แอนตี้ไวรัสในปัจจุบันดูจะกลายเป็นที่ควรมีติดเครื่องเอาไว้ เพราะในโลกที่เทคโนโลยีก้าวไปอย่างรวดเร็ว การป้องกันก็ต้องมีประสิทธิภาพตามไปด้วย
1. Test first: ลองใช้ดูก่อน
ก่อนที่จะเลือกใช้แอนตี้ไวรัสซักยี่ห้อ สิ่งที่ควรทำเป็นกันดับแรกๆเลยคือ การทดลองใช้ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ยินดีที่จะให้คุณโหลดมาทดลองใช้ก่อนฟรีๆ เพื่อพิสูจน์ความพึงพอใจ ดังนั้นจะมีวิธีไหนเห็นประสิทธิภาพดีเท่ากับการทดลองใช้ด้วยตัวเอง? อย่างไรก็ตามก่อนและหนัง ลง โปรแกรมแอนตี้ไวรัสแล้ว ก็ควรสังเกตว่าการใช้งานเป็นอย่างไร เพื่อเก็บไว้ประกอบการตัดสินใจ
2. Suitability: ใช้งานแบบไหน ก็เลือกป้องกันแบบนั้น
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าลักษณะการใช้งานของเราเป็นอย่างไร ลักษณะการใช้งานสามารถบ่งบอกถึงความเสี่ยงในการโดนไวรัสคอมพิวเตอร์ เช่น หากคุณเป็นคนชอบท่องอินเตอร์เน็ต เช็คเมลและโหลดไฟล์แนบที่ติดมากับอีเมล เครื่องของคุณก็เสี่ยงที่จะติดไวรัสอย่าง Trojan ส่วนเครื่องที่ใช้กันภายในระบบองค์กรที่พบบ่อยก็คือไวรัสจำพวก Worm ดังนั้นการเลือกแอนตี้ไวรัสก็ควรจะเป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับลักษณะการใช้งานของเรา
3. Boot time: ลงแล้ว เข้าหน้า Windows ช้า ก็ไม่ไหวนะ
การโหลดโปรแกรมแอนตี้ไวรัสมาใช้ สิ่งที่ควรสังเกตประการหนึ่งคือ เมื่อลงโปรแกรมแอนตี้ไวรัสนั้นๆแล้ว การบูทเข้าสู่หน้า windows นั้นใช้เวลามากน้อยเพียงใดหลังจากลงโปรแกรมแล้ว ซึ่งหากใช้เวลานานจนเกินไป ย่อมหมายถึงความผิดปกติ ที่อาจจะตีความได้หลายอย่างตั้งแต่ เวอร์ชั่นของแอนตี้ไวรัสที่ใช้ไม่เหมาะกับระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงความไม่สมบูรณ์ของตัวโปรแกรมเอง ดังนั้นการทดลองใช้ก่อนตามข้อที่ 1 จึงเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
4. Engine: ฟังก์ชั่นเยอะ ใช่ว่าดี
นอกจากจะเลือกตัวแอนตี้ไวรัสให้เหมาะกับการลักษณะการใช้งานของเราแล้ว การดูที่ Engine ของโปรแกรมแอนตี้ไวรัสก็มีส่วนสำคัญ engine คือระบบการทำงานของโปรแกรมนั้นๆ ซึ่งการที่โปรแกรมแอนตี้ไวรัสตัวนั้นมี engine เยอะ หรือฟังก์ชั่นเยอะ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป เพราะ Engine ของแต่ละโปรแกรมใช้ได้กับบางโปรแกรมเท่านั้น หากใช้ไม่ได้หรือไม่เสถียรผลคือ สแกนช้าและเปลืองแรม
5. Virus type: Anti ตัวไหน กำจัดอะไร
