เปลี่ยนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตให้กลายเป็นออฟฟิศเคลื่อนที่!(ตอนที่ 3)

สรุปจุดเด่นของแอพฯทั้งสองตัว จากทางฝั่งของแอนดรอย
Kingsoft office
จุดเด่น เป็นแอพฯที่มี อินเตอร์เฟซเรียบง่าย ใช้งานคลล้ายคลึงกับโปรแกรมออฟฟิศบนเครื่อง PC มีเครื่องมือการทำงานในการแก้ไขเอกสารค่อนข้างครบถ้วน ที่สำคัญรองรับฟ้อนต์ตัวอักษรพื้นฐานได้เกือบทุกฟ้อนต์ สามารถจัดหน้ากระดาษ วางรูปแบบเลย์เอ้าท์ได้ รองรับ ครอบคลุมการทำงาน ทั้งเรียกดูและแก้ไขของเอกสารพื้นฐาน Word, Power point, Spreadsheets และ Memo (.txt) รองรับการเรียกดูไฟล์ PDF

จุดด้อย ไม่รองรับไฟล์เอกสารประเภท Excel ซึ่งถือเป็นไฟล์เอกสารที่เป็นที่นิยม และใช้กันอย่างแพร่หลาย แอพฯไม่รองรับการใช้งานด้านกราฟิกบน Power point ทำงานได้เพียงการแก้ไขข้อความ พื้นหลัก และแบบอักษร หากไฟล์มีขนาดใหญ่แอพฯจะมีปัญหาในการใช้งาน ตั้งแต่เปิดไฟล์ไม่ขึ้น แอพฯปิดตัวเอง และค้างจนไม่สามารถใช้งานได้
CloudOn

จุดเด่น เหมมาะสำหรับใช้ทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มมมากๆ เพราะสามารถแก้ไขไฟล์และเซฟไปพร้อมๆกับบทที่แชร์ไฟล์ได้เลย รองรับบัญชีแบบคลาวน์สตอเรจได้หลากหลายและครอบคลุมแอพฯดังๆททที่มีการใช้งานมาก สามารถแก้ไขงานเอกสารได้หลากหลายประเภท ใช้สำหรับเป็นตัวแบ็กอัพงานได้
จุดด้อย ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลาในระหว่างการใช้งาน จำเป็นต้องมีบัญชีบนคลาวน์สตอเรจตัวใดตัวหนึ่งที่แอพฯรองรับ ความเร็วและความเสถียรของแอพฯในการใช้งานขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเตอร์เน็ต หากอินเตอร์เน็ตช้าการทำงานก็จะช้าตามไปด้วย ตั้งแต่การเปิดไฟล์ เซฟไฟล์ไปจนถึงแชร์ไฟล์ ยิ่งไฟล์ใหญ่ก็ยิ่งกินแบรนวิทอินเตอร์เน็ตมาก

ผ่านไปแล้วสำหรับการทำงานออฟฟิศบนระบบแอนดรอย เราจะมาต่อกันด้วยระบบ iOS กันบ้าง ซึ่งแอพฯที่โดดเด่น มีประสิทธิภาพและทำงานได้เสถียรที่สุดคงหนีไม้พ้น แอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า Pages ของทาง Apple ที่ในปัจจุบันสำหรับอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ตั้งแต่ iPhone 5s เป็นต้นไป (หรือเครื่องที่ผลิตตั้งแต่ พ.ย. 56 เป็นต้นไป) สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี

Icon
แอพฯใช้งานด้านออฟฟิศที่ครบถ้วนที่สุดแอพฯหนึ่งบน iOS ไม่ว่าจะเป็นการเรียกดูเอกสาร การแก้ไขและกาแชร์ไฟล์ ด้วยอินเตอร์เฟซการทำงานที่ดูสวยงาม ตามแบบฉบับของ iOS จึงไม่น่าที่แอพฯนี้จะได้รับนิยมจากบรรดาผู้ใช้งาน iOS ไม่ว่าจะเป็นบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต รูปแบบการทำงานของแอพฯมีความเป็นเอกลักษณ์ด้วยเทมเพลตสำเร็จรูป ที่มีมาให้เลือกหลากหลาย ตามประเภทของเอกสารต่าง
001
หน้าแรกของแอพฯจะเป็นการโชว์เอกสารที่เราเคยเปิดใช้งานบนแอพฯนี้ คู่กับรูปหน้าเอกสารที่ใช้เพื่อสร้างเอกสารขึ้นมาใหม่
002
หมวดหมู่รูปแบบเทมเพลตของประเภทเอกสารทั้งหมด
003

