10 วิธีทำคอมพ์พัง มือถือพินาศ(ตอนที่10)

10. หูทวนลม
ข้อสุดท้ายเป็นเรื่องของพฤติกรรมผู้ใช้งานโดยตรงเลย การใช้งานอุปกรณ์ไอทีนั้นนอกจากจะเห็นว่าเปิดติด ใช้งานได้ ปุ่มยังคงพิมพ์ได้ทุกปุ่มตามปกติแล้ว ควรจะสังเกตุอาการของอุปกรณ์ให้ดีด้วย ซึ่งนอกจากข้อความ Error ที่อาจจะปรากฏบนหน้าจอขึ้นมา ยังมีเรื่องของเสียงด้วย
เสียงในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเสียง Beep ที่ดังฟ้องข้อผิดพลาดเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเสียงการทำงานของอุปกรณ์ เช่นเสียงพัดลม เสียงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ส่วน สมาร์ทโฟนกับแท็ปเล็ตอาจจะไม่ได้มีเสียงแวดล้อมเหล่านี้มากนักก็คงต้องสังเกตุจากอาการอื่นๆ แทน
1001
สำหรับเสียงพัดลมไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊กหรือพีซีนั้นจะมีพัดลมช่วยในการระบายควาร้อนอยู่ ซึ่งจะถูกตั้งค่าให้เงียบมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อรบกวนผู้ใช้ให้น้อยลง แต่ก็ยังคงได้ยินเบาๆ อยู่หากตั้งใจฟัง ดังนั้นถ้ามันเงียบไปแบบไม่ได้ยินอะไรเลย ไม่ควรเย็นใจ เพราะพัดลมอาจจะเสีย หรือมีปัญหาเกิดขึ้น หากปล่อยไว้นานๆ อุปกรณ์ก็จะร้อนและเกิดความเสียหายตามมา
กรณีพัดลมดังขึ้นมา มักจะเกิดจากคอมพิวเตอร์มีการทำงานหนัก อุณหภูมิอุปกรณ์สูงขึ้น จะต้องระบายความร้อนมากขึ้นตามไปด้วย หาคุณเล่นเกมหรือรันโปรแกรมหนักๆ แล้วพัดลมดัง อันนี้เรื่องปกติ แต่ถ้าอยู่ดีๆ มันดังขึ้นมาเองงานนี้ควรต้องตรวจสอบให้ดีๆ เพราะกรณีที่เคยเจอมาคือฮีทซิงค์ซีพียูหลุด!!!! โชคดีที่ซีพียูรุ่นใหม่ๆยังคงสามารถทำงานต่อไปได้เป็นอาทิตย์โดยไม่มีฮีทซิงค์ แต่ถ้าปล่อยไว้นานๆ ก็อาจจะเสียได้เหมือนกันครับ
1009
หรือกรณีของเสียฮาร์ดดิสก์ หากได้ยินเสียงดังแกร๊กๆ จากการทำงานของฮาร์ดดิสก์ก็ไม่ควรเย็นใจครับ รีบแบ็กอัพข้อมูลแล้วเอาไปเคลมหรือเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ไปเลย เพราะค่ากู้ข้อมูลหลังจากที่มันเสียแล้ว บอกเลยว่า “ไม่คุ้ม” ครับ
คราวนี้ก็รู้ได้แล้วว่าอะไรที่ทำให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไอทีสุดที่รักของคุณพังได้ จะจำเอาไปพังคอมพิวเตอร์ของคุณเองเล่นๆ ที่บ้าน หรือจะหลีกเลี่ยงได้อย่างถูกต้อง ก็แล้วแต่คุณนะคร้าบบบ

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here