สิ่งที่ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนเลือกใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสคือ โปรแกรมตัวนั้นใช้กำจัดไวรัสประเภทใดได้บ้าง? เพราะในปัจจุบันบางโปรแกรมอาจมีประสิทธิภาพในการกำจัดไวรัสเป็นชนิดๆไป เช่น ใช้กำจัดไวรัสจำพวก Malware โดยเฉพาะ แต่ถ้าเป็น Spyware กลับหาไม่เจอ กลายเป็นว่ารอดจากพวก Malware มาโดน Spyware แทนซะอย่างนั้น
6. Installation: ติดตั้งลงเครื่อง
หลังจากติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัสแล้ว ควรตรวจดูด้วยว่าขนาดของไฟล์ที่ใช้ในฮาร์ดดิสก์นั้น มีขนาดเท่าไหร่ หากใช้เยอะมากไปถือว่าไม่ดีเท่าไหร่ เพราะจะเป็นการเปลืองทรัพยากรในระบบคอมพิวเตอร์มากเกินจำเป็น เมื่อทำการสแกน หรือเปิดโปรแกรมใช้งาน
7. Scan: สแกนซ้ำไป-มา เสียเวลาเปล่าๆ
โปรแกรมแอนตี้ไวรัสบางโปรแกรม เมื่อติดตั้งเสร็จจะมีการทำ full scan ในครั้งแรก ซึ่งเมื่อทำการ Full scan ไปแล้วโปรแกรมบางตัวจะมีฟังก์ชั่นให้ skip (ข้าม) การสแกนไฟล์ที่ผ่านการสแกนไปแล้วและไม่ได้ถูก Modify (คือไฟล์ที่ปลอดไวรัส)ได้ ซึ่งจะเป็นการย่นระยะเวลาในการสแกนครั้งต่อไป แถมยังประหยักแรมไปด้วยในตัว
8. Result: รายงานละเอียดมาก ก็รู้ที่มาเร็ว
โปรแกรมแอนตี้ไวรัสแต่ละโปรแกรม จะมีรูปแบบหรือลักษณะการรายงานผลการสแกนไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราจึงความเลือกโปรแกรมที่มีการแสดงผลการสแกนที่ละเอียดหน่อย เพราะยิ่งละเอียด เราก็สามารถรู้ได้เร็วว่าไวรัสที่มีอยู่ในเครื่องเรามาจากไหน ติดมากับไฟล์อะไร ช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะถูกไวรัสในอนาคตได้
9. Update: การอัพเดตบ่อย ก็รู้จักไวรัสเยอะ
ควรเลือกโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีการอัพเดตปรับปรุงตัวโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ เพราะนั้นหมายถึงการอัพเดตให้ตัวโปรแกรมรู้จักไวรัสตัวใหม่ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปกป้องเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ยิ่งมีการอัพเดตเรื่อยๆ บ่อยๆยิ่งดี ตัวโปรแกรมจะได้ป้องกันไวรัสตัวใหม่ๆได้ทันที
10. Diversity: อุปกรณ์ไหนก็ป้องกันได้
ปัจจุบันบริษัทที่ผลิตโปรแกรมแอนตี้ไวรัสหลายบริษัทได้เริ่มที่จะปล่อยผลิตภัณฑ์ที่ไว้ใช้บนอุปกรณ์อื่นๆ นอกจากคอมพิวเตอร์กันบ้างแล้ว ซึ่งถ้าหากคุณเป็นคนที่ใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 1 อุปกรณ์ การเลือกโปรแกรมแอนตี้ไวรัสของบริษัทที่ผลิตแอนตี้ไวรัสบนอุปกรณ์ที่หลากหลายก็เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าไม่น้อย เพราะนอกจากคุณอาจจะได้โปรโมชั่นพิเศษที่มาแบบเป็นเพ็กเกจแล้ว คุณยังจะใช้งานแอนตี้ไวรัสได้ง่าย เพราะคุ้นเคยกับหน้าตาของโปรแกรมไม่ว่าจะใช้บนอุปกรณ์ตัวไหน