4. ก๊อบมาส่ง จงระวัง
เรื่องนี้น่าจะถูกใจกับคนที่เป็นอาจารย์ หรือผู้ตรวจข้อสอบในยุคที่นักเรียนไม่สนใจห้องสมุดและเครื่องถ่ายเอกสารอีกต่อไปแล้ว เพราะในอินเทอร์เน็ตนั้นมีแทบทุกอย่าง สามารถก๊อบมาแปะได้เลย ไม่ต้องเมื่อยมือนั่งพิมพ์ให้เสียเวลาด้วย แต่แบบนี้จะได้ประโยชน์อะไร
ระบบนี้ต้องชื่นชมทาง NECTEC ซึ่งพัฒนาเว็บไซต์ “แอนตี้ก๊อบแปะ” (http://anti-kobpae.in.th/) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การตรวจรายงาน รวมถึงบทความต่างๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดายมากขึ้น สามารถดูได้เลยว่ามีการก๊อบปี้บทความคนอื่นมาส่ง หรือนำมาใช้งานหรือเปล่า
สำหรับการทำงานของแอนตี้ก๊อบแปะนี้ก็ง่ายๆ เลยครับ มันจะให้คุณกรอกตัวอย่างบทความลงไป ไม่เกิน 5,000 ตัวอักษร เพื่อเป็นตัวเปรียบเทียบ โดยอาจจะเป็นส่วนต้นของบทความ หรือช่วงกลางๆ ก็ได้ สุ่มมา จากนั้นมันจะทำการค้นหาว่าในอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลที่มีความเหมือนหรือคล้ายกับบทความต้นฉบับที่เราได้กรอกลงไปหรือไม่ ซึ่งถ้ามีความเหมือนกันมาก ชนิดที่เรียกว่า “เป๊ะ” เลย แบบนี้ก๊อบปี้มาวางอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งถ้าเป็นบทความที่เจ้าตัวเขียนขึ้นมาเองก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นบทความที่ไปก๊อบชาวบ้านเค้ามา นอกจากจะไม่ผ่านการตรวจสอบแล้ว ยังอาจจะโดนเรื่องลิขสิทธิ์ด้วยนะจ๊ะ
ทางทีดีสร้างสรรค์ผลงานเองจะดีที่สุดครับ โดยเฉพาะงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือแม้แต่รายงานของนักศึกษาและนักเรียน ก็ควรจะฝึกเอาไว้เช่นเดียวกัน
รู้อย่างนี้แล้วใครยังกล้าไปก๊อบปี้บทความตามเว็บ ส่งมาลง Youtip เพื่อแลกเสื้ออีกล่ะก็ น่าดู พี่มิ้งค์ไม่รู้ แต่พี่แต๊ปรู้นะครับ