1.แอปโรงละครแห่งชาติ Content รูปแบบใหม่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการแสดงศิลปวัฒนธรรมในยุค 5G
ภายในแอปพลิเคชันมีเป้าหมายในการนำเสนอข้อมูลของโรงละครแห่งชาติเป็นหลัก ภายในตัวแอปพลิชันก็จะมี 4 ฟังก์ชันให้เลือกใช้งาน ฟังก์ชันแรกคือ ข้อมูลประวัติของโรงละครแห่งชาติที่มีการอัพเดทใหม่อยู่ตลอด เพื่อให้ผู้ที่ใช้ได้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและครบถ้วน ฟังก์ชันที่สองคือ เรื่องการแสดงที่โรงละครแห่งชาติเลยใช้ ฟังก์ชันสามคือลักษณะเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ประเภทต่างๆ และอย่างสุดท้ายคือปฏิทินแสดง เราจะบอกไว้เลยว่าในแต่ละเดือนวันไหนบ้างที่โรงละครมีการจัดแสดง หรือวันไหนบ้างที่มีกิจกรรมให้ผู้ชมสามารถเข้าร่วมได้
สามารถติดตามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ https://sarosworld.com/site3/nationaltheater/
2.แอพพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ 5G แอพพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ ประวัติศาสตร์มีชีวิต บนสมาร์ทโฟน
แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ที่มีการนำข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาปรับใช้ให้ทันสมัยและสามารถเข้าถึงได้ง่าย ทุกสถานที่ ทุกเวลาโดยแอพพลิเคชั่นนี้ได้ผ่านการสร้างสรรค์จากกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมกับนวัตกรรม(Cultural Technology, CulTech) จึงเกิดเป็นแอพพลิเคชั่น “ Sunthonphu Museum ” ขึ้นมาและแอพพลิเคชั่นนี้ถือได้ว่าเป็นโปรเจกต์ Startup ที่เรียนรู้ผ่าน ARSA Education Machine* ในส่วนหนึ่งของวิชา HIM496 การออกแบบเเอนิเมชั่นและสื่อดิจิทัล (DESIGN FOR ANIMATION AND DIGITAL MEDIA) ของผศ.ดร อาษา ตังจิตสมคิด ภายใต้หน่วยงานสถาบันอาษา
ตัวแอพพลิเคชั่นเองนั้นมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลในส่วนต่างๆที่เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่โดยภายในตัวแอพหน้าหลักจะประกอบไปด้วยประวัติความเป็นมาข้อมูล แกลลอรี่ ที่ตั้ง และบทกลอนซึ่งหน้าหลักนี้เป็นหน้าที่เราสามารถกดเลือกว่าเราต้องการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร นอกจากนี้ทางกลุ่มของเรานั้นเล็งเห็นว่าควรทำเป็นสองภาษาเพื่อที่จะได้ทั่วถึงกับทุกคนทุกชาติจึงได้ทำข้อมูลทุกอย่างในส่วนของภาษาอังกฤษไว้ด้วยเช่นกัน
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >> https://sarosworld.com/site3/sunthonphu/
3.แอปบ้านบานเย็น 5G
แอปพลิเคชั่น Baan Baanyen มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลความรู้ของบ้านบานเย็น ประกอบไปด้วย ประวัติความเป็นมา บุคคลสำคัญ รูปแบบของเรือนไม้ รวมไปถึงของเก่าโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นับว่าเป็นสถานที่ที่ทรงคุณค่าในเชิงอดีตเป็นอย่างยิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และปกป้องสืบต่อไป
ทางทีมงานผู้พัฒนาแอป เขาได้คัดเลือกและนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชั่นบ้านบานเย็น โดยค้นคว้าหาข้อมูลจาก รศ.โรจน์ คุณเอนก ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการโบราณสถานแห่งชาติว่าด้วยสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS Thailand) และยังเป็นทายาทรุ่นปัจจุบันของพระยาหิรัญยุทธกิจ ที่เป็นเจ้าของบ้านบานเย็น
จากนั้นจะเป็นการสร้างฉากในแอปพลิเคชั่นบ้านบานเย็นด้วยโปรแกรม Photoshop ฉากในแอปพลิเคชั่นบ้านบานเย็นมีทั้งหมด 30 ฉาก เมื่อเข้าแอปพลิเคชั่นบ้านบานเย็น ระบบจะพาท่านเข้าสู่หน้าหลัก ที่ประกอบด้วย เมนูข้อมูลของบ้านบานเย็น เมื่อท่านกดเมนูที่ท่านต้องการ ระบบจะพาท่านเข้าสู่หน้าข้อมูลต่างๆ และเมื่อท่านต้องการกลับสู่หน้าหลัก สามารถกดปุ่ม Back เพื่อกลับสู่หน้าหลัก ทำให้แอปนี้สมบูรณ์แบบด้วยการเล่าเรื่องแบบ Story Telling รวมถึงทำให้ผู้ใช้จดจำข้อมูลของบ้านบานเย็นได้ด้วย Gamification ผ่านการเล่นเกมภายในแอป
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >> https://sarosworld.com/site3/baanbaanyen/
4.สุรัตน์ดินเผา 5G จากผลิตภัณฑ์ OTOP 5 ดาวสู่แอปดินเผา 5G
Surat Pottery
ภายในแอปพลิเคชั่น Surat Pottery จะบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับร้านเครื่องปั้นดินเผาคุณลุงสุรัตน์ ตั้งแต่ทำเลที่ตั้ง วิธีการทำเครื่องปั้นดินเผา กิจกรรม ตลอดจนช่องทางการติดต่อ โดยทำมาในรูปแบบที่อ่านง่าย สวยงาม และใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ซึ่งทางกลุ่มได้ส่งมอบแอปพลิเคชั่นให้แก่คุณลุงสุรัตน์ บัวหิรัญ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2562 พร้อมกับพูดคุยถึงสิ่งที่ได้จากการสร้างสรรค์แอปพลิเคชั่นในครั้งนี้ด้วย
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >> https://sarosworld.com/site3/suratpottery/
ทั้งนี้ หากอ่านมาตั่งแต่ต้น เราอาจได้เห็นคำว่า ARSA Framework (อาษา เฟรมเวิร์ค) อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาจทำให้หลายคนสงสัยกับคำ ๆ นี้ โดย อาษาเฟรมเวิร์ค” เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนา Smart City ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นเฟรมเวิร์คสำหรับสร้างแอปในยุค 5G เพื่อให้บริการประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเจริญสู่ทุกชุมชนทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชนและ SME ลดการแอปกระจุกเว็บกระจาย สามารถช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม (Social Change) เป็นเชิงประจักษ์และจับต้องได้ โดยในปีแรกได้ดำเนินการแล้วเสร็จกับหน่วยงานนำร่อง (Pilot Project) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันอัจฉริยะ 5 แห่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและนนทบุรี ได้แก่
- พิพิธบางลำพูจากกรมธนารักษ์
- โรงละครแห่งชาติจากกรมศิลปากร
- บ้านบานเย็น บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5
- พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่จากวัดเทพธิดาราม
- เครื่องปั้นดินเผาของลุงสุรัตน์ เกาะเกร็ด ที่ได้รับ OTOP ระดับ 5 ดาว
ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่ http://sarosworld.com/site3/arsaframework5g/