รีวิว HTC U Ultra ความท้าทายรอบใหม่ กับคำถามที่หลายคนอยากรู้

หลายคนที่ติดตามข่าววงการสมาร์ทโฟนในไทย คงได้เห็นหลายสื่อนำเสนอข่าวคราวของ HTC ที่เตรียมนำ HTC U Ultra เข้ามาวางจำหน่าย แม้จะเป็นเรื่องราวที่น่ายินดีที่เห็น HTC พร้อมกลับเข้ามาทำตลาดในไทยอีกระลอก แต่สิ่งที่ผมสนใจไม่น้อยกับการกลับมาครั้งนี้ คือ ช่องทางการจัดจำหน่ายและศูนย์บริการ ซึ่งก่อนจะไปถึงตรงจุดนั้นเรามาดูความน่าสนใจของสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่นี้กันดีกว่าครับกับ “รีวิว HTC U Ultra”

รีวิว HTC U Ultra

HTC U Ultra สเปกมีดังนี้

– หน้จอ Super LCD ขนาด 5.7 นิ้ว ความละเอียด QHD (2560 x 1440 พิกเซล), หน้าจอที่สองขนาด 2 นิ้ว ความละเอียด 160 x 160 พิกเซล, กระจกหน้าจอ Corning Gorilla Glass 5

– ระบบปฏิบัติการ Android 7.0 Nougat ครอบทับด้วย HTC Sense

– ชิปประมวลผล Qualcomm Snapdragon 821 ความเร็ว 2.15GHz

– แรม 4GB, หน่วยความจำภายใน 64GB เพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลได้ด้วย microSD Card

– กล้องหลัง UltraPixel 2 ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล, รูรับแสง f/1.8, ระบบโฟกัส PDAF, แฟลช Dual-Tone, Laser Focus และระบบกันสั่น OIS

– กล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซล

– ใช้งานได้ 2 ซิมการ์ด

– เซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ปุ่ม home

– ลำโพงไฮ-ไฟ HTC BoomSound, ระบบเสียง HTC Usonic

– แบตเตอรี่ความจุ 3000 mAh พร้อมเทคโนโลยีชาร์จเร็ว Quick Charge 3.0

ดีไซน์ : ภายนอกที่ดูเหมือนเป็นกระจกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทาง HTC เรียกดีไซน์นี้ว่า “Liquid Surface” การขึ้นโครงแบบ Unibody ด้วยอลูมิเนียมทั้งชิ้น ผสมกับการออกแบบตัวเครื่องให้มีความเงาวับเหมือนกระจก ตัวเครื่องจึงมีความสวยงาม แต่ด้วยการออกแบบในลักษณะก็ต้องยอมรับกับรอยนิ้วมือที่เกิดขึ้นได้ง่าย ทางที่ดีหาเคสใส่ด้วยเพื่อป้องกันการเกิดรอยนิ้วมือจะดีกว่าครับ

หน้าจอที่สองนี้ เราสามารถทัชเพื่อเลื่อนดูแอพหรือรายชื่อผู้ติดต่อได้

ด้านหน้า : จอแสดงผลเป็นแบบ Super LCD ขนาด 5.7 มาพร้อมความละเอียด QHD (2560 x 1440 พิกเซล) กระจกหน้าจอ Corning Gorilla Glass 5 แบบ 2.5D และที่มากขึ้นไปกว่านั้นยังมีหน้าจอที่สอง (Secondary Display) เป็นแท็บหน้าจอขนาด 2 นิ้ว อยู่เหนือจอหลักของเครื่อง ทำหน้าที่คอยแจ้งเตือน Notification ต่างๆ ที่เราสามารถกำหนดขึ้นเองได้ คล้าย LG V10 และ LG V20

ขยับลงมาท้ายจอแสดงผลจะเป็นปุ่ม back กับปุ่ม recent app คั่นกลางด้วยปุ่ม home ที่ฝังเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือไว้ด้วย

ด้านหลัง : ประกอบไปด้วยกล้องที่มีนูนขึ้นมาเล็กน้อย พร้อมด้วยแฟลชกับ Laser Focus และมีรูเล็กๆ อยู่บริเวณส่วนล่างสำหรับบันทึกเสียง

ขอบบน : เป็นช่องสำหรับใส่ซิมประเภท NANO SIM ได้ 2 ซิม หรือจะเลือกใส่ microSD Card ก็ได้, มีรูไมโครโฟนขนาดจิ๋วสำหรับตัดเสียงรบกวนรอบข้าง

ขอบล่าง : ไม่มีรูหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร, ใช้พอร์ต USB Type-C, ลำโพงเสียง และรูไมโครโฟนสำหรับสนทนา

ขอบด้านขวา : เป็นปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง และปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง

ขอบด้านซ้าย : ไม่มีปุ่มใดๆ

Software : ภายใต้ UI ที่เรียกว่า HTC Sense ในเวอร์ชั่นล่าสุด ยังคงไว้ด้วยความเรียบง่ายตามแบบฉบับ Material design ของ Android 7.0 Nougat แต่แฝงไปด้วยตัวเลือกสำหรับการใช้งานต่างๆ ซึ่งผมจะขอเล่าไปทีละอย่างแบบคร่าวๆ ดังต่อไปนี้ครับ

