5 แนวโน้มเทคโนโลยีใน “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ประจำปี 2014

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นภูมิภาคที่กำลังมีอัตราการเติบโตด้านเทคโนโลยีตลอดปี 2013 อย่างน่าสนใจ ส่งผลให้บรรดาผู้ประกอบการในทวีปเอเชีย ยุโรป หรืออเมริกาเหนือเริ่มหันมาลงทุนมากขึ้น ส่งผลให้ในปี 2014 จึงเป็นอีกหนึ่งปีที่น่าติดตามว่าแนวโน้มเทคโนโลยีใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีโอกาสเติบโตและกลายเป็นที่นิยมเพิ่มสูงขึ้น 

southeast_asia_map

1. Social Commerce

ต้องยอมรับว่าในปี 2013 โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่าง Facebook, Instagram และบริการแชทอย่าง LINE มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคทางด้านการค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งบริการต่างๆล้วนเป็นช่องทางในการค้าขายสินค้าและบริการที่มีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยส่วนหนึ่งเกิดจากการให้บริการสัญญาอินเทอร์เน็ตไร้สายอย่าง 3G หรือ 4G ที่มีขยายตัวและพัฒนามากขึ้น ทำให้ลูกค้าสามารถรับข่าวสารตลอดจนเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตได้ง่ายมากขึ้น ฉะนั้นในปี 2014 จึงเป็นโอกาสทองของร้านค้าออนไลน์ที่จะใช้ช่องทางจากโซเชียลเน็วเวิร์คและบริการแชทอย่าง LINE เป็นช่องทางในการดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาอุดหนุนสินค้าและบริการในแบบออนไลน์กันอย่างคึกคักต่อไป

2. อิทธิพลเทคโนโลยีจากประเทศจีนจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

จากการนำเสนอข่าวสารที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าบริษัทด้านเทคโนโลยีของจีนเริ่มมีการขยับขยายกิจการไปทั่วภูมิภาค โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจีนมีความสัมพันธ์อันดีกับหลายประเทศในแถบนี้ ดังนั้นปี 2014 มีโอกาสที่เทคโนโลยีจากจีนจะเริ่มแผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาคนี้มากขึ้น อาทิ โทรศัพท์มือถือแบรนด์ Xiaomi ที่เริ่มได้รับความนิยมจากประชากรส่วนหนึ่งในประเทศจีนก็จะเริ่มรุกตลาดสิงค์โปร์, ฮ่องกง และไต้หวัน

3. การเจริญเติบโตของธุรกิจการระดมทุนสาธารณะหรือ “Crowdfunding”

Crowdfunding หรือการระดมทุนสาธารณะเพื่อนำมาพัฒนาหรือส่งเสริมธุรกิจในประเภทต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันโครงการประเภทนี้ยังมีคงได้รับความนิยมอยู่ในสหรัฐอเมริกาและเว็บไซต์ที่รับการระดมทุนที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ Kickstarter และ indiegogo อย่างไรก็ตามโครงการระดมทุนสาธารณะจะเริ่มเข้ามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถเข้ามาสร้างประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้มากขึ้น

4. การลงทุนเพิ่มขึ้นจากนักลงทุนญี่ปุ่น

เมื่อปี 2013 ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าบริษัทผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตสัญชาติญี่ปุ่น และธุรกิจอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่เริ่มมีความร่วมมือกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกตัวอย่างเช่น ราคูเท็น เป็นต้น นับเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าในปี 2014 นี้จะเป็นปีที่มีการลงทุนจากนักลงทุนญี่ปุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจด้านการตลาดออนไลน์อันเป็นผลพวงจากการใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตที่เพิ่มสูงขึ้น

5. แอพพลิเคชั่นส่งข้อความจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

หากไม่นับ Facebook และ Twitter บริการแชทยอดฮิตแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คงหนีไม่พ้น “LINE” รองลงมาได้แก่ Whatsapp, KaKao และ WeChat ซึ่งในปี 2014บริการแชทต่างๆ จะยังคงเดินหน้าพัฒนาต่อยอดบริการรวมไปถึงการจัดโปรโมชั่นพิเศษเอาใจผู้ใช้งาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าบริการแชทนี้ไม่ได้เป็นเพียงการส่งข้อความ รูปภาพหรือสติ๊กเกอร์หากันเท่านั้น

อ้างอิงจาก TheNextWeb

 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here