ความจริงที่น่าเศร้าของอุปกรณ์ติดตามการนอน แทบไม่ช่วย แถมทำให้หลับยากขึ้น

อุปกรณ์ติดตามการนอน

อุปกรณ์ติดตามการนอน หรือ  Sleep-Tracking Devices กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ผลทดสอบกลับสวนทางกัน  เพราะมันอาจทำให้หลับยากมากขึ้นกว่าเดิม

Key Insight

  • อุปกรณ์ติดตามการนอนหลับ ช่วยได้จริงหรือส่งปัญหามากกกว่าเดิม
  • ผลทดสอบและผลวิจัย ชี้ไปในแนวทางที่ทำให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับมากกว่าเดิม
  • อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ aripfam.com

The New York Time เปิดเผยผลทดลอง ที่ทดลองโดย Columnist ด้านเทคโนโลยีของสำนักข่าว เขาได้ลองซื้อ Apple Watch มาลองใช้ควบคู่กับซอฟแวร์บางอย่างเพื่อติดตามการนอนหลับเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และนี่คือผลที่ได้

เขาเล่าว่า อุปกรณ์จะเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของเขาในยามค่ำคืน ผ่านเซ็นเซอร์ที่วัดอัตราการเต้นของหัวใจและการขยับตัว เพื่อให้สามารถตรวจสอบกิจกรรมยามค่ำคืน และนำข้อมูลเหล่านั้นมาแก้ปัญหาการใช้วิตให้ได้ดีขึ้น….  แต่มันช่วยได้จริงหรอ ?

หากย้อนกลับไปหลายปีก่อน อุปกรณ์สำหรับออกกำลังกายมีการพัฒนาขึ้นเพื่อฟังเสียงฝีเท้า วัดการเดิน คำนวนแคลลอรี่ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยกระตุ้นให้เราออกกำลังกาย  แต่การจะแก้ปัญหาการนอนหลับนั้นแตกต่างออกไป ซึ่งการติดตามการนอนหลับผ่าน Wearable ในปัจจุบันก็ยังอยู่ในช่วงทดลองว่ามันจะช่วยได้จริง ๆ หรือไม่

กลับมาที่ผู้ทดสอบ เขาได้สวม Apple Watch ที่เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ติดตามสุขภาพที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และดาวโหลดแอป AutoSleep ซึ่งจะทำงานควบคู่กับเซ็นเซอร์ของ Apple Watch เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวขณะหลับ และแจ้งข้อมูลนั้นแก่เรา

อุปกร์ติดตามการนอน

แต่ความตื่นเต้นก็จบลง เค้าเล่าว่าเทคโนโลยีนี้ไม่ได้ช่วยให้เขานอนหลับได้ดีขึ้น เพราะมันไม่เปิดเผยสิ่งที่เขาไม่เคยรู้มาก่อน มีแค่การแจ้งว่าเขาได้นอนเฉลี่ยไปกี่ชั่วโมง

และข้อมูลนี้ก็ไม่ได้ตอบคำถามในใจ ว่าเขาควรทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ…  ซ้ำแล้ว เขายังรู้สึกอึดอัดตั้งแต่การเริ่มทดสอบ

ความอึดอัดนี้สะท้อนให้เห็นข้อมสรุปของการศึกษาล่าสุดจากวิทยาลัยการแพทย์ Rush University และโรงเรียนแพทย์ Feinberg ของ Northwestern University  โดยนักวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่นอนไม่หลับมักบ่นเกี่ยวกับข้อมูลการนอนหลับที่โดยรวม  และหนึ่งในเรื่องหลัก ๆ คือปัญหาอุปกรณ์จากอย่าง Nike, Apple, Fitbit และอื่น ๆ

ในการศึกษาของพวกเขา นักวิจัยได้เตือนว่าเทคโนโลยีการติดตามการนอนหลับ อาจให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและทำให้อาการนอนไม่หลับแย่ลง เพราะทำให้ผู้คนหมกมุ่นกับการนอนหลับที่มีคุณภาพ (ทั้งๆ ที่ควรปรับตัวไปตามธรรมชาติ)

