอง

สำหรับตัวหุ่นยนต์อัตโนมัติดังกล่าวนั้น ก็จะทำการทดลองสร้างโครงถักวงกลมจากไฟเบอร์คอมโพสิตน้ำหนักเบา ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 เมตรในอวกาศ เพื่อจำลองการผลิตโครงสร้างพื้นฐานในอวกาศขนาดใหญ่ ในขั้นตอนถัดไป

ทั้งนี้นอกจากโครงการ NOM4D แล้ว ก็ยังมีอีกโครงการที่สำคัญ นั้นคือการพัฒนาขั้นตอนกระบวนการขึ้นรูปคอมโพสิตแบบใหม่บนอวกาศ ซึ่งขั้นตอนนี้ก็ได้ความร่วมมือทั้ง UIUC หรือมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญ กับทาง Voyager Space มาทดสอบบนสถานีอวกาศนานาชาติในเดือนเมษายน 2026 หากสำเร็จด้วยดี ก็จะนำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างคาร์บอนไฟเบอร์แบบใหม่ จนผลิตโครงสร้างอวกาศขนาดใหญ่ได้ดีกว่าเดิมด้วย

ความสำเร็จของการทดสอบเหล่านี้ อาจส่งผลดีต่อกิจการอวกาศเชิงพาณิชย์ และผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของชาติ โดยนอกเหนือจากการใช้งานด้านการป้องกันประเทศแล้ว NOM4D อาจช่วยสร้างระบบนิเวศการผลิตในอวกาศ เพื่อปูทางไปสู่สถานีเติมเชื้อเพลิงในอวกาศ ฟาร์มโซลาร์เซลล์บนอวกาศ และโครงสร้างพื้นฐานทางการค้าและความมั่นคงแห่งชาติอื่น ๆ ได้ในอนาคต

ที่มา : Techspot

Hot Issue