ผู้คนมักคิดว่า การปกป้องคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัยเป็นเรื่องยุ่งยากทางเทคนิค แต่จริง ๆ แล้วมันง่ายกว่านั้นมาก ต่อไปนี้เป็นวิธีที่จะช่วยปกป้องคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัยจากโลกออนไลน์มากขึ้น
1.ใช้ Internet Security หรือ Anti Virus
แน่นอนว่าวิธีนี้อาจเสียเงินเพิ่ม แต่ Techhub อยากแนะนำให้ใช้นะ จริงอยู่ว่า Windows Defender นั้นนั้นอาจเพียงต่อการปกป้องคอมพิวเตอร์ และเราก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มด้วย แต่ข้อเสียคือ Windows Defender นั้นอัปเดตไม่บ่อยเท่ากับผู้ให้บริการเกี่ยวกับด้านนี้โดยเฉพาะ พร้อมทั้งฟีเจอร์ของ Windows Defender นั้นก็มีจำกัด ทำให้การปกป้องอาจไม่ครอบคลุมมากนัก ปัจจุบัน แบรนด์ที่คนนิยมมากสุดในไทยก็อ Bitdefender
2.สร้างรหัสผ่านที่เดายาก และใช้โปรแกรมอัติโนมัติช่วย
รหัสผ่านถือเป็นสิ่งสำคัญในโลกออนไลน์ คุณไม่ได้อยู่ในยุคปี 2000 ที่อินเทอร์เน็ตมีไว้แค่หาข้อมูล ท่องเว็บ หรืออ่านข่าว แต่เราใช้มันเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ซื้อของออนไลน์ หรือทำงานสำคัญๆ ซึ่งเว็บเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ Password ที่เป็นรหัสยืนยันตัวตนเข้าใช้งาน
แต่เชื่อว่า ยังมีหลายคนที่ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาง่าย เช่น 123456,AAANN,QWERTY,ABCDEF หรือจะเป็นข้อมูลวันเดือนปีเกิดหรือเบอร์โทรศัพท์ และใช้ Password นี้กับบริการทุกอย่าง เช่น Email, E-commerce,Facebook หรือ Twitter นั่นทำให้แฮกเกอร์ขโมยข้อมูลได้ง่ายมากขึ้น
ฉะนั้น ลองเปลี่ยนรหัสให้คาดเดาได้ยากขึ้น แต่หากกลัวว่าจะจำไม่ได้ ให้ลองใช้โปรแกรมที่คอยเซฟรหัสผ่านเราไว้อย่างปลอดภัยเช่น Lasspass ซึ่งเราสามารถกำหนดรหัสผ่านที่ต่างกันในแต่ละเว็บได้และทำให้มัน Auto Password เมื่อเรากดเข้าเว็บนั้น ๆ
3.เรียนรู้ที่จะมองลิ้งค์อันตรายให้ออก
เราถูกสอนมาเสมอว่า อย่ากดลิ้งค์ที่ส่งมาจากคนที่ไม่มีที่อยู่อีเมลหรือคนที่เราไม่รู้จัก แต่บ่อยครั้งที่ลิ้งค์ถูกส่งมาจากคนที่รู้จักเพราะเพื่อนเราอาจติดไวรัสนั้นแล้ว สิ่งนี้เรียกว่าฟิชชิ่ง แล้วจะตรวจสอบอย่างไร ?
ฟิชชิ่งมักมีเนื้อหาที่ทำให้เราต้องรีบคลิกมัน เช่น คำสั่งซื้อของคุณกำลังโดนระงับ หากไม่ยืนยันตัวตนภายใน 10 นาทีนี้ และมีลิ้งค์ให้กดเพื่อยืนยันตัวตน แต่!!!! เราไปซื้อของตอนไหน ทำไมถึงมีของที่โดนระงับ ของนั้นเป็นของอะไร? มันจะเกิดคำถามเต็มไปหมด และหากตั้งสติได้ ให้เอาเมาส์ไปชี้ที่ลิ้งค์นั้น ซึ่งจะแสดงลิ้งค์จริง ๆ ที่ถูกย่อลิ้งค์มา
วิธีดูอีกอย่างคือ หากเราเผลอกดลิ้งค์ไปแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นลิ้งที่หน้าตาเหมือนเว็บธนาคารหรือเว็บ E-commerce แต่ให้ตรวจสอบว่าลิ้งค์นั้นถูกต้องจริง ๆ หรือเปล่า โดยหากเป็นเว็บอย่าง Lazada เว็บที่ถูกต้องคือ https://www.lazada.co.th/ แต่หากเป็นเว็บปลอมอาจะเป็น https://www.lazada1.co.th/ ซึ่งจะล่อลวงให้เราใส่อีเมลและ Password ในเว็บปลอมนี้เพื่อดักเอาข้อมูลเราได้
4.ระวังการดาวน์โหลดโปรแกรม โดยเฉพาะโปรแกรมแครกต่าง ๆ
เดี๊ยวนี้ มีโปรแกรมต่าง ๆ ให้ใช้ฟรีมากกมาย ทั้งโปรแกรมแต่งรู้ โปรแกรมแปลงไฟล์ โปรแกรมแปลงภาพ หรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ให้เราโหลดใช้ตามวัตถุประสงค์ แต่ของฟรีย่อมไม่ฟรีเสมอไป มักแฝงมาด้วยอันตรายบางอย่าง เช่น การดักเก็บข้อมูลในเว็บ หรือมักให้เราโหลดโปรแกรมอันตรายลงเครื่อง
ฉะนั้น เมื่อต้องการใช้งานโปแกรมอะไร หากเลือกที่จะทำผ่าน Brower ได้จะดีที่สุด อย่าพยายามโหลดอะไรมา Install ลงเครื่อง หรือหากจำเป็นต้องใช้งานโปรแกรมนั้นจริง ๆ ระหว่าง Install ให้พยายามกดหลีกเลี่ยงที่จะลงโปรแกรมเสริมอื่น ๆ บางคนกด Next Next Next อย่างเดียว ทีนี้แหละ มีของแถมเพียบ
5.อย่าไว้ใจ Pop-up
เคยไหม ที่เวลาเข้าเว็บบางเว็บ มักจะขึ้น Pop-up ให้กดเพื่อให้เรา Install บางอย่าง หรือให้ส่งแจ้งเตือนหากมีสิ่งที่เขาคิดว่า “เราจะสนใจ” และเขาจะส่งให้ ซึ่งมันน่ารำคาญนะ และไม่เพียงแค่นั้น Pop-up บางอย่าง อาจให้เราดาวน์โหลดไฟล์อันตรายลงในเครื่อง และหากเครื่องเราไม่มี Internet security ก็จะไม่มีการแจ้งเตือนใด ๆ เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น ให้ระวังการกด Pop-up อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาใด ๆ หรือกดโดยไม่ยั้งคิด ซึ่งจะเป็นการป้องกันตัวจากสิ่งเหล่านี้ได้ดีที่สุด