โดยเขาเรียกงานวิจัยนี้ว่า orthosomnia โดยเป็นหนึ่งในงานวิจัยล่าสุดที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า “แอปสุขภาพไม่ได้ทำให้คนมีสุขภาพดีขึ้น” กลับกัน มันทำให้คนหลับแย่ลงยิ่งกว่าเดิม

อุปกร์ติดตามการนอน

ลองนึกดูง่ายๆ ว่า หากวันนี้ Auto sleep บอกเราว่า เฮ้ย!! คุณนอนไปแค่ 5 ชั่วโมงเองนะ ทั้ง ๆ ที่คุณก็นอนแบบนี้มาตั้งนานแล้ว และมันก็พยาบอกให้เรานอนหรือตื่นเร็วขึ้น  น่าแปลกที่คนส่วนใหญ่มักทำทันทีโดยไม่มีการปรับไปตามธรรมชาติ

ผลคือ ทำให้เกิดความเครียดสะสมมากขึ้น เพราะก็เราพยายามจะนอนให้หลับตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น และพอทำไม่ได้ ก็เครียด ยิ่งเครียด ยิ่งนอนไม่หลับ และนั่นคือสาเหตุที่ว่าทำไม อุปกร์ติดตามการนอนหลับ ไม่ได้ช่วยให้เราหลับได้ดีขึ้น

สำหรับเคล็ดลับที่ทำให้หลับได้ดีขึ้นโดยใช้อุปกรณ์เหล่านี้ เขาได้สอบถามไปยัง Raphael Vallat นักวิจัยหลังปริญญาเอกที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การนอนหลับของมนุษย์ที่ University of California, Berkeley ซึ่งได้คำแนะนำว่า : “อย่าตรวจสอบข้อมูลการนอนหลับของคุณเป็นประจำ”  หรือก็คือการไม่ต้องดูมันบ่อยเท่านั้นเอง

รอบการนอนหลับทำงานอย่างไร ?

หลายคนเข้าใจว่าตอนนอนหลับอวัยวะส่วนใหญ่ในร่างกายจะหยุดทำงานเพื่อพักรวมทั้งสมอง ในความเป็นจริงสมองเรายังคงทำงานอยู่แต่ทำเป็นจังหวะ ทำให้เกิดจังหวะการนอนหลับเป็นวงจร (Cycle) ได้แก่ หลับลึก (REM Sleep) – หลับตื้น (None REM Sleep)  สลับกันไปซึ่งในแต่ระรอบใช้เวลาประมาณ 90 นาที ซึ่งหากอยากนอนหลับให้มีคุณภาพ คุณอาจต้องทำให้ได้ 4-5 รอบต่อการนอน 1 ครั้ง

แต่เทคโนโลยีติดตามการนอนหลับของเรา โดยทั่วไปไม่สามารถวัดการนอนหลับ REM ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะบอกแค่คุณนอนไปกี่ชั่วโมง หรือ มีการตื่นระหว่างการนอนกี่ครั้งเท่านั้น

ทั้งนี้ การวัดการนอนหลับที่มีคุณภาพ  สามารถทำได้ในห้องปฏิบัติการติดตามการนอนหลับด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน โดยจะมีเซ็นเซอร์ที่เชื่อมต่อกับใบหน้าและลำคอ รวมทั้งอัตราการเต้นหัวใจเพื่อวัดกิจกรรมทางตาและสมองรวมถึงตัวแปรอื่น ๆ

แต่แอปติดตามการนอนหลับสำหรับอุปกรณ์สวมใส่ เช่น Apple Watch หรือ Fitbit จะพิจารณาการเคลื่อนไหวและอัตราการเต้นของหัวใจเป็นหลักเพื่อพิจารณาว่าคุณนอนหลับหรือตื่นเมื่อใด  และโดยทั่วไป มันไม่แม่นยำพอที่จะวัดระยะการนอนหลับที่แตกต่างกัน หากไม่มีการดู REM sleep อย่างดีแอพเหล่านั้นอาจให้ภาพคุณภาพการนอนหลับของเราแย่ลงกว่าเดิม

ฉะนั้นแล้ว หากอยากแก้ปัญหาการนอนหลับ ไปหาหมอแล้วทำ Sleep Test เต๊อะ!!

Source :  The New York Time