004

005
ประเภทของเอกสารที่มีอยู่ใน Pages จะเห็นได้ว่าบางประเภทช่วยเพิ่มความสะดวกสบายได้เป็นอย่าง หากเราต้องใช้ในการทำงานจริง ไม่ว่าจะเป็น ใบปลิวและโปสเตอร์ การ์ด และจดหมายข่าว
ต่อไปเราจะมาดูอีกหนึ่งคำสั่งบนหน้าแรกกันบ้าง นั้นคือการแชร์ไฟล์ผ่าน iCloud การทำสำเนาและการเปิดเอกสารบนแอพฯอื่นๆ เนื่องจากแอพฯตัวนี้เป็นสัญชาติแอปเปิ้ล ดังนั้นการสำรองไฟล์งานจึงจะทำผ่าน iCloud ที่มีมากับตัวอุปกรณ์ คำสั่งเหล่านี้จึงเปรียบเสมือนการแบ็กอัพข้อมูลไปในตัว
006

007
ตัวช่วยบอกฟังก์ชั่นคำสั่งต่างๆบนหน้าแรก
008
ไฟล์ที่เคยเปิดบนแอพฯ สามารถเปลี่ยนชื่อไฟล์ได้ภายในแอพฯ สะดวกอยู่ไม่น้อย
ข้อที่ควรระวังอีกอย่างของการนำไฟล์จากข้างนอกมาแก้ไขบน Pages คือ รูปแบบอักษรที่ใช้ในบนเอกสาร เป็นที่รู้กันดีว่าการทำงานข้ามระบบ มักจะมีปัญหาในเรื่องของฟ้อนต์และการจัดการหน้ากระดาษ ซึ่งนี้กรณีนี้ก็มีให้เช่นกัน โดยเราลองนำไฟล์เอกสารที่สร้างขึ้นจาก Microsoft word บนโน้ตบุ๊ก มาลองทำการเปิดบน Pages ดูปรากฎว่าแอพฯมีการแจ้งเตือนเรื่องของรูปแบบอักษรที่ไม่มีการรองรับ และอาจมีความผิดเพี้ยนในการเปิดใช้งาน
009
ส่วนสุดท้ายที่สำคัญที่สุด เราจะมาดูการใช้งานในส่วนของการแก้ไขเอกสารกันบ้าง
010
หน้าตาการทำงานเอกสารบนแอพฯ Pages เน้นที่ความเรียบง่ายในการใช้งาน เพิ่มความสะดวกด้วยการใส่ไม้บรรทัดในการจัดหน้าไว้ที่ด้านบน สะดวกในการจัดหน้าเอกสารไม่น้อยเลย
011

012

013

014
ชุดคำสั่งต่างๆภายในหน้าการทำงานเอกสาร เริ่มจาก คำสั่งการจัดรูปแบบวัตถุ หากเรามีการใส่ตารางหรือรูปทรงเข้าไปในเอกสาร คำสั่งจัดการรูปภาพหรือวิดีโอ คำสั่งเครื่องมือที่มีตั้งแต่การตั้งค่าเอกสาร การพิมพ์เอกสารไปจนถึงคำสั่งเฉพาะอย่างการใส่รหัสผ่านเพื่อป้องกันข้อมูลในเอกสาร และคำสั่งสุดท้าย การแบ่งปันซึ่งเป็นการแชร์โดยตรงผ่านเอกสารนั้นๆที่เราต้องการแชร์ หลักๆคือการยังผ่าน iCloud ไปยังอุปกรณ์ในระบบ iOS ตัวอื่นๆ

จะเห็นว่าแอพฯแต่ละตัวมีความโดดเด่นและฟีเจอร์เฉพาะไม่เหมือนกัน เป็นความจริงที่ว่าการทำงานเอกสารบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต อาจจะไม่สะดวกสบายหรือมีเครื่องมือที่ครบถ้วน ใช้งานง่ายเหมือนการทำงานบน PC หรือ โน้ตบุ๊ก แต่หากเลือกแอพฯที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน การทำงานเอกสารบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตก็จะกลายเป็นตัวช่วยในการจัดการเอกสารเล็กน้อยๆที่สะดวกสบายไม่น้อยเลยทีเดียว

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here