หน้า home ของ HTC U Ultra สามารถตกแต่งหรือเพิ่มวิตเจ็ตตามความชอบส่วนตัว 

หากไม่ชอบธีมที่ตั้งเป็น default มีธีมให้เลือกเองได้ด้วย

เมนูปรับค่าการแสดงผล, การสั่งงานบางฟีเจอร์ในรูปแบบอื่นๆ และตัวเลือการใช้ระบบเสียง

เมนูเกี่ยวกับแบตเตอรี่ มีตัวเลือกสำหรับการใช้โหมดประหยัดพลังงาน

เมนูสำหรับการใช้หน้าจอที่สอง ที่เราสามารถกำหนดแอพที่ต้องการให้แสดงผลเองได้

กล้อง : เริ่มกันที่กล้องหลัง อันเป็นจุดขายที่ยังไงซะต้องทำพัฒนาให้ดีขึ้นไว้ก่อน เพื่อแข่งขันกับแบรนด์อื่นๆ ได้อย่างสมศักดิ์ศรี ซึ่งใน HTC U Ultra ใช้เทคโนโลยี UltraPixel 2 ร่วมกับความละเอียด 12 ล้านพิกเซล พร้อมรูรับแสง f/1.8 ช่วยในการถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันยังมาพร้อมระบบอื่นๆ อย่าง ระบบโฟกัส PDAF, แฟลช Dual-Tone, Laser Focus และระบบกันสั่น OIS เพื่อให้การถ่ายภาพในทุกสถานการณ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

นอกจากนี้ระหว่างการใช้งานกล้องหลัง เรายังสามารถเลือกโหมดถ่ายภาพอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น กล้อง Zoe (การถ่ายคลิปวีดีโอสั้น), พาโนรามา, ถ่ายภาพแบบโปร, วีดีโอ, Hyperlapse, สโลว์โมชั่น, เซลฟี่, เซลฟี่พาโนรามา เป็นต้น สามารถเลือกใช้งานได้ง่ายจากแท็บด้านบน

โหมดถ่ายภาพแบบปกติ

โหมดถ่ายภาพแบบโปร

กล้องหน้า มาพร้อมความละเอียด 16 ล้านพิกเซล ไม่มีระบบ Auto Focus มาให้ แต่ด้วยความละเอียดสูงทำให้การถ่ายภาพมีลักษณะชัดขึ้นและให้ความสว่างที่ดีขึ้นครับ

ตัวอย่างภาพถ่าย

รีวิว HTC U Ultra กับบทสรุปในครั้งนี้

ข้อดี

– ดีไซน์สวย

– ตัวเครื่องใหญ่ก็จริง แต่น้ำหนักเบา

– ระบบเสียงที่ให้ทั้งความดังและความครบถ้วนของเสียง ประกอบกับเทคโนโลยีด้านเสียงที่มีประสิทธิภาพในยามที่ต่อหูฟัง

– หน้าจอที่สอง จุดนี้แล้วแต่คนชอบนะครับ แต่ส่วนตัวมองว่าเป็นการเข้าถึงการแจ้งเตือนต่างๆ ได้ง่าย และเข้าถึงแอพที่ใช้บ่อยได้เร็วขึ้น

– การทำงานระหว่างซอฟต์แวร์ Android 7.0 Nougat + HTC Sense และฮาร์ดแวร์ ช่วยให้การทำงานแบบต่อเนื่องเป็นไปด้วยความลื่น อาการค้างหรือแอพเด้งยังไม่พบตอนทดสอบ

– กล้องหลังให้ภาพที่สวยขึ้น แม้ในสภาพแสงกลางคืน

ข้อด้อย

– ตัวเครื่องเกิดรอยนิ้วมือง่าย หากไม่ใส่เคส

– ตัดรูหูฟังทิ้ง 3.5 มิลลิเมตรทิ้ง ไม่มีตัวแปลงมาให้สำหรับคนที่ต้องการใช้หูฟังของตัวเอง เหมือนจำกัดให้ใช้แค่หูฟังของ HTC เอง

– กล้องหน้าไม่มี Auto Focus

ทิ้งท้ายไปด้วยราคาของ HTC U Ultra อยู่ที่ 22,490 บาท และการจัดจำหน่ายจะอยู่ที่ห้างมาบุญครองเพียงที่เดียวในตอนนี้ ซึ่งก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าจะมีการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายไปตามห้างร้านอื่นๆ หรือโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ค่ายด้วยหรือเปล่า แถมศูนย์บริการหลังการขายจะมีที่ไหนบ้าง ซึ่งก็น่าเป็นห่วงเหมือนกันสำหรับการกลับเข้ามาทำตลาดในไทยรอบนี้

สำหรับผู้อ่านที่ต้องการติดตามรีวิวสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ จาก aripfan & comtoday สามารถเข้าไปได้ที่ https://www.techhub.in.th/category/mobile-review/ 

รายละเอียดเฉพาะ HTC U Ultra จากหน้าเว็บไซต์ของ HTC ไทย

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here